เตาโบราณบ้านหมอสอ

มีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง “ชุมชนร่วมรัฐ : กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมบ้านหมอสอ จังหวัดกาญจนบุรี” เลยนึกถึงพี่อ้อขึ้นมา… หนังสือเล่มนี้ตัวเองคิดว่ายังไม่เห็นในหอสมุดฯ แต่อาจจะมีแล้วก็เป็นได้ ยังไงพี่อ้อก็ตามเอาเองเน้อ…
บ้านหมอสอ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองฝั่งทิศตะวันออก มีลำน้ำหมอสอซึ่งแยกออกจากแม่น้ำแม่กลองบริเวณบ้านท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านบ้านหมอสอ โดยไหลผ่านชุมชนโบราณกำแพงแสนทางด้านทิศเหนือ ออกสู่แม่น้ำท่าจีนบริเวณวัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
คนในชุมชนบ้านหมอสอส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยทรงดำ และยังคงใช้ภาษาไทยทรงดำในชีวิตประจำวัน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะ “พริก” เป็นพืชที่ปลูกมากและชึ้นชื่อของชุมชน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบประเพณีและวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องมา ได้แก่ งานบุญเดือน 6 ซึ่งเป็นการจัดพิธีทำบุญประจำปีบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อปิ่นแก้ว-เจ้าแม่มะลิซ้อน และพิธีเสนเฮือน ซึ่งเป็นวัฒธรรมที่สำคัญของชาวไทยทรงดำ โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบการจัดบ้านเรือน ที่จะต้องมีห้องผีไว้ด้านในสุดขวามือ เรียกว่า กะล้อห้อง จะต้องมีการจัดเลี้ยงผีเรือนทุก 7-10 วัน และในทุก 2-4 ปี จะมีการจัดพิธีเสนเฮือน เป็นต้น
ในส่วนของเตาโบราณบ้านหมอสอนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 8 ต.พระแท่น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี มี 2 เตา ซึ่งเตาโบราณทั้ง 2 เตา ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชุมชน แวดล้อมไปด้วยอาคารสาธารณะประโยชน์ และบ้านเรือนทั้ง 3 ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นร่องสวนและแนวลำน้ำ
ลักษณะของเตาจากร่องรอยหลักฐานที่ปรากฎ อายุอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย น่าจะจะสัมพันธ์กับชุมชนโบราณที่ร่วมสมัยกับการก่อสร้างพระแท่นดงรัง อาจจะเป็นเตาเผาภาชนะเนื้อดิน ทรงกลมแบบระบายความร้อนขึ้น โดยด้านทิศตะวันตกชองตัวเตาตัดผนังเตาเป็นช่องกว้างประมาณ 1.20 เมตร ซึ่งเป็นช่องใส่ไฟและประตูเตา ถัดไปทางทิศเนือของตัวเตามีช่องโพรงยื่นออกมาประมาณ 1 เมตร ทำหน้าที่เป็นปล่องเตาสำหรับระบายความร้อนและควันไฟ

stove1
ภาพจากหนังสือ "ชุมชุนร่วมรัฐ : กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม บ้านหมอสอ จังหวัดกาญจนบุรี"

stove2
หลักฐานที่พอจะสันนิษฐานได้ว่าเตาทั้ง 2 เตานี้มีการนำผลิตภัณฑ์อะไรมาเผาในเตาคือ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน ถ่านไม้ ก้อนอิฐ แต่หลักฐานที่พบก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่า เตาทั้ง 2 เป็นเตาเผาภาชนะ จากการประมวลหลักฐานต่างๆ เตาโบราณทั้ง 2 เตานี้ น่าจะเป็นเตาเผาอิฐ มากกว่าจะเป็นเตาเผาผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร