Benchmarking
เรียนออนไลน์ของ ก.พ. งวดนี้ ลงเรียนเรื่อง fud fit @work 1 กับ benchmarking วิชาภาษาอังกฤษสรุปยาก จบก็ยาก เลยเลือกสรุปวิชา benchmarking เผื่อเพื่อนที่ยังไม่ได้เรียนวิชานี้
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า Benchmarking คืออะไร ? Benchmarking หมายถึง วิธีในการวัด และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการและวิธีปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง ผลจากการทำ Benchmarking จะทำให้เรารู้ว่าใครเป็นผู้ที่ปฏิบัติได้ดีที่สุด (Best Practice) และเขามีวิธีการอย่างไร Benchmarking จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติของผู้อื่นที่ทำอย่างเปิดเผย ไม่ได้ลอกเลียนแบบ แต่เป็นการนำเอาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง
Benchmarking แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. Internal Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบความสามารถภายในองค์กรเดียวกันหรือภายใต้กลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน ผลลัพธ์นำไปสู่การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน
2.Competitive Benchmarking เปรียบเทียบกับผู้ที่เป็นคู่แข่งของเราโดยตรง ซึ่งเก็บข้อมูลยาก ผลลัพธ์ที่ได้มักจะทำได้เพียงรู้ว่าตัวเราอยู่ในตำแหน่งไหนของธุรกิจนั้น มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร
3. Industry Benchmarking เปรียบเทียบกับผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ไม่ใช่คู่แข่งโดยตรง มีกระบวนการทางธุรกิจคล้ายกันในบางส่วน
4. Generic Benchmarking Funtional Benchmarking คือการเปรียบเทียบกับองค์กรใดก็ตามซึ่่งมีกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศในกระบวนการนั้นๆ อาจจะเป็นองค์กรที่มีลักษณะต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้เปรียบเทียบและทำตามยาก แต่ผลลัพธ์ที่ได้มักจะได้นวัตกรรมใหม่ๆ
ขั้นตอนการจัดทำ Benchmarking ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1. การวางแผน (Plan) เพื่อกำหนดหัวข้อของการทำ Benchmarking และกำหนดองค์กรที่เราต้องการเปรียบเทียบด้วย รวมถึงวิธีการเก็บข้อมูล โดยใช้หลัก 5W 1H (What When Where Why Whom และ How)
2. การปฏิบัติ (Do) คือการนำเอาแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติจริง
3. การตรวจสอบ (Check) คือการตรวจสอบผลการปฏิบัติว่ามีสิ่งใดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนหรือไม่ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
4. การปรับปรุง (Act) คือการนำผลลัพธ์ที่ได้มาวิเคราะห์และหาสาเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน และปรับปรุงให้ดีขึ้น
วิธีการดำเนินการ Benchmarking
1. กำหนดหัวข้อ โดยการวิเคราะห์องค์กรของตนเอง ศึกษากระบวนการธุรกิจขององค์กรว่ามีสิ่งใดที่ดี รวมถึงข้อมูลการตลาด ข้อร้องเรียนจากลูกค้า และตัดสินใจเลือกกระบวนการที่ต้องการทำ Benchmarking
2. การกำหนดองค์กรที่ต้องการเปรียบเทียบด้วย จัดทำรายชื่อองค์กรที่ต้องการเปรียบเทียบ โดยคำนึงถึงกระบวนการหรือหัวข้อที่กำหนดไว้ และตัดสินใจว่าจะทำ Benchmark แบบใด (ใน 4 แบบ ที่กล่าวมาแล้ว)
3. กำหนดวิธีการเก็บข้อมุูล ควรมีการเตรียมคำถามให้มีความชัดเจน เข้าใจง่าย เน้นเรื่องปฏิบัติและควรมีการทดสอบก่อนนำไปใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ได้ทั้งแบบสอบถามเพื่อการสำรวจเบื้องต้น แบบสอบถามอย่างละเอียด การสัมภาษณ์เยื่ยมชม และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การเก็บข้อมูลต้องมีการวางแผนไว้โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ กำหนดงบประมาณที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่กำหนด และคนที่จะทำการเก็บข้อมูล
……ยังไม่จบนะคะ ต่ออีกตอนนึง เป็นส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล การเตรียมองค์กร ปัญหา และจรรยาบรรณในการทำ Benchmarking….
One thought on “Benchmarking”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ในวงการเรามีหลายห้องสมุดที่จับกลุ่มทำ benchmark กันอยู่หลายแห่ง แต่กว่าจะถึงจุดนั้นได้ ฟังแล้วได้ความว่ามีขั้นตอน วิธีการและระเบียบปฏิบัติมากมาย รวมทั้งต้องรับฟังจากผู้รู้มากมาย ของเรายังไม่เริ่มแต่คิดว่าหนีไม่พ้นที่ต้องไปในแนวทางนั้น คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการเตรียมใจ เปิดใจที่จะต้องเรียนรู้กับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในชีวิตพวกเรา