การพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : ตอนที่ 1

โครงการการพัฒนาผู้บริการระดับกลาง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เข้าภาพคือข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลับสาวนภูมิภาค หรือเรียกกันย่อๆ ว่า PULINET คืออะไร สรุปกันสั้นๆ ง่ายคือ คือการรวมตัวกันของห้องสมุดในมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ซึ่งก็หมายถึงที่ไม่ได้อยู่ใน กทม. แม้จะเป็นชานเมืองอย่าง มสธ. ก็เข้ามาร่วมกับข่ายงานนี้ฯ รวมทั้งห้องสมุดตามวิทยาเขตต่างๆ ในบางมหาวิทยาลัย เช่น ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และศรีราชา  ม.นเรศวร พะเยา ฯลฯ ตอนที่มาทำงานเมื่อปี 2530 มีไม่กี่แห่ง
และไม่ว่าสมาชิกจะเพิ่มขึ้นเท่าไรแต่ยังคงรักษาสัมพันธภาพและความอบอุ่นอย่างเหนียวแน่น ตัวเองถือเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่ดีของข่ายงานฯ
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ข่ายงานฯ ได้มอบหมายให้ ม.ศิลปากร ได้จัดการสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 1 เรื่อง Creative Library แสดงผลงานของทั้งจากห้องสมุดสมาชิกและผู้สนใจ ซึ่งมีความเห็นว่าเป็นงานสัมมนาหนึ่งที่ชอบมาก เพราะทำให้เราได้รับรู้เรื่องราวและมีมุมหลายๆ มุมจากเพื่อนในวงการ  ที่ต้องหันกลับไปดูงานของตัวเองในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนางานของเราต่อไป
น่าติดตามมากทีเดียวสำหรับการสัมมนาครั้งไป ที่ ม.สุรนารี จะเป็นเจ้าภาพ ในปีต่อไป
สำหรับโครงการการพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ข่ายงานฯ มอบหมายให้ ม.บูรพา เป็นเจ้าภาพ  และได้จัดต่อเนื่องมาแล้วถึง 4 ปี
เนื้อหาของโครงการเป็นภาควิชาการที่ให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานจากนักวิชาการในหลายๆ หน่วยงาน รวมทั้งการไปศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ แล้วหวังว่าผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมนี้จะนำผลพวงไปใช้ในหน่วยงานของตนและพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้า
ผู้บริหารระดับกลาง ของแต่ละห้องสมุดคงหมายถึงหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้า รวมทั้งบุคคลที่ห้องสมุดเห็นสมควรให้เข้ามาในภารกิจนี้
ที่ห้องสมุดจึงให้หัวหน้าฝ่ายไปก่อนเริ่มอยู่ที่ใครจะบ่ายเบี่ยงได้เร็วหรือช้า ในที่สุดจากคุณพี่หน่อยเลยไปเป็นทัพหน้า ตามด้วยคุณหนูเล็ก ต่อไปควรจะเป็นข้าพเจ้า แต่คิดว่าปีนั้น (2552) จะต้องไปดูงานกับกลุ่มบริการจะขอบาย พี่นกจึงไปแทน แต่รัฐบาลท่านขอร้องให้ลด ละ เลิก เดินทางไปต่างประเทศเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี พี่นกจึงได้แต่ไปอบรม ไม่ได้ไปโกอินเตอร์
เรื่องการไปดูงานต่างประเทศทำให้ต้องพิจารณากันหลายยก เพราะเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  ข้าพเจ้าก็ต้องไปดูงานกับกลุ่มบริการที่ฮ่องกงและเซินเจิ้น ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสหัวหน้าหอสมุดฯ จึงต้องนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมโดยข้าพเจ้ามิได้มีส่วนร่วม บอกแต่เพียงว่าพิจารณาตามสบายมิต้องเกรงใจ เพราะรู้สึกเหมือนกันว่าเราโกอินเตอร์บ่อยกว่าใคร
ในที่สุดที่ประชุมก็พิจารณาผลออกมาว่าเป็นเรื่องต่างกรรม ต่างวาระที่บังเอิญมาเจ๊อะกันพอดิบพอดี ซึ่งเป็นไปได้กับทุกคน ดังนั้นตรานี้ข้าพเจ้าจึงต้องไปเพราะเป็นหัวหน้าฝ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังหลงเหลืออีกหนึ่งคน… จงไปซะ
ส่วนพี่นกที่ไปอบรมปีที่แล้วไม่ได้ไปโกอินเตอร์  ก็ควรต้องไปซ่อมเพื่อให้ครบหลักสูตร อันนี้เป็นคำตอบของข้าพเจ้าที่มีคนถามไถ่ด้วยความกังขา มีคนแซวว่ารวย ข้าพเจ้าก็คิดและตอบกับบางคนไปว่าไม่ใช่เรื่องรวยหรือจน แต่เป็นเรื่องของหน่วยงานที่เข้ามาดูแลและให้โอกาสกับคนทำงานที่รับใช้หน่วยงานจนขี้เกียจนับนิ้วมือว่ากี่ปีถึงจะได้ไปดูงานตาม U.โน้น U.นี้ และยังต้องทำงานไปจนถึงวันที่เกษียณอายุ ให้นำประสบการณ์ที่ได้กลับไปปรับใช้… เพราะเราคงเบื่อที่จะสร้างจินตนาการด้วยการฟังเสียงลือเสียงเล่าอ้าง กับที่ได้ดูจากสื่อต่างๆ … โชคดีและดีใจที่หน่วยงานของเรามีความมั่นคงกับแนวคิดแบบนี้
เมื่อตกลงเป็นเช่นนี้ข้าพเจ้าจึงต้องเก็บของใส่กระเป๋าเดินทางไปเรียนหนังสือก่อนที่โรงแรมเอวัน พัทยาเหนือ โดยความอนุเคราะห์ของท่านผู้อำนวยการ ในฐานะประธานข่ายงานฯ ที่ต้องไปเปิดงาน  ที่ได้กรุณารอข้าพเจ้าที่ติดภารกิจสอนจนถึงในตอนเย็นของวันอังคาร แล้วออกเดินทางไปด้วยกันกับน้องที่เพชรบุรี จึงขอขอบพระคุณ ณ ตรงนี้อีกครั้ง
มิฉะนั้นข้าพเจ้าคงต้องตุเลงๆ ขึ้นๆ ลงๆ รถตู้ไปจนถึงโน่นนนพัทยา …. หากเป็นเช่นนั้นคงต้องร้องเพลง โอ้….พัทยาลาก่อน
น้องเมทของข้าพเจ้ามาจากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ทำงานออกแบบหน้าตาของสื่อต่างๆ ในมหาวิทยาลัย จบจากคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากรแล้วก็เป็นญาติของพี่คนหนึ่งรู้จัก  ถือเป็นความโชคดีของข้าพเจ้าที่เวลาไปไหนมักพบญาติไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง
เออนะโลกแคบกว่าที่เราคิด
กิจกรรมนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2553 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรงค์ ฉิมพาลี ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะประธานข่ายงานฯ เป็นผู้เปิดการอบรม โดยได้บอกเล่าความเป็นมาของโครงการ ความเป็นไปและความคาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นกับทุกคน และมอบหมายภารกิจต่อให้อาจารย์ ดร.พฐา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในฐานะกรรมการอำนวยการฯ และตัวแทนของข่ายงานฯ         ที่จะดูแลพวกเราทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งพี่น้องผู้จัดการอบรมที่มีคุณวันทนา กิตติศรีวรคุณ รองผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นหัวหน้าทีมคณะทำงานที่ช่วยเหลือให้ข้อมูลพวกเราทั้งก่อน ระหว่างและกระทั่งหลังการอบรม
เรื่องแรกที่พวกเราต้องฟังการบรรยายคือเรื่อง ยุทธศาสตร์โลก ยุทธศาสตร์ไทย : ปัจจัยที่มีผลต่ออุดมศึกษา โดย อาจารย์ธนิตสรณ์ จิระพรชัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี  เสนอแนวคิดในการบริหารองค์กร โดยผู้บริหารต้องรู้จักศึกษาความเป็นไปของโลก ใช้การคิดแบบ
Think globally – Act Locally  เปรียบเหมือนการคิดที่ใช้การมองแบบนกแล้วทำอย่างหนอน ผู้บริหารต้องมองให้รอบด้าน ทุกทิศ คิดให้รอบคอบ โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Alvin Toffler เขียนหนังสือทำนายอนาคตโลก “Future Shock” เมื่อปี 1970, “The Third Wave” เมื่อปี 1980 และ “Powershift” เมื่อปี 1990 Powershift: Knowledge, Wealth and Violence at the Edge of the 21st Century – ค.ศ. 1300 คลื่นลูกที่หนึ่ง : ปฏิวัติเกษตรกรรม – ค.ศ. 1800 คลื่นลูกที่สอง : ปฏิวัติอุตสาหกรรม – ค.ศ. 1965 คลื่นลูกที่สาม : ปฏิวัติสารสนเทศ – ค.ศ. 2004 ยุคที่ 8 ตามศาสตร์ฮวงจุ้ย ตะวันออกจะรุ่งเรืองต่อเนื่อง 20 ปี
การทำงานต้องถามตัวเองว่า why  เพื่อหาปรัชญา what และ how เพื่อหาวิธีการ เพื่อที่จะเรียนรู้ และหรือเลียนแบบ  เพราะการรู้จักตนเองจะทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ทั่วทั้งองค์กร
เริ่มจากการมองคนในองค์กรว่าเป็นแบบไหน เช่น หากคนในองค์กรมีลักษณ์คงที่ (stable state) คนที่ทำหน้าที่ผู้บริหารต้องรู้จักวิธีการที่ทำให้ผู้นั้นทำงานให้เต็มศักยภาพ (potential) ไม่ว่าด้วยการส่งไปอบรม หรือพัฒนาด้านใดด้านหนึ่ง ก่อนส่งไปอบรม ฯลฯ ก็ต้องรู้จักตั้งวัตถุประสงค์ว่าจะให้ผู้นั้นกลับมาทำงานอะไร ให้คุ้มค่ากับงบประมาณที่ส่งไป ทั้งนี้ผู้บริหารต้องรู้จัก เข้าใจใน 3 เรื่องคือ คน คลังและแผน โดยมีปัจจัยที่เชื่อมโยงเป็นผลกระทบซึ่งกันและกัน แล้วนำไปสร้างเป็นกลยุทธ์ ด้วยคำนึงถึง
1.  ความแตกต่างของคนในแต่ละยุคสมัยที่อยู่รวมกันในองค์กร ซึ่งมีความคิดที่ต่างกัน เช่น
Baby Boom         มีความมุ่งมั่น อดทนและมีความตั้งใจ  เปรียบเป็นควายรู้
Gen X                   ความสำเร็จอยู่ที่งานที่ต้องมีความท้าทาย มีความตื่นเต้น
Gen Y                    ความเปลี่ยนแปลงคือความสำเร็จ    เปรียบเป็นควายแรง
ดังนั้นการทำงานจึงควรจับคู่การทำงานระหว่าง ควายรู้ กับ ควายแรง
2. ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้องค์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อป้องการการย่ำอยู่กับที่หรือซ้ำรอยเดิม  หากองค์กรมีบุคลากรที่ไม่รู้จักเรียนรู้จำนวนมากจะเป็นอุปสรรคของการสร้างความชำนาญ รวมทั้งความก้าวหน้าขององค์กร
3. การยอมรับในตัวตนขององค์กร ต้องรู้จักยอมรับถึงข้อจำกัดที่อาจเกิดมากจากข้อ 1 และ 2 แล้วนำมาแก้ไข ถือเป็นวิธีการบริหารความเสี่ยง  รู้จักการผสานกำลัง (synergy) ขจัดอุปสรรคต่างๆ แก้ไขด้วยการสื่อสารที่ดีให้คนในองค์การเข้าใจตรงกันให้มากที่สุด
คนที่เป็นหัวหน้า                 ถูกประเมินด้วย competency
คนที่เป็นลูกน้อง  ถูกประเมินด้วย performance
แต่คนที่เป็นหัวหน้าต้องมีทั้ง competency และ performance
งานบุคคล (HR-Human Resources) มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างมาก ในการสร้างให้บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้าง LO – Learning  Organization (องค์กรแห่งการเรียนรู้)
4.  ปัจจัยที่สนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร เช่น ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องมีใจและมีน้ำใจ มีการทำแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีทิศทางของการสร้างร่วมกัน และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร  มีความต่อเนื่องของงบประมาณ  โดยต้องเปิดใจ ใช้การมองในลักษณะของการให้คนนอกเข้ามามองลักษณะขององค์กร
5.  ศึกษาและใช้แนวคิดทางการบริหาร เช่น ไคเซ็น เป็นการพัฒนาระบบการทำงาน แล้วไปพัฒนาคน เป็นการสร้าง core value  การปรับปรุง ซึ่งจะปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง จนถึงระดับปฏิบัติการ ที่ต้องช่วยกันสร้างอัตลักษณ์ (ภาพรวม) และเอกลักษณ์ (ตัวเรา) ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กร  หากจะให้มีความยั่งยืนนั้นต้องอาศัยระบบการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นการประกันว่ามาตรฐานจะไม่ตกลงไป  การบริหารงานในองค์กรต้องมองเห็นเป็นภาพรวมทั้งองค์กรในทุกเรื่องให้เป็นภาพรวมเดียวกัน ขณะที่ก็ต้องสามารถแยกแต่ละเรื่องว่าเรื่องที่ทำนั้น มีเหตุผลหรือแก้ปัญหาในเรื่องใด ซึ่งผู้บริการต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ รวมทั้งรู้จักสร้างหรือทำงานในลักษณะของแผนรับ เพื่อแก้ไขปัญหา และแผนรุก เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และสรุปจบท้ายด้วยการเล่ากรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับชั้นเข้าใจคนในองค์กรที่มีความแตกต่างกันในแต่ละ generation เพื่อรองรับการเติบโตของมหาวิทยาลัยในอนาคตด้วยการ
1.       การสร้างนักคิด  โดยให้มีความคิดในเชิงระบบ มองรอบๆ ตัว รู้จักการตัดสินใจที่ใช้ความฉลาดและสารสนเทศ  และมีการสื่อสารที่ดีในองค์กร
2.       มีทิศทางขององค์กรที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ และทุกจุดของงานต้องสร้าง KPI เข้าไปกำกับเพื่อให้องค์กรมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้  หากไปยังไม่ถึงก็ยังไม่ต้องเปลี่ยน
3.       มีระบบเฝ้าติดตาม (Motoring) ที่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง มีการวิเคราะห์  SWOT และอย่าส่งปมปัญหาไปให้หน่วยงานถัดไปต่อจากเรา
ตอนฟังสนุกชะมัด หัวเราะกันเอิ๊กอ๊ากถูกอกถูกใจ แต่ตอนเขียนสรุปนี่สิ เหอเหอ กว่าจะแกะลายมือและแคะออกมาได้ สมกับที่อาจารย์บอกว่าประมาณว่าถึงเอาสไลด์ผมไปแต่ลีลาไม่ได้มาด้วยค๊าบ …. เลยจำได้แค่นี้ค่ะ
เนื่องจากงานที่รับภาระมีทั้งงานในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริการ และงานที่ต้องดูภาพรวมของห้องสมุดจึงไม่รู้สึกแปลกใจในแง่มุมของท่านวิทยากร เพราะหน่วยงานจะมีคณะกรรมการมากเท่าไร มีโครงการเยอะแยะขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Plan KM HR QA RM KPI … อะไรอีกล่ะ เขียนบ่นไปหลายครั้งแล้วนี่หว่า…. จำได้
แต่หากขาดการมองแบบภาพรวมจะไม่เห็นทิศทาง ยิ่งมีหลายกลุ่มแล้วการทำงานไม่สอดรับ ไม่สามารถตอบคำถามของทั้งองค์การได้ รวมทั้งไม่สามารถดึงของอีกส่วนหนึ่งมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอีกส่วนหนึ่ง หรือตัดทอนส่วนเกิน กระทั่งพัฒนาส่วนที่มีข้อจำกัด มันก็จะทำให้ขาดๆ เกินๆ โล้นๆ โล่งๆ ซึ่งไม่สวยงาม
งานแบบนี้หนักยิ่งกว่าน้ำหนักที่แบกอยู่นะฮ้า…..

Enhanced by Zemanta

3 thoughts on “การพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา : ตอนที่ 1

  • พูดอีกก็ถูก บ่นอีกก็ใช่
    แต่ทำอย่างไรจะเติมเต็มในส่วนที่เธอพรำ่บ่น
    …ขาดการมองแบบภาพรวมจะไม่เห็นทิศทาง ยิ่งมีหลายกลุ่มแล้วการทำงานไม่สอดรับ ไม่สามารถตอบคำถามของทั้งองค์การได้ รวมทั้ง “ไม่สามารถดึง” ของอีกส่วนหนึ่งมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอีกส่วนหนึ่ง หรือตัดทอนส่วนเกิน กระทั่งพัฒนาส่วนที่มีข้อจำกัด…
    ถ้าให้เราตอบนะ…”ใจ” อย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับปัจจัย
    เอา “ใจ” มาคุยกันด้วย “ใจ” แบบใสๆ น่ะ
    ในมุมของเรานะ…ม่านบางๆ มันยังมีอยู่ ทำไงเราจะปลดม่า่นลง
    เราเชื่อในความรักในองค์กร “ห้องสมุด” ของชีวิตน้อยใหญ่ที่อยู่ในร่มเงาเดียวกัน
    เราเชื่อในความ เก่ง กล้า สามารถ ในตัวตนคน “ห้องสมุด”
    เพียงแต่เรายอมรับกันและกัน ให้เกียรติ
    เคารพกันตามกติกา และหน้าที่อย่างแท้จริง
    ไม่ได้หมายความว่าทุกวันนี้ไม่มีอยู่ เพียงแต่บางครั้งเราลืม
    เราพอรู้เรื่องของมดบ้างเล็กน้อย
    ไม่รู้จะเกี่ยวอะไรกันไหม
    แต่อยากบอก
    ปกติมดรังหนึ่งจะมีมดนางพญาเพียงตัวเดียว
    มดนางพญาเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง
    ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ
    เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้
    หากมดนางพญาถูกฆ่าตาย
    มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย
    อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร
    เราฝากไว้ให้อ่านกันเล่นๆ น่ะ มดงานทั้งหลาย

  • แต่มดงานที่ทำงานแล้วไม่ถูกใจ นางพญาก็เข้ามาจัดการ มดที่แข็งแรงถึงจะอยู่ในโลกของมดได้ หรืออย่างในการ์ตูนเรื่อง Antz ก็มีมดงานกบฎ แต่มดงานทั้งสองแบบเหมือนกันคืออดทน มานะ บากบั่น และแข็งแรง มดเวลามันเดินไปไหนมันยังแตะๆ พูดจาประสามด และเชื่อว่ามดทุกตัวมันพูดนะ เพราะจะไม่ค่อยเห็นแตกแถว เรื่องมดแบบนี้ฉันเชื่อว่าทุกคนเข้าใจทั้งนั้นแหละ รวมถึงเรื่องใจทั้งหลาย
    ยังยืนยันว่าทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา ลงมือทำ บอกเล่าประสบการณ์ แบ่งทุกข์ เฉลี่ยสุข ถาม หาคำตอบ ไม่ต้องไปหาเหตุผลให้กับตัวเองเพื่อให้ไม่ต้องทำ หรือแสดงความเห็น แยกตัว หรือบอกว่าเป็นเพราะคนอื่น จะเป็นเรื่องของใจหรือไม่ใจก็ไม่รู้ เพราะคงไม่มีอะไรถูกใจใคร และไม่อยากเรียกร้องอะไรทั้งสิ้น
    เรื่องบางเรื่องทีไ่ด้มาหงุดหงิด ไม่ชอบ ไม่เข้าใจก็ถาม ถามแล้วไม่มีใครตอบได้ ก็ไปหาคำตอบเอง มีหนังสือ มีคนให้ถามเยอะแยะไปในโลกนี้ เพราะเราอยากมองอะไรแบบทะลุ เป็นภาพรวม ไม่อยากติดกับให้อยู่กับที่หรือจนมุม
    เมื่อไดคำตอบ หรือเข้าใจอะไีร ก็เอามาบ่น บอก ดุ ว่าหรือขยายความ ก็แล้วแต่ใครจะใช้คำว่าอะไรเพราะขึ้นกับความเลิฟ
    แต่ผลลัพท์ของคำเหล่านั้นคือ ต้องการให้รู้ บ่น บอก ดุ ว่า หรือขยายความ ดีกว่าการอยู่เฉยแล้วมายิ้มเยาะหรือทับถมทีหลัง หรือโมโหว่าทำไมไม่รู้ สิ่งที่ตั้งหน้าตั้งตาเขียนมาทั้งหมดเป็นเรื่องราวที่คิดว่าน่าจะเผยแพร่ให้รับรู้กันก็ทำกันไป
    ในฐานะที่ต้องสวมหัวโขนก็คิดว่าทำดี พยายามทำ พูด เข้าใจ รับฟัง แก้ปัญหา ฯลฯ เชื่อไหมบางครั้ง บางเวลาเรายังทำเรื่องน่าเกลียด แบบที่เราเกลียดได้เลย ทั้งที่พ่อแม่สอนนักหนาว่าอย่าทำแบบนั้น ก็ยังลืม แถมยังยึดอัตตากับหัวโขน
    ตอนนี้ไม่คิดอะไรขอทำหน้าที่หรือมีส่วนเป็นเจ้ดันให้กับพี่ๆน้องๆ ให้ก้าวหน้าแบบได้กล่องต่อไป คิดแค่นี้แหละ

  • ถูกเผงเลย เมื่อทำงานในองค์กร เชื่อมั่นว่า ทุกคนรักงาน รักองค์กร แต่ละคนต่างสวมหัวโขน แต่หัวโขนต่างกัน น้องทั้งสอง เล่าแจ้ง แถลงไขได้ดีเยี่ยม ถูกทุกประการ อ่านจุดใด ไม่มีที่ตำหนิเลย ห้องสมุดดำเนินไปได้ฉลุยค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร