ค่ากลาง

ในการทำ KPI ของพวกเราหมายถึงหัวหน้าทั้งหลายในห้องสมุด ตกลงกันว่าจะให้เกณฑ์ 3 เป็นค่ากลาง
คำว่าค่ากลางหมายถึง ค่าเฉลี่ยปกติ (ที่มีโน้มไปทางน้อย) ที่คิดว่าสามารถทำได้
คำว่า ที่คิดว่าสามารถทำได้ เป็นข้อความทั่วๆ ไป ที่คงเห็นกันดาดดื่นสำหรับผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
แต่ในการทำงานจริง ที่คิดว่าสามารถทำได้ จะต้องมีผลเป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ อธิบายที่มา ที่ไป เหตุผล

มีหลายงานใน KPI เป็นในเชิงปริมาณ ซึ่งจำเป็นต้องหาค่ากลางให้ได้
เหตุผลที่ต้องหาให้ได้เพราะ  การหาค่ากลางของข้อมูลที่เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งหมดเพื่อความสะดวกในการสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ  จะช่วยทำให้เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องดีขึ้น  การหาค่ากลางของข้อมูลมีวิธีหาหลายวิธี  แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสีย  และมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลนั้นๆ (http://301math.exteen.com/20080111/entry-6)
มีวิธีการหาหลายวิธีคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) มัธยฐาน (Median) และ ฐานนิยม (Mode) เนื่องจากวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่เข้าสมอง แต่แปลกที่ชีวิตกลับต้องใช้เรื่องพวกนี้ทุกวัน
วิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับตัวเองในการหาค่ากลางคือ การใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) ซึ่งเป็นการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่ให้ x1 , x2 , x3 , …, xN เป็นข้อมูล  N  ค่า

เมื่อทำงานจริงๆ ค่า X หมายถึงผลงานที่ทำได้ในแต่ละปี ส่วน N หมายถึงจำนวนปีที่นับ ตอนเราอยู่ฝ่ายบริการจะใช้สถิติสามปีย้อนหลัง
สองปีกับการใช้ชีวิตของการสร้าง KPI บวกกับเสียงสะท้อนทั้งภายในหน่วยงาน และนอกหน่วยงาน ที่ได้มีโอกาสไปที่โน่นที่นี่  บวกกับการสังเกตพบว่า ค่ากลาง อาจมีการผิดเพี้ยน (error) ออกไป ด้วเหตุผลและตัวแปรบางอย่าง ที่เป็นผลดีต่อองค์กร แต่อาจส่งผลกระทบไปยังเพื่อนร่วมงานโดยไม่มีเจตนา …
มีงานบางอย่างผู้รับผิดชอบในการทำงานไปทำในช่วงนอกเหนือจากเวลาราชการ เช่น ทำที่บ้าน เวลาพัก ทำงานตอนเช้า มีตัวช่วย ฯลฯ ซึ่งองค์กรอาจมองว่านี่คือการอุทิศเวลาให้กับราชการ ????
และเมื่อใดที่ KPI ตัวนี้ ส่งต่อไปยังผู้อื่น เช่น เด็กใหม่ หรือ การโยกย้ายงาน ซึ่งขาดความชำนาญ ชั่วโมงการทำงานที่บอกว่าคือ การอุทิศเวลาให้กับราชการ ???? อาจไม่เท่ากับคนเดิมที่รับผิดชอบ จะทำเยี่ยงไร????
และการมองคนว่า อุทิศเวลาให้กับราชการ???? คิดว่าเรื่องแบบนี้อาจต้องคุยกันยาวเรื่องวิธีการคิดที่ส่งผลต่อการประเมินผล ที่มีทั้งสองส่วนคือ KPI และ Competency
ยากนะ
หากใจไม่นิ่ง อาจเสียงบั่นทอนเกิดขึ้นในใจว่า เอาไปทำที่บ้านยังไม่ดีอีก อุตส่าห์มาแต่เช้ารีบๆ มาทำก็ยังโดนว่า กินข้าวแปล๊บเดียวเองอุตส่าห์รีบทำ ทำงานไม่เสร็จทำไมไม่เอาไปทำที่บ้าน มาแต่เช้าหน่อยสิ รีบๆ ทำ เหอะถ้าเป็นแบบนี้ไม่รีบทำแล้ว จะทำให้ช้าๆ ดูสิว่าเป็นอย่างไร ฯลฯ

คือสรุปว่าที่ทำมาน่ะดีแล้ว ขอขอบคุณ แต่เราจำเป็นต้องอธิบายและทำความเข้าใจบุคลากรทุกคนให้มากที่สุด
ทางแก้ของเราคือ กำหนดเกณฑ์ในเชิงปริมาณจะอยู่ในเกณฑ์ 3 ซึ่งเห็นพ้องร่วมกันว่าเป็นสิ่งมนุษย์สามารถกระทำได้โดยวิสัยและทำในเวลาราชการ ส่วนเกณฑ์ 4 และ 5 จะเป็นเกณฑ์ในเชิงคุณภาพ ทั้งในเรื่องของความถูกต้อง การส่งมอบตรงตามเวลา และหรือการคิดค้นแก้ไขปัญหาในการทำงานที่สามารถจับต้องได้ โดยดูจากบริบทขององค์กร ซึ่งหมายถึง เริ่มจากการมองความพร้อมของตัวเราเอง ความพร้อมของเพื่อนร่วมงาน ความพร้อมของคนที่รับงานต่อจากเรา หรือคนที่ส่งต่องานให้เรา งบประมาณ  สถานที่ และกรอบของเวลาที่จะดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ
สิ่งสำคัญคือ พร้อม เปิดใจและเคารพความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
การตกแต่งความคิดที่อดีตผู้อำนวยการฯ ฝากไว้เป็นเรื่องที่ใช้ได้ทุกวันของการทำงาน 😛
ส่วนเกณฑ์ 3 ที่บอกว่าเป็นค่ากลางนั้น หากนำไปปฏิบัติแล้ว แล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจน้อยไป หรือมากไป อาจจะนำเข้ามาทบทวน เพื่อนำข้อมูลไปเทียบเคียงกันเอง หรือกับหน่วยงานอื่นที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน
สิ่งที่อย่าลืมคือยิ่งทำงานนั้นนานเท่าไร หมายความว่าความชำนาญจะต้องเกิดขึ้น และความชำนาญนั้นแสดงออกมาได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ
เราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ห้องสมุดดูบุคลากรภายใน สำนักหอสมุดกลางดูห้องสมุด มหาวิทยาลัยดูห้องสมุด สกอ./สมศ.ดูมหาวิทยาลัย กลุ่มประเทศอาเซียนดูมหาวิทยาลัย โลกดูกลุ่มอาเซียน ห้องสมุดอื่นๆ มาดูห้องสมุดเรา …. ทุกอย่างล้วนโยงใยกันหมด
ไม่ว่าใครจะดูใคร หากเราช่วยกันดูซึ่งกันและกันให้เป็นครอบครัว เราจะอยู่อย่างมีความสุขและแข็งแรง พร้อมรับทุกสถานการณ์
สวัสดีมีชัย เวลาไปเร็วเหลือเกิน อีกแค่เดือนเดียวจะเริ่มต้นศักราชแล้ว ปีนี้มหาอุทกภัย มหาวิทยาลัยเลื่อนเปิดเทอมไป 6 ธันวาคม 2554 แต่ชีวิตการทำงานทำงานของเราไม่เลื่อนไปอย่างเปิดเทอม เรายังต้องคิดและต้องทำทุกอย่างเป็นปกติ  การทำงานของเราไม่ได้มาพร้อมกับเปิดเทอม…
ตอนนี้มหาสุดเซ็งเพราะไร้โอที ทำให้อุทิศตนให้กับราชการไม่ได้ จะอยู่กับคุณพี่ๆ น้องๆ สองสามคน ก็เหงาฮ่ะ

2 thoughts on “ค่ากลาง

  • เคยฟังท่านผู้รู้ท่านหนึ่งพูดถึงการแบ่งเวลาในชีวิต คนเรามีเวลา24ชั่วโมง (เหมือนที่พี่ปองเคยพูดเลย)เราต้องแบ่งให้ได้ว่า ช่วงเวลานี้เราดำรงสถานะเป็นผู้ปฎิบัติงาน(การทำงาน) ช่วงเวลานี้เราดำรงสถานะเป็นพ่อแม่(ครอบครัว)ซึ่งย่อมต้องมีการคาบเกี่ยวซึ่งกันและกัน แต่ต้องไม่กระทบซึ่งกันและกัน การเสียสละเพื่อการทำงานต้องไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน การเสียสละเพื่อครอบครัวก็ต้องไม่ทำให้ที่ทำงานเดือดร้อน ที่คิดว่าเสียสละให้ทั้งที่ทำงานและครอบครัว คนอื่นเค้าอาจไม่ได้มองอย่างนั้นก็ได้

  • ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานรายบุคคล หรือKPIsรายบุคคล หากนำของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ไปเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น แค่หน่วยงานภายใต้สำนักหอสมุดกลางก็ไม่ควรนำไปเทียบ เพราะอะไรที่พวกเราหรือคนกันเองทำ ไม่ดีทั้งนั้น ต้องของคนอื่นหรือนำเข้าจากต่างประเทศ จากต่างหย่วยงานดีไปหมด นี่คือวัฒนธรรมไทย สำหรับพี่แมวอะไรที่พวกเราทำดี ดีมาก ดี่ที่สุดหรือดีเด่น นับแต่พี่แมวบริหารจัดการหอสมุด ก็ได้เปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรในหน่วยงานของเราตลอดมา ซึ่งก็ดีใจที่ทำได้ แม้ไม่มากเรื่องดังที่คิดก็ตามแต่ถือว่าทำได้นะได้แก่ การยกย่อง ให้เกียรติพวกเรากันเองว่า เก่ง ดี มีความสามารถ แต่ละคนเก่ง มีความสามารถแตกต่างกันเช่น ปองแผนและพัฒนางาน เอ๋ไอที หน่อยบริการ/ข้อมูลทางวิชาการ ใหญ่การเงิน เล็กอีเว้นท์และข้อมูล พัชฐานข้อมูล นกฐิดรรชนีและช่วยค้นข้อมูล ติ๋วบุคคล น้องพัสดุ ตาอาคาร วีสร้างสรรค์ ญานิทรรศการ เทพเสียง รสโสตฯ อ้อcat หนึ่งบริการ จิเงินล่วงเวลา จุ๋มสมาชิก บูรณ์และเกพิธีกร กอบ/มาร์ชจำคนแม่น มนตรีช่าง ป้าจันทรสวน ลุงนิตซ่อมหนังสือ ป้านูแม่บ้าน
    เป็นต้น ที่ผ่านมาพวกเราจะเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน จัดภูมิทัศน์ก็ออกแบบเองทำกันเองไม่จ้าง ขุดดินฟันหญ้ากวาดลานก็ทำกันเอง ร่วมแรงร่วมใจร่วมทีม สู้ สู้ด้วยกันมา 14 ปีเต็มแล้ว หลายคนคงจำกันได้ที่แมวแจ้งว่า หากชม /ยกย่องตนเองไม่ได้ ไม่ต้องทำอะไรต่อไป พี่แมวถือว่าเป็นการให้กำลังใจตนเองก่อนทำอะไรๆให้คนอื่นต่อไป สรุปว่าจากkpi ถึงความเก่ง ดี มีความสามารถของคนในหอสมุด เอวังค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร