สัมมนาแบบไต่ระดับ

เมื่อวันที่ 28-29 ตุลาคม 2553 สำนักหอสมุดกลางจัดให้มีการสัมมนาประจำปี โดยเลื่อนจากกลางปีงบประมาณมาเป็นต้นปีงบประมาณ เนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองแบบกีฬาสีเมื่อปีที่แล้ว
ในความคิดเห็นที่มีต่อเรื่องนี้คือเป็นการดีเพราะทุุกหน่วยงานในสังกัดจะได้รับฟังนโยบายของผู้บริหารว่าจะนำพาไปในทิศทางใด ดีกว่าไปรู้เมื่อค่อนปีไปแล้ว จะทำอะไรได้ยากเพราะหน่วยงานของเราใหญ่โต ส่วนจะอุ๊ยอ๊าย เชื่องช้าแบบที่ใส่ร้ายคนอ้วน หรือจะกระฉับเฉง อินเทรนด์แบบสุริวิภา ก็คิดเอาเอง
น้องๆ ที่ทำงานถามว่าของเราล่ะยังคงมีอยู่ไหม ก็ปรึกษากันแล้วสรปุกันว่าคงเป็นกลางปีงบประมาณ คือตั้งแต่หลังเดือนมีนาคม เหตุผลคือทำให้เราสามารถสรุปการทำงานในรอบ 6 เดือนได้
การสรุปผลการทำงานเป็นการทบทวน เพื่อไปตั้งต้นกับอีกหกเดือนที่เหลือ แล้วเป็นฐานคิดของปีงบประมาณต่อไป จึงขอแจ้งให้ทุกท่านทราบกันตั้งแต่เนิ่นๆ
ส่วนจะเป็นวันไหน เวลาใด ขอสรุปกิจกรรมทุกอย่างลงในปฏิทินการทำงานของห้องสมุดก่อน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมายของหอสมุดฯ แต่คิดว่าพวกเราพร้อมดำเนินการต่อไปแล้ว จึงไม่ค่อยเป็นห่วง
ปีนี้สำนักหอสมุดกลางกำหนดให้เป็นเรื่องของ KPI ส่วนบุคคล ซึ่งประสงค์จะให้หน่วยงานไปลงมือสร้างให้เป็นจริงกันเสียที
พวกเรากว่าค่อนหรือเกือบทั้งหมด ต่างผ่านสมรภูมิการคิด ทำแบบนี้มาแล้วยังคิดว่าเป็นเรื่องยาก ที่กว่าจะช่วยกันสร้างออกมาได้ และเมื่อสร้างมาแล้วก็ยังต้องพัฒนาหรือปรับกันอย่างต่อเนื่อง จึงต้องตั้งใจเป็นพิเศษ เพราะเราไปสัมมนาที่สวนผึ้งอยู่กลางป่าจึงมีเสียงหึ่งๆ ซึ่งน่าจะเป็นแมลงส่งเสียงแข่งขันกับ my big boss
แต่ก็ยังพอจะจับใจความได้ว่า KPI ต้องมากับ SMART จึงขอสรุปตามความเข้าใจคือ
S: Specific  ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ชี้ไปเลยว่าจะทำอะไรเด๊ะๆ ไม่กั๊กๆ
M: Measurable วัดได้จริง แปลว่าสามารถวิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
A: Achievable ทำได้จริงๆ ไม่ใช่โม้
R: Realistic มีความสมจริงกับสิ่งที่รับผิดชอบ
T: Timely  มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะวัดผลเมื่อไร
Specific – คือต้องชัดเจน ชี้เด๊ะๆ ไม่กั๊ก ไม่กำกวม
Measurable – คือสามารถนำไปวิเคราะห์ความหมายทางสถิติได้
ข้อควรระวังในการสร้าง KPI คือ อย่าสร้างตัวชี้วัดที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ต้องเป็นตัวชี้วัดที่เข้าใจร่วมกัน และต้องมีพัฒนาการ
คำว่าพัฒนาการ หมายถึงเมื่อสร้าง KPI แล้ว ควรมีการไต่ระดับ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หากเป็นภาษาการโรงแรมก็จะบอกว่า upgrade จากห้องธรรมดา ให้เป็นห้องสวีท หรือบนเครื่องบินจากชั้น economic ก็จะกลายเป็นชั้น business อะไรประมาณนี้ หากสามารถนำไปเทียบเคียงกับนักกีฬาได้คือ เมื่อต้องการไปให้ถึงเป้าหมาย (เหรียญทอง) ก็ต้องฝึกฝน ฝึกซ้อมให้ดีขึ้น  และให้ใช้กระบวนการพูดคุยกันให้ได้ข้อสรุป…
ระหว่างฟังก็พลิกๆ ดู KPI ของฝ่ายบริการที่ติดไปด้วย ดูๆ ไปแล้วไม่ค่อย  SMART  เอาเสียเลย  เดชะบุญที่กอ่นเข้าห้องสัมมนาได้แจ้งให้ทุกคนที่ไปตั้งใจฟัง เพราะเราคงถึงกาลที่ต้องกลับเข้ามาดูกันอีกครั้ง งานแบบนี้ไม่สามารถทำได้คนเดียว ต้องอาศัยสติปัญญาและประสบการณ์ของมวลหมู่สมาชิก ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ ซึ่งได้คุยกัน ปรารภกันก่อนที่จะเข้าไปฟังการบรรยาย ว่าถึงเวลาที่เราต้องพัฒนา
ช่วงบ่ายผู้อำนวยการได้ให้ดิฉันไปเล่ากรณีศึกษาให้ฟังว่าทำอย่างไร เนื่องจากไม่ได้เตรียมตัวมาจึงเล่าเท่าที่จำได้ และแนะนำให้ไปอ่านที่ blog เพิ่มเติมได้ที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7762
ความทรงพลังของ blog คือแบบนี้ เพราะจะให้เขียนหรือเล่าก็จะไม่เข้าใจและเข้าถึงสถานการณ์แบบนั้น จึงนั่งยัน นอนยันว่าให้มาช่วยกันเขียนเถอะ คนละเล็กคนละน้อยจะได้เติมเต็มซึ่งกันและกัน
ได้บอกเล่าถึงกระบวนการที่กว่าจะได้ เราต้องระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานมองข้ามกลุ่ม บริบทต่างๆ ของการได้มา ระหส่างการทำงาน การนำไปใช้ การประเมิน และการตรวจสอบ หน้าที่ของคนที่เป็นหัวหน้า หน้าที่ของคนที่เป็นลูกน้อง รวมถึงการคิดและทำงานแบบภาพรวมของ workload KPI KM HR Competency JD  และการประเมินผล
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย บางครั้งการที่จะได้ผลลัพท์ออกมาต้องผ่านการโต้เถียง การทะเลาะ ความขัดแย้ง แต่นั่นไม่ได้หมายถึงการแตกแยก
ตอนดึกๆ หลังจากสัมมนาไปนั่งคุยกับน้องๆ เรื่อยเปื่อย ที่จริงคือทำหน้าที่พี่ที่ต้องดูแลน้องๆ จนถึงเกือบตีสาม  น้องคนหนึ่งมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นให้ฟังว่า เจ้รู้ไหมมีคนมองว่าการโต้เถียง การทะเลาะ ความขัดแย้งกันในที่ประชุมคือความแตกแยกเจ้มีความเห็นอย่างไร?
มองหน้าเพราะทุกคนมองหน้าเจ้ตาแป๋วววว รอคำตอบ…
บอกว่าไม่แปลกใจที่มีหลายคนมีทัศนคติแบบนี้ เพราะหลายคนมองความปรองดอง คือการว่าตามกัน เวลาประชุมไม่มีการพูด มีการแสดงความคิดหรือมีความต่าง หรือเป็นไปอย่างอ้ำอึ้ง วกวน อ้อมโลกหรือแสดงความคิดเห็นลับหลังเมื่อเป้าหมายแว๊บไปเข้าห้องน้ำ
ในที่สุดคนตัดสิน คนสั่งการคือประธาน ขณะที่คนรับได้แต่อ้ำอึ้ง พร้อม หรือทำเหมือนที่จะใช่ อยากจะเซย์โน แต่ต้องไปแสดงความคิดเห็นนอกห้องประชุม หรือนอกหน่วยงาน หรืองุงิกับคนที่ซี้ๆ
ดังนั้นหลายปัญหายังคงคาราคาซัง แกะกันไม่ออก เพราะประธานในที่ประชุมไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้อย่างรอบด้าน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก จึงเกิดเป็นความเรื้อรังทีี่่ยากจะรักษาเหมือนสนิมที่เกาะกินแอบให้กร่อนๆ  เพราะไม่สามารถใช้การประชุม เป็นเวทีของการดึงศักยภาพของคนที่เข้าประชุม นำความคิดเห็นออกมาระดมสมอง เปิดใจ เปิดสมองเพื่อหาข้อยุติและหาแนวทางแก้ไข
เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของหน่วยงานที่ต้องช่วยกันสร้างให้พวกเรารับวัฒนธรรมการมองงานเป็นภาพรวมแบบทะลุทะลวง แล้วมุ่งไปที่งานเป็นหลัก รู้จักแยกระหว่างเรื่องงาน เรื่องที่ไม่ใช่งาน และเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือจะมีผลต่องาน กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น เปิดใจรับความต่าง เปิดสมองรับสิ่งใหม่
เพราะเรากำลังประชุมเรื่องงาน ไม่ใช่ไปนั่งชิวๆ แบบกินหมูกะทะ แต่ก็ใช่ว่าต้องคร่ำเคร่ง หรือคร่ำเครียด ขอแค่เปิดใจนึกว่าคนที่พูดคือที่รัก ก็แค่นั้น  ออกจากห้องประชุมก็ยังไปกินข้าวได้ ยังออกมาถกต่อเติมเสริมแต่งกันได้  อย่างนี้น่าจะเรียกว่า KM ที่เนียนไปกับเนื้องาน
ภาพของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์  อาจจะเป็นอย่างนั้นในมุมของคนบางคน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถให้ใครมาเข้าใจเราได้ั้ทั้งหมด เพราะแม้พวกเราเองก็อาจจะไม่เข้าใจกันในบางเรื่อง  แต่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มีภาพของการทำงานที่จริงจังแบบเต็มร้อย พร้อมจะก้าวไปข้างหน้า บุคลากรทุกคนยังถามได้ตอบได้ รับรู้ว่าห้องสมุดกำลังทำอะไรกันอยู่ พร้อมแก้ปัญหา เราจึงพอมีเวลาที่สร้างหรือคิดงานใหม่อย่างต่อเนื่ื่องและสม่ำเสมอ
จึงไม่เแปลกที่เวลาอยู่ในที่ประชุมเราจะเถียงกันหน้าดำหน้าแดง แต่พอออกจากห้องยังเกี่ยวก้อยออกมากินข้าวด้วยกันได้ หรือจะใช้วาทะแบบพี่จุ๋มที่พี่น้องหลายคนบอกว่าแกต้องหลักการมาก่อน เช่น บอกว่า ตามหลักการแล้วต้องเป็น A B C D แต่ความคิดเห็นของพี่น่าจะเป็น D A B C ส่วนในที่ประชุมจะว่ากันอย่างไรก็ว่าตามกัน จริงดั่งว่าเพราะผลลัพลัพธ์อาจเป็น A B D C เหตุเพราะพวกเราต่างกันในตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การรับรู้ ความไว ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แม้บางเรื่องจะน่าเบื่อก็ตาม แต่ก็ต้องรับฟังและคิดตาม
โชคดีเท่าไรแล้ว  ที่เราอยู่ที่นี่ เข้าใจชิมิ … คร่อก… ทั้งคณะพร้อมใจกันนอนกลางสายลม

สะกิดให้ตื่นพร้อมเทศนาต่อว่า
เมื่อกลับมา  KPI ของพวกเราคงต้องนำกลับมาพัฒนากันต่อ เพื่อไต่ระดับ คำว่าไต่ระดับ อัพเกรด พัฒนา หมายถึงการไม่อยู่นิ่งในทางบวก
เพราะสิ่งที่ทำไปเป็นเพียงการนำร่อง ระดับปฐมวัย เพราะทำกันแบบงมเข็มในมหาสมุทร แต่โชคดีที่มีคนช่วยกันงมหลายคน จึงได้เข็มเล่มเล็กๆ มาเป็นตัวเอย่าง แต่หากมีคนมางมเพิ่มขึ้น อาจจะได้เข็มที่ต่างกัน จะทำให้มีตัวเลือกมากขึ้น หวังว่าเป็นอย่างนั้น….
ย้อนไปก่อนมื้อเย็นหลังจากที่เข้าที่พักเรียบร้อยกันแล้ว พวกเรามานั่งกินลมชมวิว พวกเราที่นั่งอยู่ก็มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันสองกลุ่ม กลุ่มแรกว่าด้วยเรื่องการทำ KPI การสร้างมาแล้ว ต้องมีการพัฒนา ส่วนกลุ่มที่สองหมายมั่นปั้นมือว่าคืนนี้ต้องดูน้องลอออร คุยกันไปคุยกันมาเริ่มออกรสไปโน่นว่าคนนั้นลูกใคร ลูกเมียน้อย หรือลูกเมียหลวง
แล้วก็มารวมกลุ่มเสวนาเรื่องระหว่างลูกเมียน้อย กับลูกเมียหลวง ใครทุกข์กว่าใคร ใครน่าสงสารกว่าใคร ใครโดนกลั่นแกล้งกว่าใคร  สุดท้ายสรุปว่าลูกคนใช้น่าฉงฉานที่สุด
ตามด้วยวิวทิวทัศน์ของเมืองปารวัตร ชื่อเมืองจากละครชุดสี่ขุนเขา ที่น้องอั้มล่ำบึ๊กเป็นเจ้าชาย เรื่องนี้ใช้ฉากเป็นประเทศเนปาล จากนั้นก็ไปอินเดีย มีป้าบางคนเล่าเรื่องชนชั้นวรรณะว่าน่ารัดทดจริงๆ
แต่ที่เด็ดสะระตี่คือมีคนบอกว่าพวกเรานั่งบนเขา เห็นไหมที่พักลดหลั่นกันไป แบบสูง กลาง และพื้นราบ แล้วก็ชี้ชวนให้ดูกันว่าตรงนั้นติ๊ต่างให้เป็นบ้าน AF ที่กำลังคัดเลือกนักร้อง ถัดมาเป็นบ้านพัก และใกล้ๆ ที่เรานั่งเป็นแคมป์ติวคณิตศาสตร์โอลิมปิค
แล้วของหนูที่อยู่ล่ะเรียกว่าอะไร สาวนางหนึ่งร้องถาม แต่ยังไม่มีเสียงตอบ ฉับพลันก็มีเสียงที่ปัจจุบันยังไม่รู้เลยว่าเป็นไผ  บอกว่าที่พูดมาผิดหมด ที่แท้ๆ มันคือชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง ชนชั้นต่ำ
ส่วนอะฮั้นหันไปค้อนหนึ่งครั้งบอกว่า KPI มันต้องมีการไต่ระดับ ไม่เข้าใจกันหรือไงฟระ (ตั้งใจให้ฮา)  แต่ไอ้หนูเล็กบอกว่า ตรูไม่ฮากับมรึง  ปัจจุบันโลกให้เราหัวเราะเป็นตัวเลข ดังนั้นจะหัวเราะ 55 กี่ครั้งดีหว่าหนูเอ๋
แต่ที่แน่ๆ จำได้ว่าดังไปทั้งขุนเขา แล้วสะท้อนก้องกลับมาที่พวกเรา
การได้ฟังเสียงแหลม ทุ้ม แหบแห้งที่หลากหลายทั้งอารมณ์ ทั้งความรู้สึก มันดีแบบนี้ เพราะทำให้เราได้รู้  ได้สัมผัสความรู้สึก ทำให้เรามีจินตนาการ ซึ่งก็น่าจะตรงข้ามกับการฟังหวานๆ เสียงคนคุ้นเคย
การที่พวกเราฝึกจิตให้มั่นคง มองว่าคนถัดจากเราคือลูกค้า  นำความคิดเห็น หรือเสียงที่หลากหลายทั้งบวกและลบ ชมหรือติ รู้จักหยิบของดีมาใช้ เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักคำว่าให้บริการแบบเสมอภาค แล้วกลับมาพัฒนา ปรับปรุงงาน ให้ไต่ระดับสูงขึ้นๆ
การฟังทีีดีคือการนำไปคิด ทำ ปรับ จึงจะเกิดการไต่ระดับ หรือ upgrade แต่ถ้าพูดว่าฟังแล้วแต่ผลยังเหมือนเดิม หากไปเทียบเคียงกับวงการกีฬาก็คงตกรอบ หรือโดนคัดตัวออก
เรื่อง KPI ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องของโลกสมมุติที่ต้องการหาคำตอบและเป็นการแข่งขันกับตัวเอง แล้วเอาไปต่อกับเพื่อนให้ได้เป็นรูปใหญ่ๆ แบบจิ๊กซอร์ที่เราชอบต่อ  และแต่ละจิ๊กซอร์ก็ควรมีช่อง usb ที่พร้อม!
ย้างยังไม่เลิกกวนใจ… แล้วหนูจะเป็นแบบไหนดีระหว่างน้องนิ ลอออร แม่ลูกจันทร์  และน้องน้ำหวาน คำตอบคือไปหาพระเอกก่อนไป๊ เจ๊จะนอน อย่าได้กวนใจ ยิ่งไม่มี fb ให้ ment แถมแม่ลูกจันจะอวสานวันนี้อย่าได้มายุ่งที่เดียวเชียว ข๊ะจ่ะมะ
Blog นี้เขียนให้ตามคำเรียกร้อง … กองเชียร์ทั้งหลายมาช่วยกันอ่านนะวุ๊ยส์

โฉมหน้า (ก้น) ที่สาม
โฉมหน้า (ก้น) ที่สาม

เลขเด็ดของเอ๋กะอ้อ แต่น้องเมะรับไป
เลขเด็ดของเอ๋กะอ้อ แต่น้องเมะรับไป

หลังคาประหนึ่งบ้าน AF
หลังคาประหนึ่งบ้าน AF

เตียงเสริมน้องยาหยีก่อน Upgrade
เตียงเสริมน้องยาหยีก่อน Upgrade

ฉับพลันก็ไฮโซ by พี่แมว
ฉับพลันก็ไฮโซ by พี่แมว

พี่แมวแบ่งความอร่อยให้นกยูงที่แก่งส้มแมว
พี่แมวแบ่งความอร่อยให้นกยูงที่แก่งส้มแมว

3 thoughts on “สัมมนาแบบไต่ระดับ

  • ทำให้ได้รู้ว่า รีสอร์ทแต่ละแห่งย่อมมีที่พักไว้รองรับนักท่องเที่ยวแบบหลายรสชาติ และผู้โชคดีที่ได้รับรู้ถึงสองรสชาติก็คือธิดารัตน์ เอง อิอิ
    การฟังสัมมนาในครั้งนี้ได้รับความรู้เรื่องKPIมาประดับความเข้าใจมากขึ้นค่ะ อีกทั้งเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรที่กำลังจะร่วมกันฟื้นฟูให้คงสภาพ สร้างมโนภาพจำติดตาแก่ผู้มาเยือน

  • พี่ค่ะ KPI รายบุคคล เราวัดจากตัวที่เป็นมาตรฐานของตรงไหน จึงจะรู้ว่าเราได้ทำงานแล้วมีประสิทธิภาพ

  • KPI ทุกตัวเป็นงานของเราที่เรารับผิดชอบ การวัดก็คือต้องมีตัว M ที่สามารถทำได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เชิงปริมาณคือจำนวน ส่วนเชิงคุณภาพ เป็นเรื่องพฤติกรรม คำถามก็จะมีอยู่ว่าจะกำหนดเกณฑ์อย่างไร? ความเห็นของพี่คือเกณฑ์นั้นต้องยอมรับได้และHappy กันทั้งสองฝ่ายคือคนทำงานกับผู้บริการ คำถามต่อมาคือยอมรับได้หมายถึงอะไรและทำอย่างไร วิธีที่พี่ใช้คือต้องดูเป้าหมายว่างานของเราคืออะไร แล้วเราจะทำงานให้ถึงตามที่ตั้งเป้าอย่างไร ดูสถิติการทำงานย้อนหลัง คุยกับคนที่ทำงานเหมือน/ต่อ/ต่าง/ไม่เกี่ยวกับเรา คำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งบวกและลบ งานวิจัยของสำนักฯ ข้อมูลจากคนในวงการเดียวกับเรา KPI ของมหาวิทยาลัย สกอ. PULINET ปัญหาในการทำงาน แล้วเขียนออกมาเรื่อยๆ ยังไม่ต้องว่าถูกหรือผิด แล้วเอาข้อมูลมารวมกลุ่มกันเป็นงานหลักเพื่อกำหนดเป็น KPI ส่วนเกณฑ์ก็ต้องดูว่าจะใช้เชิงปริมาณ หรือคุณภาพ หรือใช้ทั้งสองตัว ซึ่งต้องทำงานร่วมกับหลายๆคน เพื่อให้ทุกคนยอมรับและเข้าใจในงานของเรา เวลาตรวจสอบก็ต้องตรวจสอบตาม KPI อันไหนบรรลุก็ต้องไต่ระดับ หรือต้องสร้างงานใหม่ หรือบางงานอาจไต่ไม่ได้เพราะมีบริบทหลายอย่าง ซึ่งคนทำงานต้องเข้าใจมองงานอย่างทะลุ แล้วจะถึงคำถามที่กาญจน์ถามอะไรคือมาตรฐาน ก็คงต้องตอบว่าคือการทำงานให้บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ส่วนเรื่องพฤติกรรมส่วนบุคคล เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องวัดจากคนที่เข้ามาใช้บริการจากเราว่ามีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน เช่น งานของกาญน์มีเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง คำถามคือเวลาไหนจึงจะดีที่สุดสำหรับการต่ออายุ การจ่ายเงิน การยืมเงินทดรองจ่าย การทวง การส่งต่อ ซึ่งอาจทำเป็นในเชิงปริมาณได้ ส่วนเชิงคุณภาพ เช่น ส่งตัวเล่มไปตอนนี้ฝ่ายที่รับเขายินดีไหม คนที่ประสานงานระหว่างเรากับคณะวิชา เค้ารู้สึกอย่างไรกับเรา เค้าอยากรู้และเค้าอยากให้เราทำอะไรให้เค้า …ประมาณนี้ ต้องลองดูค่ะ… ฝากท่านอื่นต่อด้วยค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร