คุณคือใคร หัวหน้า หรือลูกน้องในมหาวิทยาลัย (3)

ตามพระราชบัญญัติฯ หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย มาตรา 83 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทำการอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้
1. ต้องม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
2. ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำ หรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
3. ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
4. ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
5. ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์ อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
6. ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
7. ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
8. ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดในกฎ ก.พ
9. ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
10. ไม่กระทำการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (ข้อนี้ไม่มีคำว่าต้องนำหน้าค่ะ)
ผู้เขียนนำมาย้ำในที่นี้ เพื่อให้ตระหนักหรือพึงสังวรณ์แต่ละข้อดังข้างต้นโดยทั่วกัน ผู้เขียนมีหัวหน้าเหนือตนขึ้นไปคือ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มีลูกน้องลำดับถัดลงไปคือ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน(ซึ่งเทียบเท่าหัวหน้าฝ่าย) มีลูกน้องลำดับถัดลงไปอีกคือ บุคลากรทั้งข้าราชการ/ พนักงาน ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งต่างๆกัน ได้แก่ บรรณารักษ์ นักวิชาการ… เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ช่าง… พนักงาน… ผู้ปฏิบัติงานบริหาร ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด
การทำงานที่ผ่านมาผู้เขียน ยึดหลักข้างต้นอย่างเคร่งครัด ไม่มีแม้ครั้งเดียวที่จะกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชา เสนอเรื่องขึ้นไปแล้วผู้เขียนถือว่าสิ้นสุดที่ผู้บังคับบัญชาแล้วแต่จะสั่งการ หากต้องติดตามเรื่อง จะสอบถามที่เลขานุการของผู้อำนวยการ เป็นบางครั้งที่เกรงว่าเลขาฯ อาจสื่อความหมายผิด จะเรียนถามด้วยตนเองทางโทรศัพท์
บางคนอาจคิดว่า ผู้เขียนดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์เชี่ยวชาญ และหัวหน้าหอสมุด ถือเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ใส่สายสะพายแล้ว ทำไมไม่ตัดสินใจเอง ต้องถามทุกครั้ง ก็เพราะมาตรา 83 นี่แหละ สำหรับหลายท่านในหอสมุดซึ่งทำงานเสมือนข้ามผู้บังคับบัญชานั้น ขอเรียนว่า ก็เพราะผู้เขียน สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษ
ส่วนใหญ่ เมื่อแต่ละคนนำเรื่องมาหารือ และผู้เขียนเห็นว่า ดีต่อหน่วยงานและทุกคนทั้งในหอสมุดและผู้มาใช้บริการ ผู้เขียนจะเห็นชอบด้วยทุกครั้ง ทุกครั้งที่เป็นเรื่องซึ่งต้องให้ผู้อำนวยการทราบหรือพิจารณา ผู้เขียนจะสอบถาม/ซักถามให้ได้ประเด็น แล้วให้เขียนร่างข้อความมาให้ดูก่อน จากนั้นนำกลับไปแก้ไข ตรวจทาน ลงนามเสนอผู้เขียน จากนั้นผู้เขียนก็เกษียณเสนอผู้อำนวยการสั้นๆ พอเข้าใจ เช่น เพื่อโปรดพิจารณาดังรายละเอียด และขอเสนอ… หากเห็นชอบจะได้ดำเนินการต่อไป หรือหากเห็นชอบเป็นประการใดกรุณาสั่งการเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป เป็นต้น
เชี่ยวชาญก็จริง แต่ก็ยังคงสถานะภาพลูกน้อง และเป็นหัวหน้าของพวกเราทุกคนในหอสมุด พวกเราที่เป็นลูกน้องส่วนใหญ่ จะใช้คำพูดที่ว่า “ทำไมต้องยอม…” ที่ยอมก็เพื่อผลสัมฤทธิ์ของงาน ยอมเพื่อให้โอกาสและสร้างคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้มีเพิ่มมากขึ้น ให้ช่วยกันคิด คิด และก็คิด งานทั้งหมดที่หอสมุดรุดหน้าแบบก้าวกระโดด (คำพูดของอาจารย์สกุล บุณยทัต กล่าวกับผู้เขียนเมื่อวันทำบุญงานศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล) ที่ผ่านมาจนทุกวันนี้ก็เพราะ การเปิดโอกาสให้พวกเราทุกคนไม่จำกัดตำแหน่ง ชนชั้น ได้คิด คิด คิด ได้ทำจริง ได้ภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมเป็นผู้หนึ่งที่ทำให้หอสมุดก้าวหน้า
ผู้เขียนไม่ได้ยึดติดตำแหน่ง ไม่มีบุคลิกของผู้นำ/ภาวะผู้นำเสียด้วยซ้ำ ใครๆ ก็พี่แมว พี่แมวทั้งมหาวิทยาลัย จนชื่อจริงของพี่แมว ลูกน้องหลายคนยังนึกไม่ออกเลย (ลองถามดูซิ) ซึ่งพี่แมวหรือผู้เขียนก็ชอบนะ ขอย้ำอีกครั้งก็เพราะผู้เขียนยึดมาตรา 83 ค่ะ

3 thoughts on “คุณคือใคร หัวหน้า หรือลูกน้องในมหาวิทยาลัย (3)

  • มคนแซวว่า มาตรา 83 นี้ถึงขั้นประหารชีวิตหรือไม่ ขอตอบว่า ไม่แน่ใจค่ะ

  • หนูว่ามาตรานี้อารมณ์เหมือนCompetencyค่ะ … หนูได้ยินบางคนเรียก ไอ้แมว 5555

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร