AAR คืออะไร ?

ข้าพเจ้าได้ยินคำว่า AAR มาจากรายการ Comment การเขียนบล็อกของข้าพเจ้า
แต่แล้วข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจว่าตัวย่อนั้นหมายถึงสิ่งใด จึงได้ลองหาคำตอบดู
ก็พบว่ามันย่อมาจากความหมายที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าดังนี้

AAR ย่อมาจาก ภาษาอังกฤษว่า After Action Review
ซึ่งหากแปลเป็นภาษาไทยแล้ว หมายถึง การทบทวนหลังทำกิจกรรม ค่ะ
ในกรณีที่นำมาใช้กับการทำงาน นั่นหมายถึง เมื่อเราทำงานตามขั้นตอนปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังเสร็จสิ้นภารกิจ ให้ลองมาสำรวจผลการปฏิบัติที่เพิ่งผ่านพ้นมาดูซิว่ากิจกรรมที่เราได้ทำไปนั้น มีข้อบกพร่องสิ่งใดที่ควรปรับปรุงอีกบ้าง หรือสิ่งใดที่ดีแล้วก็คงไว้ให้นำไปปฏิบัติต่อ เพื่อทำให้กิจกรรมที่ผ่านมาดีขึ้นในการจัดครั้งต่อไป
โดยที่การทำ AAR นั่นไม่ใช่เป็นการจับผิด หาข้อบกพร่องของใคร คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น ทั้งการประหยัดเวลา ขั้นตอนการทำงาน การสร้างการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เพื่อคุณภาพมากกว่า…..
และถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานซึ่งกันและกันของผู้ร่วมงาน เกิดเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้กับชิ้นงาน
ตัวอย่างการทำ AAR ในองค์กร
AAR มีใช้ครั้งแรกในกองทัพของสหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณปี 1970 โดยมีวัตถุประสงค์ในขณะนั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของกองทัพ แก้ไขช่องโหว่ที่อาจทำให้เป็นรองฝ่ายตรงข้าม หรือทำให้สูญเสียทหารฝีมือดีในการทำศึกสงคราม และสิ่งที่สำคัญคือการได้ฝึกการทำงานเป็นทีมไปพร้อมกันด้วย
จนกระทั่งปี 1990 ภาคธุรกิจซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีภาวะการแข่งขันสูงและแข่งขันตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ได้เริ่มนำเทคนิคนี้มาใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กร เพื่อครองส่วนแบ่งการตลาดสูงขึ้นหรือเพื่อทำกำไรมากขึ้น ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้เทคนิคนี้ได้รับความสนใจอย่างมากมายต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
(คัดลอกเนื้อหาส่วนนี้มาจากเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม)

วิธีการในการทำ AAR 
ให้สำรวจดังนี้

4 คำถามกับ AAR คือ

1. สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการทำงานคืออะไร

2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

3. ทำไมจึงแตกต่าง

4. สิ่งที่ได้เรียนรู้และวิธีการลด/แก้ความแตกต่างคืออะไร

7 ขั้นตอนกับ AAR คือ

1. ควรทำ AAR ทันทีหรือเร็วที่สุดหลังจากจบงานนั้นๆ

2. ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง

3. มี “คุณอำนวย” คอยอำนวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน

4. ถามตัวคุณเองว่าผลที่คาดว่าควรได้รับคืออะไร

5. หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร

6. ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงแตกต่าง

7. จดบันทึก เพื่อเตือนความจำว่า วิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว

AAR คราวหน้า กิจกรรมโครงการโลกของหนูรอ รอ รออยู่ :mrgreen:

2 thoughts on “AAR คืออะไร ?

  • กด like ให้สิบครั้งเลย thank you จ้า ที่สรุปให้..

  • ขอบคุณนะที่ไปค้นคว้าหาต่อแล้วมาเล่าสู่กันฟัง
    AAR ทำได้ทุกขณะจิตด้วยการทบทวนกับตัวเองว่าวันนี้เราทำอะไรไปเป็นอย่างไร แค่ไหน อย่างไร …เราจะได้ไม่ใช้ชีวิตที่ประมาท และรู้เท่าทันตลอดเวลา

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร