การบรรยายพิเศษ:การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ (ตอน 1)

ได้ไปฟัง รศ.ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์  ให้ความรู้เรื่อง “การเขียนบทความวิจ้ัยให้ได้รับการตีพิมพ์ ” ที่คณะเภสัชศาสตร์  ในเวลา 2 ชั่วโมงที่อาจารย์บรรยาย หรือเล่าให้ฟังนั้น ประเด็นหลัก คือ เรื่อง เทคนิคการเขียนบทความวิจ้ัยให้ได้รับการตีพิมพ์  ล้วนๆ
เช่นเคย พวกเรา 4 คน (พัชรี ธิดารัตน์ กรุณา ภาณุวัฒน์)  คงอยู่ในฐานะผู้ฟัง ที่มิสามารถขยับไปเป็นผู้เขียน เพื่อการตีพิมพ์ระดับชาติ หรือนานาชาติได้ ดังนั้นจึงขอสรุปเท่าที่จะทำได้นะคะ น้องๆ ที่ไปด้วย เชิญร่วมเพิ่มเติม แก้ไข จะเป็น minor revision หรือ major revision ก็ได้ แต่อย่า rejected แล้วกัน
สไลด์แรกที่ไม่ใช่หน้าปกสไลด์ มีร้อยกรองที่อาจารย์บอกว่า ศ.ดร.อำนวย  ถิฐาพันธ์  แห่งคณะแพทย์ รามาธิบดี  กล่าวไว้ว่า
คิดโดยไม่ทำ                 เสียเวลาคิด
ทำโดยไม่เขียน            เสียเวลาทำ
เขียนโดยไม่เรียน         เสียเวลาเขียน
เรียนโดยไม่ฟัง             ก็จงอยู่คนเดียวเถิด
(ฟังแล้วก็..คิดยังไงดี..แต่เห็นจริงตามนั้นเหมือนกัน จึงเอามาให้อ่าน เผื่อมีคนช่วยสะดุ้ง !!)
สิ่งสำคัญอันดับแรกที่อาจารย์กล่าวถึงคือ
1. จำเป็นต้องตอบคำถามตัวเองก่อนว่า เราจำเป็นต้องเขียนงานวิจัยหรือไม่ งานวิจัยของเราเป็น original  หรือ innovative หรือไม่ เพราะ editor จะยอมรับงานวิจัยที่เป็น original เท่านั้น
2. Focus on your central message  คือ ให้พยายามหาว่า สิ่งที่ต้องการนำเสนอคืออะไร ต้องให้ editor สามารถใช้เวลาน้อยๆ ในการเห็นถึงสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ.. สิ่งนั้นน่าสนใจหรือไม่?   ให้ผู้เขียน เขียนออกมาเป็นประโยคให้ได้ 1-2 ประโยค หรือให้นำไปพูดให้คนที่ในวงการเดียวกันฟัง ว่าเขาสนใจหรือไม่
3. เลือกวารสารที่คิดว่าจะส่งบทความ  โดยการ
–  อ่าน instruction to author
– ดู editorial board ว่าเป็นที่รู้จักในวงการหรือไม่
– ดู Impact Factor ของวารสาร
4. การตั้งชื่อ article
–  ใช้ประโยคง่าย ๆ
– ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
– สั้น  เพราะชื่อเรื่องสั้นๆ จะชัดเจนและน่าสนใจกว่้า
–  หลีกเลี่ยงการใช้คุณศัพท์
– ใช้วลีจะดีกว่าเป็นประโยค
–  ชื่อเรื่องสามารถบอกได้ว่ากำลังจะอ่านเรื่องอะไร
– หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า  the effect of…. /the study of…โดยชื่อเรื่องต้องเป็นตัวแทนของเนื้อหาได้ด้วย (แต่มีอาจารย์ท่านหนึ่งในที่บรรยาย ให้ความเห็นว่า การตั้งชื่อเรื่อง บางทีก็ต้องแล้วแต่ประเภทของงานวิจัยด้วย.. เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลประโยขน์ของบริษัทเพื่อการค้า และเกี่ยวข้องกับคน เช่น เรื่องประสิทธิภาพของยา   ก็ต้องใช้ชื่อเรื่องที่เป็นกลาง ไม่ให้เป็น positive หรือ negative ซึ่งอาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้คำว่า  the effect of…)
5. การเขียนบทคัดย่อ ควรเขียนสั้นๆ สรุปปัญหา  วิธีการวิจัย  ผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย  และควรให้รายละเอียดมากพอที่ reviewer จะตัดสินใจได้ว่า จะอ่านบทความทั้งหมดเลยหรือไม่
6. บทนำ หรือ introduction  ควรเขียนว่า ปัญหาคืออะไร ทำไมถึงต้องทำเรื่องนี้ หากมีการอ้างถึงงานของผู้อื่นก็ควรบอกด้วยว่า มีใครทำมาอย่างไร และเราได้มาเติมเต็มส่วนใด   อาจารย์บอกว่า การเขียนส่วนนี้ ควรเขียนให้เหมือนนิทาน เพราะต้องอ่านได้ราบรื่น ต่อเนื่องกัน
…ติดตามตอนต่อไปนะคะ….

2 thoughts on “การบรรยายพิเศษ:การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ (ตอน 1)

  • หนูไม่เคยเขียนบทความวิจัยแบบนี้ แต่ชอบเขียนขอทุน หรือส่งในงานสัมมนา เรื่องแบบนี้ท้าทายดี ส่งไปเยอะ ปิ๋วก็แยะ แต่ก็ยังก้มตาก้มตาคิด ทำงาน เขียนแล้วส่งต่อไป เพราะถือเป็นการให้โอกาสตัวเองหรือหน่วยงาน แล้วก็คิดแบบสไลด์แรกเปี๊ยบเลยพี่ ชอบเวลาที่เค้าปฏิเสธเพราะเค้าจะบอกเหตุผลที่เค้าไม่รับเรา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี

  • เขียนครั้งก่อนดี้ดี ยาวด้วย เมื่อใส่code แล้ว ไม่ได้กดคำว่า captcha code ไปกด submit ก็เลยเอวัง จะเขียนใหม่ ไม่ได้ดังเดิม แต่จะพยายาม พวกเราจะนึกถึงคำท่พี่แมวพูดตลอดมาว่า “ทำๆ เสนอ/ส่ง ผลคือ 50 50 ได้ กับ ไม่ได้ แต่หากไม่ทำ ไม่เสนอ/ไม่ส่ง ผล คือ 0 ไม่ได้แน่นอน” ด้วยความขยัน ใฝ่ศึกษาค้นคว้า สร้างผลงานใหม่ๆ สู่สาธารณชน อย่างสมำเสมอ ไม่หยุดนิ่ง สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ผลงานทางวิชาการทั้งวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ อื่นๆ ทำให้คนหนุ่มในมหาวิทยาลัยศิลปากร ก้าวสู่ ศาสตราจารย์ หลายคน นับตั้งแต่ ศ.ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ ศ.ดร.ศักด์ชัย ศ.ดร.สายันต์ (คณะโบราณคดี)ศ.ดร.
    วิโชค (คณะจิตรกรรมฯ) รอโปรดเกล้าอีก (คณะสถาปัตย์ฯ)และเชื่อว่า รศ.ดร.พรศักดิ์ ก็จะเป็นรายต่อไป แล้วพวกเราล่ะเวลาที่มีเท่ากัน อ้างว่าทำงานประจำทั้งวัน ไม่มีเวลา คนเราหากคิดแล้วลงมือทำ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ทั้งนั้น ก็หลังกินข้าวกลางวัน หลังทำ
    ธุรกรรม ธุรการที่บ้านตอนเย็น กลางคืนก่อนนอนหรือตอนเช้า หาเวลาทำให้ได้ก็แล้วกัน ก็ตัวเรานี่ จริงไม๊

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร