World Book Capital หรือ เมืองหนังสือโลก

เรื่องนี้จะว่าไปก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด คิดอีกทีบางคนอาจว่าไกลตัว แล้วแต่จะตัดสินใจกันค่ะ เรามาทำความรู้จักกับ World Book Capital หรือ เมืองหนังสือโลก กันดีกว่า
เมืองหนังสือโลก คืออะไร?
เริ่มจากตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 ยูเนสโกได้มอบรางวัลแห่งเกียรติยศ “เมืองหนังสือโลก” หรือ “World Book Capital” แก่เมืองที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเอกฉันท์จากคณะกรรมการ เพียงปีละหนึ่งเมือง ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมการอ่าน เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้วยหนังสือในระดับนานาชาติ ให้สอดคล้องกับการเฉลิมฉลองให้วันที่ 23 เมษายนของทุกปีเป็น “วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก” ( World Book and Copyright Day)
ด้วยเหตุผลที่ว่า หนังสือ คือ สิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆเพื่อมนุษยชาติ ยูเนสโกต้องการให้ทั่วทั้งโลกส่งเสริมให้เกิดการอ่าน การจัดพิมพ์หนังสือ และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาผ่านความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์
คุณสมบัติของสถานที่หรือเมืองที่จะได้เป็น “เมืองหนังสือโลก” คืออะไร?
1. เป็นเมืองที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังคมในทุกภาคของ ประเทศ ไปจนถึงความเกี่ยวข้องในระดับนานาชาติ รวมทั้งผลที่น่าจะได้รับจากแผนการส่งเสริมการอ่านทั่วทั้งสังคมของประเทศ นั้นๆ
2. เป็นเมืองที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วม มือจากหลายหน่วยงานวิชาชีพทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ อาทิ สมาคมนักเขียน สมาคมผู้จัดพิมพ์ สมาคมห้องสมุด สมาคมร้านขายหนังสือ เป็นต้น
3. เป็นเมืองที่มีโครงการสนับสนุนการพัฒนาหนังสือและการอ่าน
4. เป็นเมืองที่ส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องเสรีภาพการแสดงออกทางความคิด ผู้คนในสังคมสามารถจัดพิมพ์และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารได้โดยอิสระ
5. การให้ระบุถึงโครงการในปีที่จะประกวด ว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้างเพื่อให้เป็นเมืองหนังสือโลก ซึ่งเป็นการบีบให้เราคิดวางแผนในระยะยาว
ซึ่งกรุงเทพมหานคร เคยเสนอชื่อเข้าไปคัดเลือกเพื่อให้เป็นเมืองหนังสือโลกในปี2551 หรือ 2008 (เสนอไปตอนปี2549) ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการประชุมอาเซียนที่ประเทศพม่า ซึ่งมีมติว่าอาเซียนควรริเริ่มโครงการเมืองวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งให้ใช้รูปแบบเดียวกับ European capital of Culture ของสหภาพยุโรป หรืออียู
ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเสนอแนวคิดว่าต้องการให้ประเทศไทยเป็น “นครแห่งการอ่าน” (City of Reading หรือ City of Book) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับยูเนสโก ขณะเดียวกันจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการ อ่านของประชาชนในสังคมไทย เมื่อปี 2549 พบว่า พฤติกรรมการอ่านของคนไทย ใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 1.59 ชั่วโมง เปรียบเทียบแล้วคนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยคนละ 5 เล่ม/ปี ซึ่งเป็นสถิติที่น้อยมาก
ดังนั้นเพื่อให้คนไทยเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาการอ่าน จึงได้เสนอชื่อเข้าไป แต่ดูเหมือนว่าจะตกรอบ โดยเมืองหนังสือโลกปี 2551 หรือ 2008 ได้แก่ กรุงอัมเตอร์ดัม ,เนเธอร์แลนต์ (การประกาศจะประกาศล่วงหน้าล่วงหน้า 2 ปี) ซึ่งเมืองที่ได้รับการคัดเลือกแล้วอีก 6 เมืองมีดังนี้ ปี 2545 เมืองมาดริด-ประเทศสเปน, ปี 2546- เมืองนิวเดลี-ประเทศอินเดีย, ปี 2547-เมืองอันเวิร์บ-ประเทศเบลเยียม, ปี 2548-เมืองมอนทรีออล-ประเทศแคนาดา, ปี 2549 เมืองตูริน-ประเทศอิตาลี, ปี 2550 เมืองโบโกตา-ประเทศโคลัมเบีย
และปี2552 หรือ 2009 เมืองเบรุต ประเทศเลบานอล ได้รับเลือกให้เป็น เมืองหนังสือโลกปี 2009
นับเป็นประเทศที่ 9 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ ซึ่งโครงการเมืองหนังสือโลกจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนหนังสือและการอ่าน และคณะกรรมการผู้พิจารณากล่าวว่า เมืองเบรุตเน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรม การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด และความอดทนยอมรับความแตกต่าง เมืองนี้ประสบความท้าทายใหญ่หลวงในเรื่องความสงบและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ดังนั้นจุดยืนในการเปิดโอกาสในการแสดงความเห็นจึงจำเป็นในภูมิภาคนี้ ซึ่งหนังสือจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้
`ตามคำกล่าวอาหรับโบราณบอก ไว้ว่า “คนอียิปต์เขียนหนังสือ คนเลบานอนพิมพ์หนังสือ คนอิรักอ่านหนังสือ” ที่กล่าวเช่นนี้เพราะหากหนังสือตีพิมพ์ในเลบานอนไม่ได้แล้ว ก็ไม่น่าจะไปพิมพ์ในประเทศอาหรับอื่นๆ ได้ ชาวเลบานอนมีอัตราผู้รู้หนังสือสูงที่สุดในบรรดาประเทศอาหรับด้วยกัน คิดเป็นเกือบร้อยละ 90 และเบรุตเป็นศูนย์กลางการผลิตหนังสืออาหรับที่มีคุณภาพทุกประเภท นักเขียนเลบานอนที่บ้านเราน่าจะรู้จักเป็นอย่างดีคือ กวี คาลิล ยิบราน (1883-1931)
มีการแบนหนังสือในเลบานอนเช่นกัน แต่กฎหมายเซ็นเซอร์ในเลบานอนไม่ค่อยเข้มงวดนัก เอื้อให้เกิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หนังสือที่โจมตีศาสนาอิสลามและคริสเตียนตรงๆ จะถูกแบน เช่น รหัสลับดาวินชี่ ถูกแบนและเรียกเก็บคืนจากชั้นหนังสือ เนื่องจากชุมชนคาทอลิกประท้วงเนื้อหาในเรื่อง แต่ผู้เขียนก็ยังมีช่องทางที่จะออกหนังสือที่วิจารณ์สังคมหนักๆ ออกมาได้ เรื่องเซ็กส์ในเลบานอนไม่ได้เป็นเรื่องคอขาดบาดตายนัก นิตยสารเช่น เพลย์บอย และ เพนท์เฮาส์ สามารถตีพิมพ์ได้โดยถูกกฎหมาย (แต่ไม่มีนิตยสารเกี่ยวกับผู้หญิง เกย์ เลสเบี้ยน)
นักเขียนอาหรับหลายคนย้ายถิ่นฐานมาอยู่เลบานอน เพื่อหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ เช่น กวีชาวซีเรียนาม Adonis อพยพและเปลี่ยนสัญชาติเป็นชาวเลบานอน นิยายอื้อฉาวหลายเล่มปรากฏโฉมครั้งแรกในกรุงเบรุต เช่น นิยายของ นากิบ มาห์ฟูซ์ นักเขียนอียิปต์ที่ไม่พิมพ์หนังสือในประเทศตนเอง แต่พิมพ์ในเบรุต (ซึ่งต่อมา หนังสือของมาห์ฟูซ์ ถูกแบนในอียิปต์) ในเลบานอนมีหนังสือของฮิตเลอร์ วางขายในฉบับแปลที่ออกมาถึงสองสำนวน กรุงเบรุตจึงเป็นสถานที่สำคัญทางวรรณกรรมในการตีพิมพ์ของหนังสืออาหรับ
และล่าสุดเมื่อเช้าวันที่ 5 พฤษภา ดูรายการท่องทั่วทวีป ทางช่องทีวีไทย ช่างบังเอิญเสียจริงว่าเป็นการแนะนำการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน ทำให้ทราบบว่า เมืองนี้เค้าฟื้นตัวมาจากสงครามกลางได้สัก 10กว่าปีนี้เอง (สงครามกลางเมืองตั้งแต่ปี 1975-1990) สภาพบ้านเมืองของเค้าบางแห่งมีฉากหลังเป็นตึงร้างที่ผ่านการเป็นสมรภูมิรบในสงคราม ด้านหน้าเป็นสิ่งก่อสร้างหรือสถานที่ใหม่ที่สร้างใหม่ เป็นเมืองที่ชาวคริสเตียนอยู่ร่วมกับชาวอิสลาม เป็นเมืองแห่งระบำหน้าท้อง มีหมู่บ้านชาวประมงที่มีอายุมากว่า 5000 ปีก่อนคริสตกาล และมีซากฟอสซิลมากมาย มีถ้ำที่สวยงามที่มีหินงอกหินย้อยยาวกว่า 8 เมตร เป็นงัยค่ะเมืองเค้ามีของดีมากมายเลย แต่ตอนจบทางรายการเค้าบอกว่า หากจะไปท่องเที่ยวที่นี้ควรตรวจสอบความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งเสียก่อน
ข้อมูลจาก : http://ellebazi.exteen.com/20060627/world-book-capital
http://childmedia.net/node/297

One thought on “World Book Capital หรือ เมืองหนังสือโลก

  • เมื่อสองปีที่แล้วหอสมุดฯ เคยเสนอโครงการ นครปฐมเมืองแห่งการเรียนรู้ ลักษณะแบบบนี้เลย (ถ้ารู้ก่อนจะไปขอทุนยูเนสโก 5555) นำเสนอมหาวิทยาลัยเพื่อของบประมาณจากจังหวัดเพื่อสนับสนุนแต่ “แป๊ก” ค่ะ เพราะมีโครงการที่ดีกว่า… โครงการในลักษณะแบบสร้างสังคมอุดมปัญญากว่าจะผ่านแต่ละด่านยากเย็นแสนเข็ญ แต่ช่างเถอะ… เพราะเราก็จะทำงานตามความมุ่งมั่นของเรา เดี๋ยวอะไรมันก็จะมาเอง (พี่แมวสอนไว้)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร