ภาษาลู

7 July 2010
Posted by patcharee

เมื่อวันที่เป็นหัวหน้าเวร น้องปูมาใช้บริการหาข้อมูลให้ที เรื่องภาษาลู และภาษาคอ..เราฟังแล้วก็..อะไรวะ ไม่เห็นรู้จัก
เมื่อลองค้นดูก็ได้ข้อมูลที่พอสรุปได้ว่า
ภาษาลู เป็นภาษาที่กลุ่มบุคคลที่เป็นเกย์ (บ้างก็ว่าเป็นภาษาคนในคุก) ใช้ในการสื่อสารกันเืพื่อเข้าใจกันเองเฉพาะกลุ่ม หลักการของการใช้ภาษาลูคือ
1. นำเอาคำว่า  “ลู”  ใส่ไปข้างหน้า แต่ละคำของประโยคที่จะพูด เช่น
ต้องการพูดว่า  ” ไปไหน”  ก็ใส่คำว่า “ลู”ลงไปได้ว่า  “ลูไป ลูไหน”
2. ผวนประโยคที่ำได้ก่อน เป็น
“ไลปู ไหลนู”
คิดว่าคงเข้าใจไม่ผิด..ลองไปหาอ่่านที่วัยรุ่นเขาเขียนกัน ในเว็บต่างๆ  ยังมีภาษาคอ ภาษา ซ  สติปัญญาในเรื่องแบบนี้ของวัยรุ่นเขาแตกฉานจริงๆ พยายามทำความเข้าใจ พยายามหัด จนได้..
ทีนี้ ทำให้นึกถึง คำหนึ่งที่เคยถามขึ้น blog มาแล้วครั้งหนึ่ง คือ ‘pig latin’ ที่ใช้ในการค้นชั้นสูงของ google scholar  ปองได้ช่วยอธิบายไว้ใน blog นั้นว่า
..Pig Latin มีวิธีการสร้างคำโดยสับเปลี่ยนตำแหน่งลำดับตัวอักษรของคำ และเพิ่มพยางค์ที่ไม่มีความหมายลงไป โดยพื้นฐานของ Pig Latin มีรูปแบบด้วยการนำอักษรตัวแรกของคำไปใส่ที่ตำแหน่งสุดท้าย และเติม -ay ต่อลงไป เช่น ouyay ankay alktay igpay Atinlay เท่ากับ You can talk Pig Latin….กลุ่มคนที่ใช้ภาษาท้องถิ่นและมีคำชำนาญ ใช้วิธีการสร้างคำที่ซับซ้อนขึ้น โดนการนำสระหรือสระผสมตัวสุดท้ายไปใส่ไว้ที่ตัวแรก คำว่าา latin = Inlatay หรือนำสระ หรือสระผสมตัวแรก และส่วนที่เหลือไปใส่ไว้ที่ตำแหน่งแรก Latin = Atinlay คำแสลงทั่วไปสร้างจาก Pig Latin คำว่า amscry = scram และ ixnay = nix”
แต่ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอมาได้อ่านการใช้ภาษาลู ทำให้เข้าใจมากขึ้น..นอกจากเข้าใจว่าภาษาทุกภาษามีการพลิกแพลง มีเกิดมีตายตลอดแล้ว  ยังทำให้เห็นอีกว่า จินตนาการของคนนี่ไร้ขีดจำกัดจริง ๆ  ไอน์สไตน์พูดว่า “Imagination is more important than knowledge” นั้น ท่าจะจริงอยู่ แต่สำหรับในห้องสมุดอย่างหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์คงต้องอ้างคำพูดของ ไอน์สไตน์ประโยคนั้น ช่วยคิดหน่อยว่าเราจะเป็นทั้งหมดได้มั๊ย ที่มีทั้ง imagination และ knowledge  ให้สมกับที่จะเป็น creative library
คำกล่าวของไอน์สไตน์เต็มๆ คือ   “Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand.”


One thought on “ภาษาลู

  • น้องเต็มเคยถามคำถามนี้เดียวกันนี้ แต่หนูดั๊นไม่รู้ว่าเป็นของไอน์สไตน์ แต่การไม่รู้ทำให้มีอิสระในการตอบเพราะจะได้ไม่ต้องเกร็ง 555 ตอนนั้นตอบไปว่า…ยากนะที่จะตัดสินใจว่าอะไรสำคัญกว่าอะไร ทั้งสองอย่างต่างมีความสำคัญ บางเรื่องเรารู้ แต่เราก็ต้องเสริมจินตนาการเข้าไปเพื่อคิดต่อว่าถ้าอย่างนั้นล่ะ ทำอย่างไร อย่างนี้ล่ะทำได้ไหม ขณะเดียวกันหากเรามีจินตนาการแล้ว เราก็ต้องมาค้นคว้าหาคำตอบว่าสิ่งที่คิดจริงไหม ทำไม มีใครคิดเหมอืนเราหรือไม่ … ตอบไปประมาณนี้แหละ ไม่รู้รู้เรื่องหรือปล่าวเห้นแต่พยักหน้างักงึก …พอไม่กี่วันอ้าวนึกได้ …จึงกลับไปถามว่าทำไมจึงถาม เค้าบอกว่าคิดๆเลยถามแค่อยากรู้ ลูกคงได้จากการอ่าน
    สำหรับตัวเองแล้วสรุปคือการอ่านแล้วไปคิดต่อ ทำต่อจะเป็นสร้างประสบการณ์และเสริมจินตนาการ แล้วในทางกลับกันหากเราคิดอะไรได้ แล้วค้นคว้าต่อก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร