Journallink

www.journallink.or.th เป็นเว็บไซต์บรรณารักษ์ใช้ตรวจสอบรายการวารสารที่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยครอบครองอยู่ และให้บริการถ่ายเอกสารระหว่างห้องสมุดที่ผู้ใช้บริการของแต่ละหน่วยงานขอ  เป็นการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Article จากวารสารต่างประเทศที่มีราคาแพงมากถึงมากมาก
นอกจากนั้นผู้ใช้ฐานข้อมูล journallink สามารถสั่งสำเนาเอกสารได้ด้วยตนเองได้ด้วย โดยไม่ต้องผ่านห้องสมุด ดังนั้นจึงถือว่า เป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์และจำเป็นอย่างมากสำหรับบรรณารักษ์ และนักวิชาการทั้งหลาย  แต่ก็มีเหตุติดขัดขึ้นจนได้ ที่ทำให้ สวทช. ที่ดำเนินการดูแล Journallink อยู่ ขอหยุดการดำเนินการ   ความเดือดร้อนจึงเกิดขึ้นในวงการบรรณารักษ์งานบริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า และ การยืมระหว่างห้องสมุด  และนักวิชาการที่เคยใช้ทั้งหลาย…ยังโชคดี ที่มีอัศวินมารับภาระไปดูแลต่อ
คณะทำงานวารสาร และคณะทำงานบริการ ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา จึงจัดการประชุมร่วมกัน ที่ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเชิญผู้ที่รับฐานข้อมูล journallink ไปดูแลต่อจาก สวทช. คือ ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มาคุยให้ฟังถึงความเป็นมา และที่จะเป็นไปของ Journallink   โดยคุณปรียาพร ฤกษ์พินัย บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ไปกัน 3 คน คือ ดิฉันที่ใช้งาน JL ในการตรวจสอบรายการวารสาร เพื่อให้บริการ ILL  พี่นกกับกาญ ที่อยู่ในคณะทำงานวารสาร ใช้ JL ในด้านเทคนิค คือบันทึกและปรับปรุงข้อมูลของวารสารที่ห้องสมุดเรามีอยู่ ที่เกิดประโยชน์ในความร่วมมือกันระหว่างสมาชิก และเพื่อประโยชน์ปลายทางคือ ผู้ใช้บริการ ที่เรามุ่งหวังให้ได้ ข้อมูล ที่ต้องการเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
คุณปรียาพร เล่าความเป็นมาของ Journallink (กาญมาเขียนให้ที) และความตั้งใจที่จะทำเมือ JL มาอยู่ที่จุฬาฯ โดยบอกว่าสมาชิกเดิมยังสามารถบันทึกข้อมูล ได้เหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแต่ตอนนี้ยังพิจารณาอยู่ในเรื่องของการสั่งสำเนาผ่านระบบ ซึ่งแต่ก่อนใช้ระบบ pin แต่เมื่อ Journallink มาอยู่ในระบบราชการ ก็ทำให้การเก็บเงิน การส่งค่าดำเนินการ มีระเบียบปฏิบัติมากขึ้น ที่ไม่สะดวกกับการดำเนินการ ทางผู้ดูแลจึงวางแผนว่า จะวางระบบใหม่ อาจเป็นการให้ผู้ต้องการสั่งสำเนาบทความ เมื่อคลิกสั่งสำเนา ก็ให้ระบบ pop up email ของผู้รับผิดชอบการดำเนินการ ILL ของแต่ละสถาบัน และผู้ขอก็เป็นผู้ส่งค่าใช้จ่ายให้สถาบันเจ้าของเอกสารด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านคณะแพทย์ จุฬาฯ
ถึงแม้ว่า ฐานข้อมูลออนไลน์ที่แต่ละสถาบันให้บริการอยู่ มากบ้างน้อยบ้างตามฐานะทางเศรษฐกิจ จะทำให้ปริมาณการสั่งสำเนาผ่านระบบ JL น้อยลง แต่ไม่มีห้องสมุดใดที่มีเอกสารสมบูรณ์ ครบถ้วน  หรือ ไม่มีฐานข้อมูลใดที่มี backfile ตั้งแต่ vol 1 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการมีฐานข้อมูลที่บอกว่า มีห้องสมุดไหนมีเอกสารฉบับที่เราไม่มีบ้าง ก็ย่อมเป็นประโยชน์มาก
หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ใช้ฐานข้อมูลที่ สกอ.จัดซื้อให้เท่าที่ มีให้ และมีฐานข้อมูลทางสังคมศาสตร์ เพิ่มเติมบ้าง เช่น jstor หรือ artstorผู้ที่ใช้ Article ในวารสารต่างประเทศ หลักๆ เป็นคณาจารย์ และนักศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทำให้บางครั้งไม่สามารถหา article ที่ผู้ใช้บริการต้องการได้จากฐานข้อมูลที่เรามีอยู่  หรือจากบน open access ต่าง ๆ แนวทางที่ทำคือ ถ้าเป็นวารสารปีค่อนข้างเก่า ต้องใช้ JL ตรวจสอบว่า มีใครมีฉบับพิมพ์ เล่มที่เราต้องการบ้าง แล้วจึงติดต่อขอใช้บริการ ILL  หรือ ถ้าเป็น article ที่ปีค่อนข้างใหม่ ก็จะสอบถามไปยังคณะทำงานบริการของห้องสมุดอื่นๆ ว่า มีใครมีบ้าง ทั้งฉบับพิมพ์ หรือ ฉบับออนไลน์ ดังนั้น หากขาด Journallink ไป ก็จะทำให้ขาดเครืองมือในการทำงานไปหนึ่งระดับทีเดียว
อีกหนึ่ง function ที่ JL มีและเป็นประโยชน์อย่างมากคือ ในส่วนของการบันทึกรายการของวารสารที่ห้องสมุดเรามีเกินอยู่ และต้องการบริจาคให้ห้องสมุดที่ต้องการไปเติมเต็มcollection ของตัว  และห้องสมุดที่ต้องการวารสารอะไรก็สามารถโพสขึ้นมาว่ากำลังต้องการวารสารอะไร ฉบับไหน ซึ่งจะทำให้วารสารที่แทบจะไม่มีคุณค่ากับที่หนึ่งไปเกิดประโยชน์อีกทีหนึ่ง
หมายเหตุ  :  pin คือ บัตรกระดาษที่มีมูลค่าเงินอยู่ ที่ สวทช. จัดทำให้ห้องสมุดที่เป็นสมาชิก นำไปขายให้กับสมาชิกของห้องสมุด เมื่อสมาชิกเปิดใช้ฐานข้อมูล Journallink และพบรายการวารสารที่ต้องการขอสำเนาโดยไม่ผ่านการบริการของห้องสมุด สมาชิกที่อยู่ที่อื่นๆ สามารถคลิก คำว่า สั่งสำเนา ที่หน้ารายการวารสาร ก็จะสามารถสั่งถ่ายเอกสารบทความที่ต้องการได้ โดยระบุหมายเลขในบัตร pin ที่มีอยู่ และใบคำขออิเล็กทรอนิกส์จะถูกส่งผ่าน สวทช. ไปยังห้องสมุดที่มีเอกสารที่ต้องการ  ค่าดำเนินการต่าง ๆ ก็จะถูกหักจากบัตร pin
ฝากกาญมาเล่าประวัติความเป็นมาของ journallink ด้วยนา เผื่อน้องๆ รุ่นใหม่ไม่เคยรู้..ขอบคุณจ้า

One thought on “Journallink

  • บรรณารักษ์ของเราต้องทราบเรื่องนี้ด้วย ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ต้อง UP Date ตัวเอง ข้อมูลนี้
    Jl, Ill,ล่าสุด

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร