แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม

หลังจากได้ไปศึกษา ทัศนศึกษาตลาดน้ำลัดพลี จ.ราชบุรี มาหมาดๆ ก็ให้เกิดนึกถึงคำๆ นึงขึ้นมา ก็คือคำว่า แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม จึงไม่รอช้า รีบไปศึกษาหาความรู้โดยพลัน…
คำว่าแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมนั้น เราเราท่านท่านคงได้ยินกันมาบ่อยๆ ไม่มากก็น้อย และคงเข้าใจความหมายของมันตามชื่อที่บอกว่า แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ก็คงเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องของวัฒนธรรมนั่นเอง…จริงมั้ย
ในความเป็นจริงแล้วคำว่า แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ยังไม่มีการกำหนดคำนิยามไว้อย่างชัดเจนว่าคืออะไร แต่สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กำหนดความหมายไว้ว่า
หล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม หมายถึง แหล่ง หรือ ที่รวม ซึ่งอาจเป็นสถานที่หรือศูนย์รวม ที่ประกอบด้วยความรู้ สาระความรู้ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต วัฒนธรรม ซึ่งมีคุณค่าของคนในชุมชน เป็นความรู้ทางวัฒนธรรมที่มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยคนในชุมชน และมุ่งเน้นที่จะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้กับคนทั้งในและท้องถิ่นของตนเอง และคนในสังคมภายนอก ได้เข้าถึงชีวิตวัฒนธรรมของสังคมนั้น
แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมมีบทบาทหน้าที่ในหลายอย่างคือ 1) เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวทางวัฒนธรรม 2) เป็นสถานที่ให้ความรู้ในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยที่หลากหลาย 3) สร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 4) เป็นเวทีให้คนในชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างเรื่องราวประวัติศาสตร์และสังคมของตนเองขึ้น 5) จัดหาความร่วมมือ โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และชุมชนในท้องถิ่น เพื่อจัดทำองค์ความรู้ 6) มีสื่อที่ใช้ในการนำเสนออย่างหลากหลาย และ 7) บูรณาการกับองค์กรต่างๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการจัดการกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้
ที่เราพูดกันไปมาว่า แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเนี่ย จริงๆ แล้ว มันแยกประเภทด้วยนะ แยกเหมือนโรงเรียนเลย  มี 2 ประเภท อันแรกคือ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมหลวง เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการแหล่งเรียนรู้ที่เน้นสาระการเรียนเรียนรู้ในเรื่องศิลปวัฒนธรรมของชาติ อันที่สองคือ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมราษฎร์ เป็นแห่งเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เรื่องชีวิตวัฒนธรรม เกิดขึ้นมาจากความคิดริเริ่มของบุคคล หรือการรวมกลุ่มของชุมชนที่ต้องการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต วัฒนธรรมของตน และชุมชนท้องถิ่น
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามานี้ เป็นการกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งที่ไหนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ก็จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน มีตัวชี้วัด มีการประเมิน รวมถึงวัดระดับการประเมิน…ถ้าจะเล่าต่อไป คงจะพาเพื่อนพ้องน้องพี่ปวดหัวเป็นแน่แท้.. ข้าพเจ้าก็ต้องขอลาไปเพียงแค่นี้ เอาแค่เป็นน้ำจิ้มก็พอ.. 😆
อ้อ..ก่อนจะไป มีแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารจัดการ (อยู่ในภาคตะวันตกมาฝากงานศูนย์ข้อมูลด้วยนะ) ได้แก่……ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนอำเภอบ้านม่วง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับมอญ…
ถ้ามีโอกาสจะมาเล่าเรื่องศูนย์นี้ให้อ่านในภายหลัง…หมายถึงถ้ามีโอกาสไปเยี่ยมชม นะจะบอกให้…

One thought on “แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม

  • ขอบคุณสำหรับแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มีความสำเร็จด้านการบริหารจัดการนะคะ ที่พิษณุโลก บางแห่งดูจะรุ่งแต่ก็ไม่สำเร็จค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร