ปัจจัยที่มีผลต่อ Pre test-Post test

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว Pre test หรือการทดสอบก่อนเรียน และ Post test หรือการทดสอบหลังเรียน “จะดีและมีความยุติธรรมก็ต่อเมื่อผู้เรียนทุกคนเริ่มจากศูนย์ด้วยกัน” หรือมีพื้นฐานเหมือนๆ กัน หรือไม่แตกต่างกัน นี่อาจเรียกว่า คำแก้ตัวของข้าพเจ้า ซึ่งเพิ่งผ่านการ Pre test และ Post test จากการเข้าร่วมโครงการเชิงปฏิบัติการ “การเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม” จัดโดยสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ชั้น 5 อาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
เหตุผลที่ต้องเข้าร่วมโครงการฯด้วยตนเอง มันมีปัจจัยหลายประการ ประการแรกบรรณารักษ์ซึ่งข้าพเจ้าให้รับผิดชอบส่วนหอสมุดโดยที่อบรมการประกันคุณภาพการศึกษามาด้วยกันตั้งแต่แรกเริ่ม เมื่อปี พ.ศ. 2543 และเพิ่งผ่านการอบรมจาก สกอ. ล่าสุดปี พ.ศ. 2553ไปราชการ ประการที่ 2 ด้วยความงกและเสียดายที่นั่งเข้ารับการอบรมซึ่งรองผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้รับผิดชอบ(โดยตรง)ในงานประกันคุณภาพการศึกษาหน่วยงานทั้งหมดสำนักหอสมุดกลาง เอื้อเฟื้อให้ 1 ที่นั่งนั้น ซึ่งหากต้องจ่ายค่าลงทะเบียนล้ว ราคา 2,000 บาท (ในการนี้หน่วยงานของมหาวิทยาลัย ได้สิทธิไม่ต้องเสียค่างทะเบียนหน่วยงานละ 3 คน) ประการสุดท้าย ชื่อวิทยากร คือ รศ. ดร. เรณู เวชต์พิมล ซึ่งข้าพเจ้าชื่นชมความสามารถ ความเก่ง ความมุ่งมั่นเพื่อองค์กร – ส่วนร่วมเป็นทุนเดิม
08.30 น. ของวันแรก ข้าพเจ้าลงทะเบียน รับกระเป๋าเอกสาร เข้าห้องเรียน วิทยากรตรงเวลามาก ถึงกำหนดเวลานั่งหน้าชั้น และรอผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ยังมาไม่ถึง โดยการให้ความรู้เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาในบริบทใหม่ ตาม Power Point ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ท่านอธิบายดีมากๆ ชัดเจน เข้าใจง่าย ข้าพเจ้าไม่รู้จัก ไม่เคยทราบบางคำ ก็ฟังไปเรื่อยๆ และจดตามประสาข้าพเจ้าเอง เคพีเอ ออนไลน์ “ และ “ทีคิวเอฟ” เมื่อฟังไปและดูตาม sheet ก็พบคำว่า “ระบบ CHE – QA -Online” คงมาจาก Check กาที่แปลว่า ตรวจสอบ แต่ ทีคิวเอฟ ซึ่งตรงกับที่จดคือ TQF (มาตรฐานคุณวุฒิหรือสาขาวิชาชีพที่ได้รับการรับรองจากสภาหริอองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง) ได้มาจากคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 (ฉบับตีพิมพ์เมื่อ มกราคม พ.ศ. 2554)
กลับมาที่แบบทดสอบ Pre – test และ Post – test มีข้อคำถาม 20 ข้อ เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ มาครบ เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันฯ แจกแบบทดสอบ ให้เวลา 15 นาที มีสิทธิ์เปิดหนังสือคู่มือได้ ก็คงเหมือนๆกันนั่นแหละ เมื่อไม่อ่านหรือผ่านตามาก่อนคงเปิดไม่ทันแน่นอน ข้าพเจ้าจึงตั้งใจอ่านเฉพาะแบบทดสอบ แล้วทำเครื่องหมาย √ (a tick) และ X (a cross) ตามที่เห็นสมควรและคิดว่าเป็นไปได้ ช่างมันข้าพเจ้าไม่แคร์ จะได้คะแนนเท่าไรก็ช่าง ไม่ทบทวนด้วย ไปทำคะแนนช่วง Post – test ก็ได้ ทำให้มีเวลาเหลือจึงมีโอกาสจดคำถามบางข้อไว้เผื่อหาคำตอบจากวิทยากรในเวลาเรียน “วิทยากรต้องสอนและหวังว่าคงต้องบอกคำตอบบ้างซิน่า”ซึ่งก็เป็นจริง อีกทั้งข้าพเจ้ามีความรู้มากขึ้น และคาดว่ามีความเข้าใจ (ไม่ใช่ความจำ) ระดับดี ถึง ดีมากด้วย แต่เมื่อฟังวิทยากรเฉลยทำไมคำตอบที่ตอบ Post test ผิดหลายข้อ คะแนนอาจมากหรือน้อยกว่า Pre test ซึ่ง ต้องโทษคำถามที่ถามไม่ตรงกับคำตอบของข้าพเจ้า ก่อนทดสอบข้าพเจ้าพูดล้อเลียนกับผู้เข้าร่วมอบรม รุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลาน ข้าพเจ้าเกรงว่าได้คะแนน Post test น้อยกว่า Pre test หากเป็นจริงถือว่าแย่มากๆ ทั้งๆ ที่วิทยากรบอกเปิดคู่มือตอบได้ ซึ่งข้าพเจ้าและผู้ร่วมชั้นเรียนต่างก็เปิด ก็เพราะความคิดมาก คิดลึก คิดจนกระทั่งผิด ได้ใช้ความคิดซับซ้อนหลายชั้นประมาณว่ามีความรู้มากกว่าตอนทำ Pre test
อย่างไรก็ตามถือว่าได้ไป Refresh เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ไปฟังการอธิบายจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้มีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบซึ่งหน่วยงานสนับสนุนการสอนต้องปฏิบัติหรือดำเนินการ ทั้งยังได้รับความรู้การตรวจประกันฯ องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต อย่างละเอียดเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งเป็นความรู้ที่สายวิชาการหรือผู้มีหน้าที่ในงานประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา คณะวิชา สถาบันเท่านั้นต้องเรียนรู้หรือรับรู้อย่างละเอียด

One thought on “ปัจจัยที่มีผลต่อ Pre test-Post test

  • CHE QA คือ การกรอกข้อมูลการประกันคุณภาพบนฐานข้อมูลออนไลน์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พวกเราไม่ต้องทำในส่วนนี้เพราะเป็นภาพรวมของมหาวิทยาลัยค่ะ แต่เป็นคำศัพท์ที่ต้องเข้าใจความหมาย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร