อ่านหนังสือวันละเล่ม "พระอภิธรรมปิฏก" เล่มที่ ๕ ยมก ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑ และอรรถกถา

7 November 2017
Posted by peekan

เหตุใดมนุษย์จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากมาย?
การสะสมไว้ซึ่งบุญ คือ ปัญญา
หนังสือพระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๕ ยมก ภาคที่ ๑ ตอนที่ ๑ และอรรถกถา การศึกษาพระธรรมคำสอน นอกจากจะได้สะสมบุญ และเกิดกุศลและ ยังได้ประโยชน์   หากคำบาลีที่ศึกษา เมื่ออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็อ่านเพื่อเอากุศล  หากเราได้ศึกษาพระธรรม คำสอน เรื่อง ยมะกะ เพื่อประโยชน์ ดังนี้
๑.  เพื่อเป็นเครื่องก้าวล่วงวิสัยของพระยายมเสียได้
๒. เพื่อเป็นเครื่องบรรลุพระนิพพาน
๓.  เพื่อเป็นเครื่องรู้ปรมัตถธรรมของเวไนยสัตว์
๔.  เพื่อเป็นเครื่องก้าวล่วงวิจิกิจฉาของเวไนยสัตว์
การอ่านหนังสือ ต้องอ่านหน้าคำนำ ก่อนจะได้ทำความเข้าใจ เนื้อหาในหนังสือ
พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฏก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จัดเป็นองค์ ๙ คือ
๑. สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่างๆ มีมงคลสูตรเป็นต้น
๒. เคยยะ คือพระสูตรที่ประกอบด้วยคาถาทั้งหมด
๓.  เวยยากรณะ  คือพระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ได้ชื่อว่า เวยยากรณะทั้งหมด
๔.  คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่ชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต
๕.  อุทาน คือพระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ
๖.  อิติวุตตกะ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริง ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
๗. ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มือปัณณกชาดกเป็นต้น  มีทั้งหมด  ๕๕๐ เรื่อง
๘. อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด
๙.  เวทัลละ  คือพระสูตรที่เทวดา และมนุษย์เป็นต้นถามแล้วได้ความรู้และความยินดีทั้งหมด มีจูฬเวทัลลสูตร เป็นต้น
พระพุทธวจนะเหล่านี้ โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว  เป็นสัจธรรมที่ทรงแสดงว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ยาก  รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบ  ปราณีต  ไม่อาจรู้ได้ด้วยการตรึก  ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้  เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าว จึงต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าใจทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะ  เพื่อให้สามารถหยั่งรู้ ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง  ในเรื่องนั้นๆ
เนื่องจาก พื้นเพของคนแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งทรงอุปมาไว้เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า  พระพุทธเจ้าจึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรมตามอาการสอนธรรมของพระองค์ ๓ ประการ คือ
๑.  ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น
๒.  ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓.  ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ
ในหนังสือเล่มนี้  บัญชีเรื่องประกอบด้วย มูลยมก ขันธยมก  อายตนยมก  ธาตุยมก  สัจจยมก   สังขารยมก   แต่ขอกล่าวเพียง มูลยมก และขันธยมก เพียง ๒ เท่านั้น
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
มูลยมกที่ ๑  อุทเทสวาระในกุสลบท
มูลนยะที่ ๑
๑.มูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็น กุศล มีอยู่ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่ากุศล มูล  ใช่ไหม?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด ชื่อว่ากุศลมูล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล  ใช่ไหม ?
๒.  เอกมูลยมกะ :- ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด มีมูล เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม่ ?
๓. อัญญมัญญมูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  ชื่อว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูลมีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล  ไช่ไหม ?
———————————————————————————————————————————-
มูลมูลนยะที่ ๒
๑. มูลยมกะ :- ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด ชื่อว่ามูลที่เป็นกุศลมูล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล ใช่ไหม ?
๒. เอกมูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด มีมูล ที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูลมีอยู่  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  เป็นกุศล ใช่ไหม ?
๓.  อัญญมัญญมูลกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  มีมูล ที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล ใช่ไหม่ ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด ชื่อว่ามูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล  มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล  ไช่ไหม ?
————————————————————————————————————————————–
มูลกนยะที่ ๓
๑. มูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลที่เป็นกุศล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่า ธรรมเหล่าใด มีมูลที่เป็นกุศล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล  ใช่ไหม ?
๒.  เอกมูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่า ธรรมเหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล ใช่ไหม ?
๓. อัญญมัญญมูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีมูล เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มี่มูลแก่กันและกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่า ธรรมเหล่าใด มีมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล มีอยู่  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล ใช่ไหม ?
————————————————————————————————————————————-
มูลมูลกนยะที่ ๔
๑. มูลยมกะ :- ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มี่มูลที่เป็นกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่า ธรรมเหล่าใด มีมูลที่เป็นกุศลมูล มีอยู่ ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล ใช่ไหม ?
๒.  เอกมูลยมกะ :-  ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่เป็นกุศล มีอยู่,  ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล  ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูลมีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศล ใช่ไหม ?
๓. อัญญมัญญมูลยมกะ :- ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล ใช่ไหม ?
ก็หรือว่าธรรมเหล่าใด  มีมูลที่เรียกว่าเป็นมูลแก่กันและกันกับกุศลมูล  มีอยู่, ธรรมเหล่านั้น เป็นกุศล ใช่ไหม ?
กุสลบท   จบ
—————————————————————————————————————————————
ขันธยมกที่ ๒
ขันธยมก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ในลำดับต่อจาก มูลยมก เพราะทรงรวบรวมซึ่งธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น อันพระองค์ทรงแสดงแล้วในมูลยมก ด้วยอำนาจแห่งขันธ์
ในขันธยมก มี มหาวาระ ๓ คือ
๑. ปัณณัติวาระ
๒.  ปวัตติวาระ
๓.  ปริญญาวาระ
ปัณณัตติวาระ เป็นวาระ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยการจำแนกชื่อของขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น เป็นวาระที่ทรงแสดงเพื่อจะได้รู้ถึงปริยัติญาณ
ปวัตติวาระ เป็นวาระที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงความเป็นไปของขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น โดยความเกิดดับ (อุปปาทะ  นิโรธะ) เป็นวาระที่ทรงแสดงเพื่อจะได้รู้ถึงวิปัสสนาญาณ
ปริญญาวาระ เป็นวาระที่พระพระพุทธองค์แสดงถึงการกำหนดรู้ขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น โดยปริญญาสาม คือ ๑. ญาตปริญญา ๒. ตีรณปริญญา ๓. ปหานปริญญา เป็นวาระที่ทรงแสดงเพื่อจะให้รู้ถึงมัคคญาณ
ปัณณัติวาระนิทเทศ มี วาระ ๔ อย่าง คือ ๑. ปทโสธนวาระ ๒.  ปทโสธนวาระ ๓.สุทธขันธวาระ  ๔.  สุทธขันธมูลจักกวาระ
อธิบาย ได้ดังนี้
๑.  ปทโสธนวาระ เป็นวาระที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยการชำระบทแห่งขันธ์ ๕ เป็นต้น
๒. ปทโสธนมูลจักกวาระ เป็นวาระที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยการชำระบทแห่งขันธ์ ๕ แล้วหมุนไปโดยความเป็น มูละ มูลี
๓.  สุทธขันธวาระ เป็นวาระที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแยกขันธ์ ๕ ออกเป็นบทๆ แล้วทรงแสดงโดยเฉพาะไม่ปะปนกับขันธ์อื่นๆ
๔.  สุทธขันธมูลักกวาะ เป็นวาระที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแยกขันธ์ ๕ ออกเป็นบทหนึ่งๆ ไว้โดยเฉพาะ แล้วก็ทรงยกเอาขันธ์อื่นๆ มาจำแนกหมุนไปโดยความเป็น มูละ มูลี
อรรถกถาขันธยมก
อรรถกถาปวัตติวาระ
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มปวัตติวาระ โดยนัยเป็นต้นว่า
ยสฺส  รูปกฺขนฺโธ ถามว่า เพราะเหตุใดพระองค์จึงไม่ตรัสอุทเทสวาระไว้ในปวัตติวาระนี้
ตอบว่า  เพราะเป็นนัยที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง ก็นัยอุเทสวาระพระองค์ทรงแสดงไว้แล้วในปัณณัตติวาระ ก็โดยนัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงตรัสอุทเทสวาระนั้น
ก็อันตรวาระ ๓ วาระที่ ๑ เรียกว่า อุปาทวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลาย
วาระที่ ๒ เรียกว่า นิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแห่งการดับของธรรมทั้งหลายเหล่านี้นั้นนั่นแหละ
วาระที่ ๓ เรียกว่า อุปาทนิโรธวาระ เพราะแสดงลักษณะแม้ทั้งสอง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาการแห่งการเกิดขึ้นของธรรมทั้งหลายในปวัตติวาระนี้ด้วยอุปาทวาระ ทรงแสดงความไม่เที่ยงของธรมทั้งหลายด้วยนิโรธะวาระว่า “ชื่อว่าการเกิดขึ้น แล้ว ชื่อว่า  เที่ยงย่อมไม่มี”
ในอุปาทวาระ มีกาล ๖ อย่าง ด้วยอำนาจ อัทธา ๓  คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต ปัจจุบันกับอดีต ปัจจุบันกับอนาคค อดีตกับอนาคต
ในกาลเหล่านี้  คำว่า ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชนฺติ รูปขันธ์กำลังเกิด (ย่อมเกิด) แก่บุคคลใด พึงทราบว่าเป็น  ปัจจุบัน
อดีตกาล พึงทราบด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นอดีต ยสฺส รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ = รูปขันธ์เคยเกิด (เกิดแล้ว) แก่บุคคลใด ก๋อดีตกาลนั้นท่านกล่าวไว้เป็นที่สอง เพราะอดีตธรรมที่เคยเกิดขึ้นแล้วในภายหลัง เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้งโดยประจักษ์
อนาคตกาล ด้วยอำนาจแห่งชื่อ ที่เป็นอนาคตว่า  ยสฺส  รูปกฺขนฺโธ  อุปฺปชฺชิสฺสติ = รูปขันธ์ จักเกิดแก่บุคคลใดอนาคตกาลกล่าวไว้เป็นที่ ๓ เพราะถือเอาว่า ธรรมทั้งหลายมีอย่างนี้
คำถามว่า  ยสฺส รูปกฺขนฺโธ  อุปฺปชฺชติ ตสฺส  เวทนากขนฺโธ อุปฺปชฺชิตฺถ พึงทราบว่า เป็นปัจจุบันกับอดีต ด้วยอำนาจชื่อที่เป็นปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอดีต ปัจจุบันกับอดีต  (ปัจจุปันนาตีตวาระ)  นั้นกล่าวไว้เป็นที่ ๔
พึงทราบปัจจุบันกับอนาคต ด้วยอำนาจของชื่อที่เป็นปัจจุบันกับชื่อที่เป็นอนาคต ยสฺส  รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ตสฺส เวทนากฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ ปัจจุบันกับอนาคตนั้น กล่าวไว้เป็นที่ ๕  เพราะว่าปัจจุบันกับอนาคตนั้น เป็นกาลที่บุคคลพึงรู้ได้ง่ายกว่า
พึงทราบอดีตกับอนาคต  ด้วยชื่อที่เป็นอนาคตกับด้วยอดีตว่า  ยสฺส  รูปกฺขนฺโธ อุปฺปชฺชติ  ตสฺส  เวทนาขนฺโธ  อุปฺปชฺชิสฺสติ อดีตกับอนาคตนั้น พึงรู้ได้ยากกว่ากาลทั้งหลายก่อนๆ  เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับที่ ๖  ในกาลทั้ง ๖ นั้น ปัจจุบันกาลอันเป็นกาลที่ ๑ มี  ๓ วาระ คือ โดยบุคคล โดยโอกาส โดยบุคคลและโอกาส  (ปุคลวาระ, โอกาสวาระ, และปุคคลโอกาสวาระ)
สรุป
ที่เรียกว่า ยมกะ  เพราะอรรถว่ากระไร ?
แก้ว่า ด้วยอรรถว่าเป็นคู่กัน จริงดังนั้น  สิ่งที่เป็นคู่กันท่านจึงเรียกว่า  “ยมกะ” อธิบายว่า สิ่งที่เป็นคู่กันนั้น คือ

  •  อนุโลม คู่กับ ปฏิโลม
  •  ปุจฉา  คู่กับ วิสัชนา
  •  สันนิฏฐานบท  คู่กับ  สังสยบท

ในยมกปกรณ์ มียมกะ ๑๐ อย่าง คือ ๑. มูลยมกะ ๒. ขันธยมกะ ๓. อายตนะยมกะ ๔. ธาตุยมกะ  ๕. สัจจยมกะ  ๖. สังขารยมกะ  ๗.  อนุสสยยมกะ ๘.  จิตตยมกะ  ๙. ธัมมยมกะ  ๑๐. อินทริยยมกะ
ในมูลยมกะ พระพุทธองค์ แบ่งออกเป็น ๔ บท คือ  ๑. กุสลบท  ๒. อกุสลบท  ๓. อพยากตบท  ๔. นามบท
แต่ละบทมีบทละ ๔ นัย  คือ ๑. มูลนัย  ๒. มูลมูลนัย ๓. มูลกนัย  ๔. มูลมูลกนัย
แต่ละนัย  มีนัยละ  ๓ ยมกะ คือ ๑. มูลยมกะ  ๒. เอกมูลยมกะ ๓.อัญญมัญญมูลยมกะ
ผู้ที่สนใจศึกษา คำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถศึกษา และอ่านได้จากหนังสือ พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๕ ยมก  ภาคที่ ๑  ตอนที่ ๑ และอรรถกถา
Call no. BQ1163ท9อ46ล.5ภ.1ต.1
ชั้น ๓ อาคารหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
 
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร