ดิวอี้ (18 ปี)

เมื่อวันที่ 21-25 มีนาคมที่ผ่านมา หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลางของเราได้จัดโครงการพัฒนาแหล่งเรียยนรู้ขึ้น ซึ่งโครงการนี้หอสมุดจะเลือกห้องสมุดมา 1 แห่งเพื่อเข้าไปช่วยเหลือดำเนินการขั้นต้นให้กับห้องสมุดเช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ การนำระบบห้องห้องสมุดอัตมัติเข้าไปติดตั้งเพื่อให้ใช้งาน รวมทั้งการดำเนินงานทางเทคนิคกับตัวเล่มให้กับทรัพยาการสารนิเทศ และอบรมผู้รับผิดชอบห้องสมุดนั้นเพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อหรือต่อยอดการทำงานได้หลังจากที่ทีมงานของเราได้เสร็จสิ้นการทำงานขั้นต้นให้แล้ว ปีนี้หอสมุดเราเลือกโรงเรียนวัดวังกุลา ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
ผู้ร่วมทีมของเรามีทั้งหมด 6 คน โดยมีตัวข้าพเจ้า (เอกอนงค์) เป็นมือ catalog กับพี่สมปอง น้องจันทร์เพ็ญเป็นมือ key ข้องมูล พี่สุกัญญา น้องพนิดา และน้องรุ่งทิวาเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบกับการดำเนินงานกับตัวเล่มทั้งหมด
งานนี้ข้าพเจ้าก็เลยต้องไปฟื้นความทรงจำแต่หนหลังกับวิชาวิเคราะห์หมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ที่ไม่ได้จับมาเนินนานถึง 18 ปี จำได้ว่า เมื่อจบการศึกษาใหม่ๆ ปี2533 แล้วไปเข้าทำงานครั้งแรกที่ห้องสมุดเอกชนแห่งในกรุงเทพฯ ที่นั้นใช้ระบบดวอี้ในการจัดหมวดหมู่ ทำงานได้ 1 ปี หลังจากที่ลาออกมาแล้วมาทำงานที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ปี 2535 ซึ่งเป็นหอสมุดที่ใช้ระบบการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ก็ไม่เคยได้แตะต้องเจ้าระบบทศนิยมดิวอี้นี้เลย ดังนั้นการไปงานนี้จึงเป็นการฟื้นความหลังกับความทรงจำกับระบบทศนิยมดิวอี้
ช่วงแรกๆ ที่ลงมือทำงานรู้สึกช้าไปบ้างเพราะต้องคอยอ่านทบทวนการใช้งานในหมวดต่างๆ ใช้เวลาในการรื้อฟื้นสักพักก็เข้าที่เข้าทาง หลังจากนั้นก็สามารถ Catalog ได้ปกติเหมือนกับระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (ซึ่งตอนนี้ก็ไม่แตะต้องมาได้สักปีกว่า แล้วเนื่องจากย้ายงานมาเป็นบรรณารักศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก ไม่ต้องวิเคราะห์หมวดหมู่แล้ว) เลยทำให้รู้ว่า การจัดหมวดหมู่หนังสือไม่ว่าจะระบบไหน หากเรารักและใส่ใจมันทำให้รู้ว่า 18 ปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ลืมมันไปเลย
วันแรกครึ่งวันตอนบ่าย (วันจันทร์) ที่เริ่มก็รูสึกว่า ยังฝึดๆ อยู่บ้าง พอทำไปได้สักพักเครื่องเริ่มร้อน ความจำเริ่มมาแล้ว หลังจากเย็นย่ำเวลาห้าโมงกว่า หันไปถามน้องเอ๋วันนี้พี่ได้ซักเท่าไหร มีเสียงตอบมาว่า ที่บันทึกแล้วราวๆ 34-35 เล่ม มีที่ยังไม่บันทึกอีกนิดหน่อย (อะอะอย่าเพิ่งตาโตต้องหาร 2 กับพี่ปองที่แอบงีบไป 1 ชั่วโมงคนละครึ่งจ้า) เลยตั้งเป้ากับพี่ปองว่าวันพรุ่งนี้ต้องมากกว่านี้
วันต่อมาเป็นวันสอง เริ่มลงมือกันตั้งแต่ 8 โมงเช้า วันนี้อากาศค่อนข้างร้อน เลยต้องพักกินน้ำบ่อย แถมคู่หูขอแอบไปสระผม แต่บังเอิญน้ำไม่ไหล เลยต้องกลับ ตอนเย็นหันไปถามน้องเอ๋อีกครั้งว่าเท่าไหร เสียงตอบกลับมาว่า ประมาณ 150 กว่าเล่ม ค่อยชื่นใจหน่อยเพราะยังมีที่ไม่ได้บันทึกอีกหลายสิบวางอยู่ข้างเรากับคู่หู แต่มีเสียงจากพรรคพวกแซวมาว่า ยังอยู่อีกหลายร้อยเร่งเข้าหน่อย จึงตั้งใจว่า อีกสองวันที่เหลือต้องให้ได้มากกว่านี้ เพราะทีมงานนำหนังสือมาเข้าแถวรอไว้แล้ว
และแล้วหลังจากจบการทำงานสี่วัน คู่หูคู่ฮาสองคนอย่างอิฉันกับพี่ปอง catalog ได้เท่าไร น้องเอ๋มือ key เข้ามาฟันธงหน่อยซิ เดี๋ยวจะหาว่าโม้ เพราะงานนี้ไม่ได้โม้แบบสมรักษ์ 😯
pic1

ลีลาของ Cataloguer ฉบับนั่งพื้น 😀

pic2

เริ่มหาที่พิงเนื่องจากอาการปวดหลังเข้ามาเยือน ขอโชว์ผลงานหน่อยนะ 😆

3 thoughts on “ดิวอี้ (18 ปี)

  • หากเราอ่าน จับประเด็น ให้หัวเรื่อง แล้วเอาไปใส่ให้ถูกที่ได้ จะเป็นระบบไหนก็ไม่มีปัญหาค่ะ
    แต่ปัญหาที่พบคือตั้งแต่คำแรกของย่อหน้าแรก
    เวลาทำงานแบบนี้จะไม่เคยนับว่าได้วันละกี่เล่ม จะใช้วิธีทำตลอดแบบเต็มที่ในระหว่างที่ทำงาน แล้วค่อยมาดูผลงานทีหลัง วันไหนที่ได้น้อยก็จะหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร บางครั้งจึงสงสัยว่าการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของการทำงานนี้ว่าในหนึ่งวันควรเป็นเท่าไร 8 10 12 15 เล่ม ทำไมถึงยากเย็นยิ่งนักและดูเหมือนเป็นยาขมสำหรับทุกที่

  • พวกพี่ทั้ง 2 นาง Catalog ไปได้กี่ชื่อน้องเอ๋ก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะน้องเอ๋ไม่ได้นับ แต่ที่แน่ๆ น้องเอ๋คีย์เข้าไปได้วันละประมาณ 130 ชื่อ พวกพี่นางทั้ง 2 ก็คง catalog กันไปได้ประมาณวันละ 170 ชื่อกระมังจ๊ะ เพราะคีย์ไป 130 แล้ว หนังสือที่ catalog ไว้ก็ยังเหลืออยู่แสดงว่าได้มากกว่า 130 ชื่ออ่ะนะ

  • โดยส่วนตัวแล้วจะคิดเหมือนพี่ปองคือในระหว่างวันจะก้มหน้าก้มตาทำงานไปทั้งวันโดยไม่ต้องดูว่าตัวเองได้เท่าไร แล้วจะมาดูที่หลังว่าได้มากน้อยเพราะอะไร สำหรับหลักการการทำงานเดี๋ยวจะมาเขียนเล่าให้ฟังใน blog เรื่องต่องไปจ้า

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร