การพัฒนาทักษะการสืบค้นอย่างมืออาชีพ

จากการไปอบรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการสืบค้นอย่างมืออาชีพ วิทยากรโดย คุณ จิรวัฒน์ พรหมพร ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารสำนักงานสภาคริสตจักรในประเทศไทย กรุงเทพฯ   การอบรมครั้งนี้เป็นการฟังบรรยายและให้ฝึกปฏิบัติ การสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ / ฐานข้อมูล/ วิพากย์ผลการสืบค้น พร้อมมีตัวอย่างโจทย์คำถามจากผู้ใช้ และบรรยายในหัวข้อ
ปัญหาของการสืบค้นสารสนเทศ เช่น
1. แหล่งข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการสืบค้น
– แหล่งข้อมูลมีจำกัด
– แหล่งข้อมูลมีมากจนเลือกไม่ถูก
– ประเภทของแหล่งข้อมูล
2.  ทักษะหรือความชำนาญในการสืบค้น
– การเลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมกับเนื้อหา
– วิธีการค้น
– การกรองผลการค้น
– การวิเคราะห์ผลการค้น
– การจัดการผลการค้น เช่น การอ้างอิง การสั่งพิมพ์ การบันทึกเป็นไฟล์
3. ข้อกำจัดด้านพื้นฐานความรู้ในสาขาที่สืบค้น
– ขาดความรู้ในสาขาที่สืบค้น เช่น คำศัพท์ เฉพาะสาขา
4. ข้อกำจัดด้านภาษา
– คำค้นด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ
5. คำค้น หรือคีย์เวริด์
– เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ตรงกับเรื่องที่จะสืบค้นมากที่สุด เช่นการใช้คำพ้องความหมาย
(synonym)
6. พื้นฐานความรู้ทางเทคโนโลยี
– ความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ เช่น Web Browser ที่ใช้สืบค้น ระบบปฏิบัติการ
(Operating    system)
– การใช้กับ Smartphone
คุณสมบัติทีดีสำหรับนักสืบค้นสารสนเทศ

  1. ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ จากการอ่าน ฟัง หรือ ถาม
  2. เป็นผู้ฟังที่ดี

             – เพื่อเรียนรู้วิธีการพูดจากผู้อื่น (จาก ภาษา ความรู้ เทคนิคต่างๆ) และเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานความรู้ในด้านต่างๆของตนเอง

  1. ศึกษาจากความต้องการของผู้เข้ารับการบริการ

– เป้าหมายของผู้รับบริการ เช่น นำไปทำรายงาน ทำวิทยานิพนธ์ หรือทำวิจัย หรือทำบทความ
เพื่อตีพิมพ์ เป็นต้น
– สาขาวิชาที่ผู้เข้ารับบริการสนใจ เช่น นักวิจัยด้านพืชสวน หรือ นักวิจัยด้านอาหาร
สัตวแพทย์ หรือ นักวิจัยประมง เป็นต้น
– ประเภทของข้อมูลที่ผู้ใช้บริการต้องการ  เช่น วารสาร หนังสือ
– ข้อมูลประเภทใดที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเป็นพิเศษ  เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์
– ต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม  หรือการใช้งานต่างๆ ของฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นพิเศษหรือไม่ เช่น การสั่งพิมพ์ การบันทึกข้อมูล การนำข้อมูลบรรณานุกรมออกไปยังโปรแกรม EndNote และการตั้งค่าการแจ้งเตือนต่างๆ (set up an alert)

  1. เรียนรู้จากปัญหาที่พบบ่อย

– เก็บรวบรวมรายการปัญหาที่พบบ่อยและวิธีการแก้ไข (FAQ)

  1. เรียนรู้แหล่งข้อมูล

– การแบ่งประเภทของแหล่งข้อมูล หรือฐานข้อมูล
– เก็บรวบรวมรายชื่อ และเว็บไซต์ ของแหล่งข้อมูล หรือฐานข้อมูลที่สำคัญ
– สามารถบอกถึงข้อเหมือน หรือแตกต่าง จุดดี จุดด้อย ของแหล่งข้อมูลหรือฐานข้อมูล
เทคนิคการสืบค้นสารนิเทศ

  1. การสืบค้น (Searching)

             1.1 การเตรียมคีย์เวิร์ด (Preparing your keywords)
                    – ควรจะเป็นคำนาม (Noun)
                   – คำพ้องความหมาย คำเหมือน คำคล้าย (Synonym) เช่น  hypertension กับ
                        blood pressure หรือ woman, female, lady, girl เป็นต้น 
ตัวอย่างการเตรียมคีย์เวิร์ด  เพื่อคัดเลือกวรรณกรรมที่เป็นงานวิจัยหลายประเภท เรื่องที่ต้องการสืบค้น
ชื่อเรื่องงานที่ต้องการสืบค้น :  การบำบัดหรือจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
                 – อาการปวดแบบเฉียบพลัน   และ/หรือ  acute pain
                – อาการปวดแบบเรื้อรัง  และ/หรือ  chronic pain
                – หลัง  และ/หรือ   Back
                – หลังส่วนล่าง   และ/หรือ  low back
                 – การจัดการ    และ/หรือ   Management
                  1.2 การใช้เครื่องหมายช่วยในการสืบค้น (Wildcards)
                   * ละตัวอักษรตั้งแต่ 0 ตัวอักษรเป็นต้นไป
                             ตัวอย่างเช่น manag*   จะค้นหาทั้ง  manage, manages,  manager,  management
                  ? แทนที่ตัวอักษร ที่ต้องการละไว้ 
                            ตัวอย่าง เช่น  Wom?n จะค้นหา woman, women   หรือ   fib??    จะค้นหา  fiber  และ fibre
                    “…” ค้นตรงตามตัวที่พิมพ์
                            ตัวอย่าง เช่น  “lung cancer” “stingless bee” “hard of hearing” เป็นต้น  จะค้น เรื่องที่มีคำว่า lung cancer ติดกันเท่านั้น 
                    (…) จัดลำดับการสืบค้นก่อนหลัง
                         ตัวอย่าง เช่น     Rabies AND (dog OR cat) จะค้นที่มีคำว่า dog หรือ cat หรือ ทั้ง dog และ cat ก่อน แล้วจึงนำผลที่ได้ ไปหาบทความที่มีคำว่า rabies
               1.3  การสร้างเงื่อนไขเพื่อการสืบค้นโดยใช้ตัวเชื่อมแบบตรรกบูลีน (Boolean  Operators)
                       – AND    ค้นหาทุกคำ
                               ตัวอย่าง insulin AND diabetes  ผลการสืบค้น ทั้ง insulin และ diabetes ต้องพบอยู่ในบทความเดียวกัน
                      – OR     ค้นหาอย่างน้อยหนึ่งคำ
                             ตัวอย่าง heart OR cardiac  ผลการสืบค้น Heart และ cardiac คำใดคำหนึ่งต้องปรากฏอยู่ในบทความ
                      – NOT   ไม่ต้องค้นคำที่อยู่หลัง NOT
                          ตัวอย่าง Rabies NOT dogs  ผลการสืบค้น  จะหาบทความที่มีคำว่า Rabies แต่ไม่มีคำว่า dogs
                     – NEAR  เป็นการใช้ตัวเชื่อมเพื่อกำหนดคำให้อยู่ใกล้กันภายในจำนวนคำที่กำหนด  ทั้งนี้การใช้ตัวช่วย NEAR
ใช้ได้กับบางฐานข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น
                               – NEAR/n การตั้งค่าให้คำอยู่ใกล้กันภายในจำนวนคำที่กำหนด (n)
                              – NEAR3/5 phrase กำหนดให้อยู่ภายในกลุ่มคำหรือวลีเดียวกัน  ตัวอย่าง drying NEAR3/5 vegetable ผลการสืบค้นที่พบ คือ คำว่า drying อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับคำว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 3 คำ โดยที่ลำดับของคำจะปรากฏคำใดก่อนก็ได้
                              – NEAR/15 same paragraph   กำหนดให้อยู่ภายในประโยคเดียวกัน  ตัวอย่าง drying NEAR/15 vegetable ผลการสืบค้นที่พบ คือ คำว่า drying อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับคำว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 15 คำ หรือประมาณการว่าทั้งสองคำต้องปรากฏภายในประโยคเดียวกัน โดยที่ลำดับของคำจะปรากฏคำใดก่อนก็ได้
                              – NEAR/50 same paragraph กำหนดให้อยู่ภายในย่อหน้าเดียวกัน   ตัวอย่าง drying NEAR/50 vegetable ผลการสืบค้นที่พบ คือ คำว่า drying อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับคำว่า vegetable ภายในหรือไม่เกิน 50 คำ หรือประมาณการว่าทั้งสองคำต้องปรากฏภายในย่อหน้าเดียวกัน โดยที่ลำดับของคำจะปรากฏคำใดก่อนก็ได้
                1.4 วิธีการสืบค้น (Search Methods)
                               – Basic search ค้นทุกเขตข้อมูล ผลลัพธ์การสืบค้นจะมีปริมาณมากและกว้าง
                               – Advanced search เลือกกำหนดเขตข้อมูลได้ สร้างเงื่อนไขที่ซับซ้อนได้ดี ปริมาณผลการสืบค้นไม่มากและแคบกว่า basic search
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับบรรณารักษ์ยุคดิจิตอล
            ฐานข้อมูล (Database) หมายถึงแหล่งที่บันทึกข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ไว้ในสื่อที่คอมพิวเตอร์อ่านได้โดยมีโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เป็นเครื่องมือช่วยจัดข้อมูลให้ถูกต้องตามระบบ สะดวก และรวดเร็วในการค้นคืนสารสนเทศ เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยปฏิบัติงานต่าง ๆ
ประโยชน์ของฐานข้อมูล

  1. จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมหาศาล
  2. ประหยัดเวลาในการสืบค้น
  3. มีการปรับปรุงข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ (Update)
  4. การเผยแพร่สารสนเทศได้กว้างขวาง

ประเภทของฐานข้อมูล

  1. แบ่งตามรูปแบบของข้อมูล

             1.1 ฐานข้อมูล  Full Text หมายถึงฐานข้อมูลที่ประกอบด้วยรายการทางบรรณานุกรมสาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม เช่น ProQuest Dissertation & Theses Full Text,  ACM Digital Library, Springer Link  เป็นต้น
             1.2  ฐานข้อมูลบรรณานุกรม หมายถึง ฐานข้อมูลที่ประกอบด้วยรายการทางบรรณานุกรม  อาจจะให้สาระสังเขปในบางรายการ เช่น ProQuest Dissertation & Theses  A & CAB Abstract,  Web of Science, Scopus เป็นต้น

  1. แบ่งตามสาขาวิชา

               2.1 สหสาขา เช่น  Springer Link, ProQuest Dissertation & Theses Full Text,  Wiley,  Blackwell, Web of Science 
              2.2 กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   เช่น ACM, ACS, IEL, API, APS, ASCE, ASME, Nature, Springer Link เป็นต้น
              2.3. กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เช่น ProQuest ABI/Inforn, Wiley,  Blackwell, Emerald, ERIC เป็นต้น

  1. แบ่งตามประเภทสิ่งพิมพ์

                3.1  วารสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีกำหนดระยะเวลาออกที่แน่นอน เข้าถึงได้โดยไม่จำกัดระยะทาง เวลา และสถานที่
                3.2  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
              3.3  Aggregated Publication
กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศเล็กทรอนิกส์

  1. แจงปัญหา หรือ โจทย์ หรือหัวข้องานวิจัย หรือหัวข้อที่จะทำการสืบค้น
  2. การวิเคราะห์ปัญหาหรือโจทย์
  3. คัดแยก Keyword ออกจากโจทย์
  4. การแปลง Keyword เป็นภาษาที่ใช้ในการสืบค้น
  5. เทคนิคและวิธีการสืบค้น
  6. สร้างรูปแบบและวิธีการในการสืบค้น
  7. การวิเคราะห์ผลลัพธ์การสืบค้น
  8. รูปแบบการจัดเรียงผลลัพธ์
  9. เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมกับโจทย์

ทักษะที่บรรณารักษ์ในยุคดิจิตอลพึงมี

  1. มีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ

       2. ทักษะด้านบริหารจัดการ  ในการบริหารจัดการทรัพยากรของห้องสมุด เช่น มีการจัดหาคัดเลือกสิ่งพิมพ์ที่เหมะสมต่อการใช้งาน

  1. ทักษะด้านการตลาด  ทำอย่างไรให้ผู้ใช้บริการกลับมาใช้ห้องสมุด และมีการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า  และประชาสัมพันธ์ทรัพยากรที่ห้องสมุดจัดหา

4. ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ 

One thought on “การพัฒนาทักษะการสืบค้นอย่างมืออาชีพ

  • ขอขอบคุณพี่พัช ที่ช่วยปรับภาษาทำให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร