เรือนจำกลางนครปฐม กับเมืองนครปฐม
มานั่งปลดปล่อยความเครียดที่หอสมุดวัดพระปฐมเจดีย์ อยู่หลายเพลา และเมื่อต้นปี 2554 ได้เห็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “๑๑๑ ปี เรือนจำนครปฐม” จริงๆ ก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก แต่ที่หน้าปกเป็นภาพเก่าเมืองนครปฐม เลยลองเปิดอ่านดู ปรากฎว่าน่าสนใจมากๆ และที่สำมะคัญ สวมวิญญาณอีกเช่นเคย…(เป็นเรื่องที่จะเข้ากับศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตกอีกแล้ว)
ที่ว่าน่าสนใจมากก็เพราะว่า เนื้อหาไม่ใช่จะเกี่ยวแต่กับเรื่องของเรือนจำนครปฐมเท่านั้น แต่มีเรื่องของประวัติศาสตร์และโบราณคดีจังหวัดนครปฐมอยู่…อย่างเยอะ ดูไปดูมาหนังสือเล่มนี้ บรรณาธิการ/ผู้เรียบเรียง พวกเราก็รู้จักกันคือ คุณไพบูลย์ พวงสำลี ประธานกลุ่มศรีทวารวดี นั่นเอง
แต่ที่น่าเสียดายก็คือ หนังสือเล่มนี้ไม่มีอยู่ในหอสมุดฯ ของเรานะจ๊ะ ทั้งที่มีบุคลากรหอสมุดฯ ถึง 2 ท่านเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ยังไงๆ หัวหน้างานศูนย์ข้อมูลฯ ก็ไปตามหาตัวเล่มมาไว้บริการเองเน้ออออ
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าเรื่องราวของเมืองนครปฐมโบราณ มณฑลนครไชยศรี การขุดค้นทางโบราณคดี และเรื่องราวของงานราชทัณฑ์ของเมืองนครปฐม รวมถึงการใช้แรงงานนักโทษในการขุดค้นทางโบราณคดี เช่น การขุดค้นโบราณสถานวัดพระเมรุ (หรือที่เรารู้จักกันว่า ทุ่งพระเมรุ) หรือการสร้างเมืองนครปฐม (ถนน ที่ทำงานของราชการ การปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ สร้างตลาด ฯลฯ) เป็นต้น
นอกจากเรือนจำนครปฐม จะมีคุณูปการกับเมืองนครปฐมแล้ว เรือนจำนครปฐมยังเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อวางระเบียบงานราชทัณฑ์ ซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
แม้แต่ย่าเหล สุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 6 ก็เกิดที่เรือนจำนครปฐม…
เรือนจำกลางนครปฐม ตั้งอยู่เลขที่ 5 ถนนหน้าพระ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (จะว่าไปก็อยู่ใกล้ๆ กับโรงเรียนราชินีบูรณะ นั่นเอง) เรือนจำมีอายุครบ 111 ปีในปีพ.ศ. 2552 มีนักโทษประมาณ 2,600 กว่าคน และในปีพ.ศ.2555 เรือนจำกลางนครปฐม จะย้ายไปอยู่ ณ ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม บนเนื้อที่กว่า 69 ไร่
หากใครสนใจประวัติศาสตร์ราชทัณฑ์นครปฐม และประวัติศาสตร์เมืองนครปฐม ก็หาหนังสือเล่มนี้มาศึกษาหาความรู้กันได้นะจ๊ะ… 🙄
5 thoughts on “เรือนจำกลางนครปฐม กับเมืองนครปฐม”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ขอบคุณค่ะน้องเอ๋ที่บอกข่าวกับศูนย์ข้อมูลฯ สำหรับหนังสือเล่มนี้ทางศูนย์ข้อมูลฯ อ่านเจอในหนังสือพิมพ์ที่เขียนวิจารณ์หนังสืออยู่และได้ทำเรื่องไปที่จัดงานจัดหาแล้วตั้งแต่ต้นปีเพื่อให้จัดหาเข้าศูนย์ฯ แต่แว่วๆ มาว่า คงจะหาได้ยากเพราะเค้าทำจำนวนจำกัด ที่จริงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลฯ ทั้งจากหนังสือ รูปภาพ วัสดุโสต ฯลฯ บางอย่างเป็นเรื่องเฉพาะเช่นทำในโอกาสพิเศษบ้าง วาระพิเศษบ้าง นิทรรศการบ้าง งานวิจัยบ้าง ทางศูนย์ก็พยายามหามาไว้ให้บริการ แต่ก็ด้วยข้อจำกัดบางอย่างบางทีก็ทำจำนวนจำกัด บางทีนิทรรศการจบไปแล้วหาเอกสารไม่ได้ หรือทางศูนย์อาจตกข่าวไป หากบุคลากรของหอสมุดฯ ท่านใดพบข้อมูลที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับศูนย์ฯ จะกรุณาเก็บมาฝากหรือมาบอกต่อๆ ทางศูนย์ก็จักขอบคุณยิ่ง ซึ่งการช่วยเหลือกันระหว่างหน่วยงานภายในของหอสมุดฯ และระหว่าบุคลากรของหอสมุดฯ เพื่อการเติบโตของศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตกต่อไป
เมื่อวันเสาร์พี่ไปเที่ยวมาได้หนังสือ ศต.มาหนึ่งเล่ม เรื่องเกี่ยวกับเพชรบุรี เอามาฝาก ศต. กับไก่กระป๋องของเล่น 1 ชิ้น เอามาฝากทีมทำงานเด็ก … เอามาฝากเพราะสิเนหา ตอนนี้ขออ่านหนังสือก่อนนะ ส่วนของเล่นส่งมอบให้พี่ติ๋วไปแล้วหลังจากที่หลายๆ คนได้เล่นกันอย่างครื้นเครงกันเมื่อวาน …
เมื่อตะกี้คุณไพบูลย์แวะมาหา เลยถามเรื่องนี้ให้แล้วนะคะ แจ้งว่าจะลองไปหามาให้ค่ะ
ได้หนังสือมาแล้วค่ะ ขอบคุณคุณไพบูลย์ พวงสำลี มา ณ ที่นี้ และขอบคุณน้องๆ ที่ส่งข้อมูลมาให้ เราช่วยกันคนละไม้คนละมือ ทุกอย่างไปได้จ้า
บุคลากรหอสมุด 2 คนนั้นจะเป็นใครก็ตามดิฉันไม่ขอสอบถาม พี่แมวคิดว่า เขาอาจลืมนึกถึง อาจคิดว่าเดี๋ยวหน่วยงานที่จัดทำ คงส่งมาให้หอสมุด ซึ่งความคิดของพี่แมวตลอดมา จะกำชับว่า”กำขี้ดีกว่ากำคด” จึงขอฝากข้อคิดว่า ใครก็ตามเมื่อทำงานทางวิชาการขณะยังเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือเมื่อมีสถานะเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยแล้ว “พึงตระหนักถึงหน่วยงานเฉพาะอย่างยิ่งหอสมุดของเราในภาพรวม โดยที่เป็นแหล่งเก็บและบริการความรู้ที่หลากหลายเป็นเประโยชน์ต่อสาธารณชนโดยทั่วไป ” ตลอดเวลาที่ผ่านมาพี่แมวมักจะได้รับเอกสาร หนังสือหลากหลาย ทั้งที่เกี่ยวกับ มศก. และศต. จากพรรคพวกหลายท่านเฉพาะอย่างยิ่งคุณกนกรัตน์(ประชาสัมพันธ์ของมศก.)ที่ส่งฝากมาให้เป็นประจำ เล่มเล็กเล่มน้อย เล่มเล็กก็ส่งทำจุลสาร มีเนื้อหา ศต.เล่มเล็กก็ส่งเข่า ศต. อีกท่านก็คือ ผศ.สุวิดา (ภาควิชาสังคม)ขอขอบคุณค่ะ