วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

  วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

          เป็นวัดโบราณซึ่งมีแท่นหินขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่นี่ ในบริเวณวัดยังมีโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ เช่น บ่อบ้วนพระโอษฐ์ วิหารพระอานนท์ฯลฯ และ ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน เป็นต้น ลักษณะเด่นตั้งอยู่ในป่าดงทึบของรังไม้ที่เทือกเขา2หย่อมเรียกว่าพระแท่นดงรัง พบในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ประวัติ ตามตำนาน อันเป็นคติที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ภายนอกประเทศอินเดีย ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์หรือ ตรัสพยากรณ์เรื่องราวต่าง ๆ ไว้ในแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยากรณ์ที่อ้างว่า พระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์วัตถุไว้
       ในประเทศไทยมีตำนานเกี่ยวกับการประทับรอยพระพุทธบาท และการสร้างพระธาตุเจดีย์อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งพระแท่นและพระพุทธฉาย สำหรับพระแท่น ที่มีอยู่ในพงศาวดารคือ พระแท่นศิลาอาสน์ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่พระแท่นดงรัง ไม่ได้มีกล่าวไว้ในพงศาวดาร จึงสันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
       ความอัศจรรย์ของพระแท่นดงรังนั้นผิดกับเจดีย์วัตถุอื่น เนื่องจากมีผู้เชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระแท่นดงรังนี้จริง ๆ ซึ่งเท่ากับว่าเมืองไทยนี้เป็นมัชฌิมประเทศ อันเป็นสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
      วัดพระแท่นดงรัง หรือพระแท่นดงรัง สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เพราะได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธในประเทศลังกา เนื่องจากในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้นำพันธุ์พระศรีมหาโพธิมาจากเกาะลังกา และเกิดมีพระพุทธบาทขึ้นที่เมืองสระบุรีและพระแท่นดงรังในแขวงเมืองราชบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี) นับถือกันว่าเป็นบริโภคเจดีย์
      หลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือ จากนิราศพระแท่นดงรังของ สามเณรกลั่น ที่เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังพร้อมสุนทรภู่ เมื่อเดือนสี่ ปีมะเส็ง ปี พ.ศ. ๒๓๗๖ และจากนิราศของนายมี ซึ่งเดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อปีวอก นักษัตรอัฐศก พ.ศ ๒๓๗๘ ภายหลังสามเณรกลั่น ๓ ปี  
      จากนิราศทั้งสองนี้ทำให้ทราบว่ามีวัดพระแท่นดงรังและมีการสร้างวิหารคลุมพระแท่นอยู่ก่อนแล้ว จึงสันนิษฐานว่าพระแท่นนี้คงจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและอาจจะร้างไป เพราะอยู่ในช่วงสงครามกับพม่า ต่อมาจึงมีการบูรณะขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ หรือต้นรัชกาลที่ ๒   ข้อมูลจาก https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/1314

วิหารพระแท่น

หลวงพ่อพระแท่น

พระแท่นดงรัง

 มีลักษณะเป็นศิลาสูงข้างหนึ่ง ต่ำข้างหนึ่ง และยังมีส่วนที่สูงขึ้นไปอีกเหมือนเป็นหมอน

ก้อนพระโลหิต

ภายในวิหารได้มีการจัดนิทรรศการ “พระแท่นกลางดงรัง”

วิหารพระอานนท์

วิหารบดยา

พ่อปู่ฤาษีชีวกโกมารภัจจ์

หินบดยาโบราณ

บริเวณทางไปวิหารรอยพระพุทธบาทไม้ประดับมุก

ที่ประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาทจำลองไม้ประดับมุก” ในรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ 

หอพระธาตุ

“บ่อบ้วนพระโอษฐ์” ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารพระแท่นดงรัง 

 

น้ำตกเจ้ามัลละ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร