IPv4 to IPv6
หลังจากที่ได้เคยบอกเล่าให้รู้จักกับ IP Adress กันไปเมื่อนานมาแล้วว่า เป็นหมายเลขประจำเครื่องที่ต้องกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานในระบบเครือข่าย โดยที่มาตรฐานของ IP Address ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นมาตรฐาน เวอร์ชั่น 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4 ซึ่งเป็นตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์ แล้วจึงแปลงเลขเป็นไบนารี หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ (8 บิต) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบโดยมีจุดคั่น
เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น มีการขยายตัวและมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่หมายเลข IP Address เวอร์ชั่น 4 หรือ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไปในไม่ช้า ซึ่งหาก IP Address หมดลง ไม่เพียงพอต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต ซึ่งหากหมดลงจริง…จะทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก
ดังนั้น เพื่อให้การใช้งานในระบบเครือข่ายยังดำเนินต่อไปได้ จึงได้มีการพัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (IP) รุ่นใหม่ขึ้นมา คือ IPv6 (Internet Protocol version 6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอล IPv4 และแก้ปัญหาการขาดแคลนหมายเลข IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต เป็นตัวเลขฐาน 16 โดยจะมีจำนวน IP ได้มากสูงสุดถึง 2128 หมายเลข ซึ่งมากพอให้ใช้ได้อีกนาน รวมทั้งเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และมีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสาร และความปลอดภัย รองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
หากอยากอ่านรายละเอียดเรื่องเกี่ยวกับ IPv6 เพิ่มเติมแบบเชิงลึก สามารถอ่านได้จาก e-book เรื่อง ความรู้ IPv6 พื้นฐานสำหรับผู้ดูแลระบบ
บรรณานุกรม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). ถาม-ตอบ เกี่ยวกับ IPv6. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จาก http://www.mict.go.th/view/1/ถามตอบเกี่ยวกับIPv6
NECTEC. (2552). สารพันคำถามเกี่ยวกับ IPv6. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จาก http://www.ipv6.nectec.or.th