โรคนิ้วล็อก

โ ร ค นิ้ ว ล็ อ ก หรือ Trigger Finger
รอบรู้เรื่อง “นิ้วล็อกโดย นายแพทย์ วิชัย วิจิตรพรกุล โรงพยาบาลเลิศสิน
โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเรื่องที่สำคัญ จึงต้องระมัดระวัง และต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ใดที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บใดๆมาเบียดเบียนในชีวิต คือ ผู้ที่โชคดีมาก เป็นชีวิตที่มีความสุขที่สุด เพื่อมิให้ประมาทเพราะเป็นสิ่งใกล้ตัวจริงๆ
วันนี้ขอนำความรู้เรื่อง “นิ้วล็อก” โดยนายแพทย์ วิชัย วิจิตรพรกุล มาบอกต่อพร้อมรูปภาพประกอบ พอสังเขปดังนี้
โรคนิ้วล็อก บางคนคงทราบและอาจจะกำลังเป็น หรือ เป็นและรักษาแล้ว โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมือ นิ้วมือที่ไม่สามารถกำ หรือ เหยียดนิ้วมือได้เป็นปกติ เกิดภาวะสะดุดหรือล็อก
e0b899e0b8b4e0b989e0b8a73
โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 พบในผู้ชายร้อยละ 20 พบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด ในกลุ่มอายุ 50 – 60 ปี ส่วนในผู้ชายพบในกลุ่มอายุ 40 – 70 ปี
พบโรคนิ้วล็อกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะผู้หญิงใช้มือทำงานที่ซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปถ้ามีประวัติการใช้งานที่รุนแรง เช่น หิ้วถุงหนักๆ การบิดผ้า ซักผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู สับไก่
ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อก
อาชีพบางอย่างมีความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกอย่างมาก เช่น คนทำซาลาเปา ต้องนวดแป้ง ทุกนิ้วต้องบีบขยำแป้ง ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ที่ต้องใช้คีม ไขควงขันเจาะเนื้อไม้ แม่ครัวโรงเรียนที่ต้องยกหม้อหนัก คนสวนต้องตัดกิ่งไม้ ขุดดิน ดายหญ้า ฯลฯ การทำงานเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เอ็นนิ้วมือเสียดสีกับเข็มรัดเอ็น ทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของเข็มขัดรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์ ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิด การฝืด การตึง สะดุด กระเด้ง จนถึง นิ้วล็อกในที่สุด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น และโรคนี้มักจะพบร่วมกับโรค carpal tunnel syndrome และ De Quervain tenosynovitis e0b899e0b8b4e0b989e0b8a74เด็กที่เป็นนิ้วล็อกแต่กำเนิดe0b899e0b8b4e0b989e0b8a7e0b980e0b894e0b987e0b8814 โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กซึ่งเป็นนิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิด (congenital trigger finger) กลุ่มเด็กที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด e0b899e0b8b4e0b989e0b8a7e0b980e0b894e0b987e0b8812ส่วนใหญ่จะเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ (trigger thumb) ซึ่งเกิดจากที่ปลอกเอ็นหนา จนทำให้เอ็นผ่านไปไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการนิ้วล็อกทั้งสองมือ ซึ่งพบได้ร้อยละ 20 – 30 ในบางรายสามารถหายเองได้หากปมไม่ใหญ่มากนัก ประกอบกับการที่พ่อแม่ช่วยนวดคลึงบริเวณฐานนิ้วบริเวณปลอกเอ็นให้เกิดความยืดหยุ่น

วิธีการรักษา
การรักษาโรคนิ้วล็อกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค
การรักษาในระยะแรกคือ การพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง

การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenac, Ibuprofen, Celecoxib เป็นต้น
การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่พาราฟิน
การทำอัลตราซาวนด์ก็อาจช่วยลดการอักเสบและการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกเอ็น
แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจจะให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณปลอกเอ็น ซึ่งสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น และปลอกเอ็นทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่ การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นานประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล็อก ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สอง ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิด tendon rupture ได้ ในกรณีที่มีการล็อกติดรุนแรงหรือพังผืดหนามาก ฉีดยาก็ไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะจะเปิดลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและ ปลอกเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้ผ่านไปได้
หลักในการพิจารณาให้การผ่าตัด
1. ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่
2. มีอาการกำมือไม่สนิทหรือตรวจพบอาการตึงและฝืดจากการทำ passive movement ของนิ้วนั้น โดยไม่มีการยึดติดของข้อนิ้วมือเป็นต้นเหตุ
3. ผู้ป่วยอยู่ใน grade 3 และ 4 นิ้ว ล็อกรุนแรง

การรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง เป็นวิธีที่สะดวก ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถทำในแผนกผู้ป่วยนอกได้ทันที ในกรณีที่คนไข้เป็นหลายนิ้วในมือเดียวกัน ก็สามารถทำพร้อมกันได้ทีเดียว ส่วนถ้าเป็นอีกมือหนึ่งแนะนำให้ทำภายหลังจากที่มืออีกข้างหายดีแล้ว การผ่าตัดด้วยวิธีนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่อง จากเจ็บตัวน้อยมาก (ขณะฉีดยาชา) ไม่มีแผลเป็น หายเร็ว ไม่ต้องเปิดแผล ไม่ต้องทำแผล ไม่มีเลือดออก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท

e0b899e0b8b4e0b989e0b8a722

ข้อดีของการผ่าตัด
การผ่าตัดโดยทั่วไปที่ใช้กันคือ การผ่าตัดเปิดแผล โดยเริ่มจากการกรีดที่ฐานนิ้วประมาณ 2 เซนติเมตร แยกชั้นผิวหนังกับไขมันออกก็จะเห็นปลอกเอ็นรัดเส้นเอ็นอยู่ จากนั้นก็ตัดปลอกเอ็นตามแนวยาว ซึ่งโดยทั่วไปจะตัดปลอกเอ็นที่ตำแหน่ง A1 pulley จากนั้นก็เย็บผิวหนังกลับเข้าไปอย่างเดิม ข้อดีก็คือ มองเห็นบริเวณที่จะผ่าตัด และสามารถเล็มตัดพังผืดออกทิ้ง

แต่ข้อเสียคือ
ใช้เวลานาน มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ดูแลรักษาแผลยาก มีรอยแผลเป็น และอาจมีผลกระทบต่อเส้นประสาทผิวหนังของนิ้วได้มากกว่าการรักษาด้วยการเจาะ ผ่านผิวหนัง
ท้ายนี้ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ นิ้วล็อก โดย นพ.วิชัย วิจิตรพรกุล

cover

จัดอยู่ที่ RC 73.6 ว 62 ชั้น 2 อาคาร หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มศก.


3 thoughts on “โรคนิ้วล็อก

  • เมื่อมาอ่านเรื่องนิ้วล๊อก ให้นึกถึงพี่เนาของพวกเรา พี่เนาเคยเล่าให้ฟังว่าตัวพี่เนาเป็นนิ้วล๊อค ไม่สามารถใช้มือที่เป็นทำงานได้เลย และปวดมาก นิ้วไม่คลายออกเลย ชนิดกำมือเลย พี่เนาไปหาหมอที่นครปฐมก็ไม่หาย จึงไป ร.พ.ศิริราช หมอใช้ยาฉีดเข้าเส้นบริเวณนิ้วที่เป็นทีละนิ้ว แต่ปวดมาก กลับมาบ้านนิ้วก็คลาย หายเป็นปกติ ต่อมาอีกไม่นาน มืออีกข้างของพี่เนาก็เกิดการล๊อคอีก พี่เนาก็ไปหาหมอที่ ร.พ.ศิริราชอีก ปัจจุบันพี่เนาหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะกลับมานิ้วล๊อคอีกหรือเปล่า ไม่รู้วาจะหายขาดหรือไม่ ถ้าเจอพี่เนาจะสอบถามมาแจ้งเพื่อน ๆ เพื่อเป็นความรํ

  • พี่ธนิกุลค่ะ อ้อก็เป็นอีกคนที่มีอาการเริ่มต้นของโรคนี้ ไปหาคุณหมอเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากเกิดอาการชาที่มือขวา 4 นิ้วคือนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง เวลาซักผ้า รีดผ้า หรือขับรถ หรือแม้แต่กวาดบ้านก็เจ็บ คุณหมอบอกเป็นอาการเริ่มต้น ไม่ต้องทานยา ให้หมั่นคอยแช่มือในน้ำอุ่น ใช้มือให้น้อยลงซักหน่อย เช่นซักผ้าบ่อยๆคราวละน้อยๆ อย่าหิ้วของหรือถุงด้วยนิ้วมือถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ตะกร้าคล้องข้อมือ คุณหมอบอกว่าดีที่มาตรวจก่อน

  • วันนี้ตรวจข่าวเจอวีธีการรักษาโรคนิ้วล็อกโดยบังเอิญเลยเก็บมาฝาก วีการง่ายมากแบบไม่ต้องผ่าตัดเลคือ เมื่อเกิดอาการนิ้วล็อกที่นิ้วใดก็ตามให้เอา “ขนมปังแผ่น” ที่ขายทั่วไป เลือกเอาแผ่นที่บางที่สุดตัดขนาดพอใช้หุ้มนิ้วที่เป็นได้เตรียมไว้ จากนั้นเอา “น้ำส้มสายชูหมัก” ชนิด 5%ของ อสร. ชุบกับชิ้นขนมปังให้ชุ่ม พอกไว้บริเวณข้อนิ้วที่ล็อก ใช้ผ้าพันไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงจึงแกะออก ทำวันละครั้งทุกวัน ตอนไหนก็ได้และทำเรื่อยๆ จะช่วยละลายพังผืดที่หุ้มข้อนิ้วกับหินปูนที่เกาะตามข้อให้หมดไป ทำให้อาการนิ้วล็อกหายได้
    ข้อมูลจาก : คอลัมภ์ “เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่62 ฉบับที่19564 วันที่ 15 สิงหาคม 2554 หน้า 7

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร