ผิดหลักการ…แต่เหมาะสม…และสำเร็จ

จากการที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ของเรา ได้ทำโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยในครั้งแรกนี้ได้ไปทำภารกิจกันที่โรงเรียนวัดวังกุลา ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ในฐานะที่ข้าน้อยเป็นประธานคณะทำงานฯ ก็ได้มีการประสานงานติดต่อกับผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นระยะๆ เพื่อจะได้รับรู้ถึงบริบท ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของห้องที่ทำเป็นห้องสมุด หนังสือ จำนวนหนังสือ บุคลากร รูปแบบหมวดหมู่ที่ผู้บริหารโรงเรียนประสงค์
จากนั้นได้นำมาพูดคุยกันในคณะทำงานฯ ที่มีกันอยู่ทั้งหมด 6 คน (ซึ่งอาจจะแปลกประหลาดตรงที่ไม่ได้ประชุมกันเลย แต่เป็นการพูดคุยกันไปมา จนนำมาซึ่งข้อสรุปความต้องการต่างๆ ได้อย่างน่าแปลกใจ)
wk3เมื่อเริ่มปฏิบัติงาน ก็เป็นอย่างที่พี่สมปองได้เล่าไว้ในท่าทีและลีลา (3) ว่า “ในระหว่างการทำงานมีตัวแปรขึ้นมาให้เราไม่สามารถทำงานได้อย่างใจ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่ดี และเป็นบทเรียนของที่ต่อไป (ถ้ามี) ทั้งในเรื่องของระบบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของวัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งพวกเราทั้งหก ต้องร่วมคิด รีด กลั่นออกมาเป็นวิธีการทำงานให้ได้”
ตัวแปรที่เป็นปัญหาอย่างเห็นได้ชัดก็คือ จำนวนหนังสือ การบันทึกข้อมูล และตัวคุณครูผู้ที่ดูแลห้องสมุด เพราะจำนวนหนังสือที่ได้รับทราบจากผู้อำนวยการโรงเรียน (ซึ่งท่านดูจากสมุดทะเบียน) มีจำนวนไม่มาก แต่เอาเข้าจริงมากอักโขอยู่ อันนี้ไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่ เมื่อทีมงานทำงานกันอย่างสุดฝีมือ
แต่งานกลับมารอในเรื่องการบันทึกข้อมูล ที่ไม่สามารถส่งต่อตัวเล่มไปสู่งานเทคนิคตัวเล่มได้ เนื่องจากเรานำระบบห้องสมุดอัตโนมัติไปติดตั้ง ซึ่งโดยความเป็นจริงสามารถทำการ Login เข้าไปทำงานจากเครื่องที่จำลองเป็นเครื่องแม่ข่ายได้ แต่ด้วยความที่ไม่ได้นึกถึงข้อจำกัดของระบบเครือข่ายของโรงเรียน ที่เครือข่ายช้ามาก รวมถึงหลุด/ล่มไปตลอดวัน ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 เครื่อง
ทำไงดีล่ะ !!! การบันทึกข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ส่วนที่บันทึกหลักๆ ก็จะได้แก่ ISBN, Call no., Author, Title, Imprint, Description, Subject, Author (Add) วันแรกแม้มีเวลาบันทึกอยู่ไม่กี่ชั่วโมง (ซัก 4-5 ชั่วโมง) ปรากฎว่าบันทึกได้ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับคน Catalog 2 คน และคนที่ต้องรอกระบวนการต่อจากการบันทึกข้อมูล (ไม่ได้คีย์ช้านะจ๊ะ)
หลังจากกลับมาที่พัก ก็พยายามคิดวิธีการที่เหมาุะสมในการบันทึกข้อมูล ก็สรุปได้ว่า ถ้าเรายอมผิดหลักการไปบ้าง และดูแล้วเหมาะสมกับห้องสมุดเล็กๆ คุณครูผู้รับผิดชอบก็น่าจะดูสบายๆ ไม่เครียดมากนัก (ครูที่โรงเรียนนี้มีน้อย จนน่าใจหาย 4 คนเท่านั้น)
ที่ว่ายอมผิดหลักการแต่เหมาะสมก็คือ บันทึกข้อมูลแต่ส่วนที่จำเป็นก่อน อันได้แก่ Call no., Author, Title และ Subject ไม่ใส่ Indicator และใช้ Tag Subject เพียง Tag 650 เท่านั้น
wk2
ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้มากขึ้นเป็น 2-3 เท่า และคุณครูก็จะสามารถทำความเข้าใจกับ MARC เพียงไม่กี่ Tag ได้ง่ายขึ้น (แต่ก็ตรวจสอบรายการซ้ำได้ยาก หากหนังสือชื่อเดียวกัน ผู้แต่งเดียวกัน ก็คงต้องยอมปล่อยไป) ซึ่งดูดูแล้วก็คงจะเหมาะสมกับขนาดของห้องสมุดและผู้รับผิดชอบ แม้จะผิดหลักการไปบ้างก็ตาม
นอกจากนี้ ก็ทำให้การดำเนินการต่างๆ ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีในเกือบทุกๆ ด้าน แต่อย่างไรก็ตามการผิดหลักการแบบนี้คงไม่ได้หมายถึงต้องทำแบบนี้เหมือนกันทุกห้องสมุุด คงต้องดูความจำเป็น และบริบทต่างๆ ประกอบกันไปด้วย… 🙄

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร