การให้ยืมหนังสือ…แบบกรณีพิเศษ

เนื่องจากดิฉันได้ปฏิบัติงานล่วงเวลาหน้าที่เคาน์เตอร์ยืมคืน ในวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2558 กับคุณรุ่งทิวา ฝ่ายดี มีนักศึกษาปริญญาเอกมาเข้าใช้ห้องสมุด ซึ่งมาสอบถามเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ว่าต้องการยืมหนังสือแต่ไม่ได้นำบัตรประจำตัวนักศึกษามา  เจ้าหน้าที่ได้ตอบไปว่า ในกรณีที่ผู้ใช้บริการต้องการยืมหนังสือต้องแสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาด้วยทุกครั้งในการยืมหนังสือ ผู้ใช้บริการแจ้งว่าใช้บัตรประชาชนแล้วแจ้งรหัสได้ไหม? เจ้าหน้าที่จึงต้องอธิบายระเบียบของห้องสมุดเมื่อผู้ใช้เข้าห้องสมุดทุกครั้งต้องแสดงบัตรต่อเจ้าหน้าที่ ทั้งในส่วนที่เป็นเคาน์เตอร์ทางเข้า หรือเคาน์เตอร์ยืมคืนหนังสือ นักศึกษาดังกล่าวแจ้งเหตุผลว่าลืมนำบัตรมา ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการแต่ละคนจะมีเหตุผลมีความจำเป็นต้องการใช้หนังสือมาก, บ้านอยู่ไกล, ไม่สะดวกเดินทางมา หรือมาเรียนสัปดาห์ละครั้งหรือมีเหตุผลอื่น ๆ ส่วนใหญ่ทางห้องสมุดมิได้ปฏิเสธความต้องการของผู้ใช้บริการ
จากการสอบถามหัวหน้างานบริการสารนิเทศ ว่า ผู้ใช้บริการจะสามารถยืมหนังสือแบบกรณีพิเศษได้อย่างไรบ้าง จึงได้ทราบระเบียบ วิธีการ ดังนี้
1. ประเภทของสิ่งพิมพ์   สิ่งพิมพ์ที่อยู่ในขอบเขตของการยืมกรณีพิเศษ ได้แก่ หนังสืออ้างอิง  หนังสือหายาก ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์
2. ขอบเขตของการให้ยืม  สิ่งพิมพ์ที่เสี่ยงต่อการชำรุด สูญหาย หาทดแทนได้ยาก เช่น หนังสือหายาก, ดุษฎีนิพนธ์,  วิทยานิพนธ์ที่มีฉบับเดียว  จะให้ยืมใช้ภายในหอสมุดฯ เท่านั้น  ในส่วนสิ่งพิมพ์ที่อยู๋ในชั้นปิด ควรขอบัตรประจำตัวของผู้ใช้บริการแนบไว้กับแบบฟอร์มการขอยืมใช้ด้วย  ส่วนหนังสืออ้างอิงให้ผู้มีอำนาจพิจารณาเป็นผู้พิจารณาว่า ควรให้ยืมออกจากห้องสมุดได้ระยะเวลากี่วัน (ซึ่งควรจะเป็นไปตามความจำเป็นเท่านั้น)
3. ให้ผู้ใช้บริการกรอกแบบฟอร์มการยืมสิ่งพิมพ์กรณีพิเศษใช้ภายใน/ภายนอกหอสมุด กำหนดวันกำหนดส่ง (ตามความจำเป็น)  ขอบัตรประจำตัวผู้ใช้บริการไว้ (ถ้าจำเป็น เช่น ต้องให้ผู้ใช้บริการนำตัวเล่มมาส่งคืนภายในวันนั้น)
ในกรณีที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการยืมสิ่งพิมพ์ที่ระบุว่าให้ใช้ในห้องสมุดเท่านั้น (Lib use only)  ผู้ให้บริการควรแจ้งผู้ใช้บริการด้วยว่า เป็นการให้ยืมกรณีพิเศษ มีค่าปรับมากหากส่งคืนเกินกำหนด  และย้ำให้ผู้ใช้บริการนำสิ่งพิมพ์และแบบฟอร์มที่ผู้พิจารณาลงชื่อรับรองแล้ว ไปให้เคาน์เตอร์ยืม คืน ดำเนินการยืมออกให้ก่อนด้วย
 
 

2 thoughts on “การให้ยืมหนังสือ…แบบกรณีพิเศษ

  • การให้ยืมกรณีพิเศษ เป็นเรื่องที่คนให้ยืมพิจารณาเหตุผลของผู้มาขอ แล้วเข้าใจสภาพและความจำเป็น เป็นเรื่องของเหตุผล หากอนุญาตต้องมีการแจ้งผู้ใช้อย่างเต็มพิกัด เน้นย้ำ ขอคำสัญญา ตลอดจนต้องถามคนที่ให้บริการก่อนหน้าว่าตอบไปอย่างไร เพราะจะได้สานต่อและอธิบายให้ต่อเนื่องกันได้ และใช้ความพยายามขจัดคำว่า “ใจดี”กับ”ใจร้าย” ให้น้อยที่สุด

  • เมื่อผู้ใช้ยกเหตุผลทั้งหลายมาอ้าง สิ่งที่หอสมุดฯ ต้องทำเป็นส่วนมากคืออนุญาต โดยขอดูบัตรประชาชน ตรวจสอบข้อมูลในระบบ เมื่อพบว่าถูกต้องให้เขียนแบบฟอร์มคำร้องทั่วไปไว้ และเพื่อให้ผู้ใช้เห็นว่านี่คือการอนุญาตเป็น “กรณีพิเศษ” จริง ๆ อาจบอกว่ารอสักครู่นะคะขอให้หัวหน้าฝ่าย / หัวหน้าเวร เซ็นอนุญาตก่อน เพื่อเป็นการเน้นย้ำดังความเห็นที่ื 1 ซึ่งโดยปฏิบัติอาจนำมาให้หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้าเวรเซ็นทราบภายหลังก็ได้
    อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง (ผศ.ดร.นรงค์ ฉิมพาลี กล่าวว่าอะไรที่ไม่เหลือบ่ากว่าแรงให้บริการได้ให้ไปเถอะ ให้ดีกว่าไม่ให้)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร