Library Goes Green through ICT: Pt. 4

การบรรยายเรื่อง Semantic Web Technology and Library Applications โดย ดร. มารุต บูรณรัช ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ได้พบวิทยากรท่านนี้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกได้เขียนเล่าไว้ที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=10880 จึงดีใจเป็นพิเศษ เพราะถือเป็นวิทยากรในฝัน ที่ตั้งใจว่าในปีหน้าจะพยายามขยันกว่าเดิมในการเรียนรู้และหาความรู้จากท่านในเรื่องนี้และในเรื่องที่ได้คุยกันไว้ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้าง….
วิทยากรได้บรรยายเนื้อหาโดยแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ คือ
1. แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุด
2. เทคโนโลยีเว็บเชิงความหมาย (Semantic Web)
3. การประยุกต์เทคโนโลยีเว็บเชิงความหมายกับงานด้านห้องสมุด                                
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับห้องสมุด ห้องสมุดมีวิวัฒนาการมาตามลำดับจากห้องสมุดดั้งเดิมที่เป็นห้องเก็บหนังสือและเอกสาร มีบัตรรายการเป็นเครื่องมือช่วยค้น และมีบรรณารักษ์เป็นผู้ช่วยเหลือ จุดเด่นคือ สามารถปรึกษาหารือกับบรรณารักษ์ได้ มีสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถพบปะกับผู้คนได้ จุดด้อยคือ ต้องใช้สถานที่ในการจัดเก็บหนังสือและเอกสาร และห้องสมุดหลายแห่งไม่ได้เชื่อมโยงกัน บางครั้งผู้ใช้ต้องเดินทางไปหลายแห่งถึงจะได้ข้อมูล  ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นห้องสมุดดิจิทัล  หนังสือและเอกสารเก็บอยู่ในฐานข้อมูล การลงรายการอยู่ในลักษณะมี metadata และมีระบบการสืบค้นข้อมูล จุดเด่นคือ สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์โดยผ่านอินเทอร์เน็ต ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและประหยัดเวลา จุดด้อยคือ ผู้ใช้โดดเดี่ยว ไม่สามารถสอบถามบรรณารักษ์ได้หากใส่คำค้นผิดพลาด และยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดดิจิตอลที่ต่างระบบกัน
แนวโน้มของห้องสมุดในยุคต่อไป หนังสือและเอกสารเก็บอยู่ในฐานข้อมูลและบนเว็บ การลงรายการเป็นในลักษณะ Integrate Metadata (บูรณาการ) และ Social Metadata (ผู้ใช้เป็นผู้ป้อนข้อมูล) ผู้ช่วยค้นเป็น Smart Search and Browsing (ระบบการค้นหาที่ชาญฉลาด) จุดเด่นคือ มีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ต่างระบบได้โดยอาศัย Metadata ซึ่งแม้จะต่างกัน  สืบค้นด้วยการใช้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ กัน เช่น  ontology Folksonomy และ user profiles
เทคโนโลยีเว็บเชิงความหมาย (Semantic Web) เป็นมาตรฐานข้อมูลเพื่อการจัดการข้อมูลในแบบ metadata สำหรับเว็บ  โดยมีกลุ่มมาตรฐานข้อมูล ชื่อ RDF, OWL , SPARQL และ SKOS ตัวอย่างของการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น วิกิเชิงความหมาย การบูรณาการข้อมูลโดยใช้ RDF และระบบห้องสมุดดิจิทัล
การประยุกต์เทคโนโลยีเว็บเชิงความหมายกับงานด้านห้องสมุด มีลักษณะดังนี้คือ
1. ช่วยในการบูรณาการที่ใช้มาตรฐานแตกต่างกัน เช่น Dublin Core , MARC21 โดยใช้มาตรฐาน RDF บูรณาการข้อมูลที่มาจากห้องสมุดดิจิตอลต่างระบบ รวมทั้งข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตด้วยมาตรฐาน RDF
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นข้อมูลด้วยเทคนิคในการสืบค้นแบบใหม่ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลตาม ออนโทโลจี (Ontology-base search) หรือการสืบค้นข้อมูลตามมิติ (Faceted search) การนำข้อมูลเฉพาะบุคคลของผู้ใช้ รวมทั้งข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นๆ มาช่วยในการสืบค้น เช่น user profile Preference Folksonomy Bookmark  เป็นต้น
……………
ยากเนอะกว่าจะเขียนเสร็จ อ่านเอกสารทั้งของตนเอง ของเพื่อนที่บันทึกไว้ จากสไลด์ ฯลฯ
อ่านเพิ่มได้ที่นี่จ้า
http://www.gotoknow.org/blog/tulibs/451623
http://www.stks.or.th/blog/?p=10735
http://www.slideshare.net/boonlert/semantic-web-and-library

Enhanced by Zemanta

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร