การจดบันทึก

คิดถึงเรื่องนี้เนื่องจากระหว่าง “ฟัง” เห็นคนรอบๆ ตัว “จด” เลยเหลือบตาซ้ายขวา น้องเอ๋ จดด้วยลายมือสวยงาม คุณใหญ่จดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย คุณอ้อเขียนหัวข้อไว้จากนั้นเป็นหน้าว่างๆ ฟังสักพักจึงค่อนจด  ส่วนของดิฉันนั้นโยงไปโยงมา และกลมๆ
ผู้สังเกตุว่าดิฉันชอบอะไรที่ “กลม”  คือลูกสาว ลูกเคยถามว่าแม้รู้ตัวไหมว่าชอบอะไรกลมๆ แล้วยกตัวอย่าง ….จริงแฮะ เปิดตู้เสื้อผ้ามา จุดๆ เพียบ เลยพยายามหลีกเลี่ยง เพราะเค้าบอกว่าทำอะไรซ้ำๆ กันไม่ดี ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
my note
ทางจิตวิทยาบอกว่า
Squiggle = A Squiggle is off-the-wall and creative. S/he feels best doing new and different things most of the time and gets bored with regularity. When given a task s/he will come up with bright ideas about it.
Circle  = A Circle is social and communicative. No hard edges. S/he handles things by talking about them and smoothing things out with everybody. Communication is the first priority, and making sure there is harmony. When given a task s/he will talk about it.
ข้อมูลจากที่นี่ค่ะ  http://www.gagirl.com/quiz/symbol-personality-quiz.html
ทางจิตวิทยามีเรื่องราวแบบนี้มากมายค่ะ จริงไม่จริงก้อรู้ไว้ใช่ว่า เผื่อมีใครถามจะได้ตอบได้
เรื่องราวของการจดบันทึกเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ทีเดียวเชียว ดิฉันได้ไปค้นคว้ามาแล้วบอกว่ามีถึง 5 แบบคือ 1) The Cornell Method 2) The Outlining Method 3) The Mapping Method 4) The Charting Method และ 5) The Sentence Method  ทั้งหมดสรุปความมาจาก http://sas.calpoly.edu/asc/ssl/notetakingsystems.html หลังจากอ่านแล้วทบทวนตัวเองแล้วมีความเห็นว่าของเราใช้ทุกอย่างเลยแฮะ
เนื่องจากการจดบันทึกแบบคอร์แนล ดังระเบิดเถิดเทิงมากมีหลายบล๊อกที่เขียนถึง  หากไม่เชื่อลองใส่คำค้นว่า “การจดบันทึกแบบคอร์แนล ลงในกูเกิ้ล” ก้อจะเห็นด้วยตาถึงความฮอตฮิต
The Cornell note-taking system สร้างสรรค์โดย ดร.Waiter Pauk ศาสตราจารย์ด้สนการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์แนล เมื่อปี คศ.1950 ตามไปรายละเอียดได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Cornell_Notes
ไปค้นด้วยชื่อผู้แต่งพบว่าในรายการบรรณานุกรมหนังสือของเรามีสองเล่ม พอไปค้นใน one search มีถึง 142 รายการ  พอไปค้น keyword พบงานวิจัยเรื่องนี้  The Impact of the Cornell Note-Taking Method on Students’ Performance in a High School Family and Consumer Sciences Class งานวิจัยของไทยก็มีนะคะเรื่อง การพัฒนาทักษะการเรียนโดยใช้รูปแบบการจดบันทึกคอร์เนลล์
ในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ  หรือว่าน่าจทำวิจัยกับพวกเราดีหว่า… หน้าตาของบันทึกเป็นแบบนี้คือ
cornellทั้งนี้แบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกขวามือที่เป็นพื้นที่ใหญ่ๆ เรียกว่า Notetaking  Column เอาไว้จดและจดเรื่องราวที่กำลังฟังพอ พอเริ่มใหม่ก็ให้เว้นบรรทัดซะหน่อยพองามให้ทราบว่าเรื่องใหม่แล้วนะจ๊ะ แล้วจะได้อ่านง่ายๆ ด้วย มีวิธีการที่ที่เรียกว่า the 5 R’s of note-taking คือ Record, Reduce, Review, Reflect และ Recite
ส่วนที่สองคือซ้ายมือ เรียกว่า Cue Column หมายถึงคำแนะนำ ใช้วิธีใส่ keyword หรือคำถามที่เราสงสัยในเรื่องที่เรากำลังฟัง เพียงแค่อ่านก็รู้เลยว่าคืออะไรโดยไม่ต้องไปอ่านส่วนที่ 1 ทั้งหมด และส่วนที่สามคือ Summary ส่วนนี้ไว้เขียนในอนาคต เมื่อเรานึกถึงเกิดรู้อะไรใหม่ๆ ก็ให้นำมาเขียนเพิ่มเติม และให้เขียนได้ต่อเมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง เมื่อเราไปพบเจออะไร/กลับมาทบทวนแล้วได้/มีความคิดเห็นอะไรก็ให้ใส่ไปในส่วนที่สาม
ส่วนท่านใดอยากนำไปใช้ เชิญที่นี่ค่ะ  http://static.timeatlas.com/tutorials/CornellNotesTemplate.pdf
เมื่อนำไปใช้จริงตามประสบการณ์ที่ฝึกฝนจากการอ่านคือ การมีสติที่จะจดจ่อกับเรื่องที่เราฟัง เช่น เมื่อฟังสัมมนาวิทยากรจะพูดไปเรื่อยๆ บางทีไม่ไปตามหัวข้อ หรือฟังจนหัวเราะท้องแข็ง หรือฟังแล้วง่วง แต่หน้าที่ของเราคือฟังและติดตามเนื้อหาพอได้ก็จดบันทึก ไม่ทันก็ถามเพื่อน ส่วนเพื่อนที่หาสาระไม่ได้ก็เอาไว้ด้านใดด้านหนึ่ง อย่าให้มาขนาบทั้งซ้ายขวา และการมีสติก็ไม่ได้หมายถึงต้องนิ่ง เงียบ คิดและคุยเรื่องอื่นไม่ได้ รวมทั้งใช้ social media ไม่ได้ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นไม่กี่นาทีคงหลับ Zzzzzzz
เมื่อจดบันทึกเรียบร้อยแล้ว จากนั้นใส่ keyword ที่เราเข้าใจลงไป อันนี้ไม่ต้องถามเพื่อน เพราะเพื่อนไม่เข้าใจอะไรกับเราด้วย แล้วให้พูดเสียงดังๆ แบบอื้ออึงกับตัวเอง คำว่าอื้ออึงหมายถึงพูดในใจแบบดังในอก เพราะหากมีเสียงจะดูไม่งาม ซึ่งความจริงนักวิชาการแนะนำให้พูดเสียงดัง แต่สถานการณ์ไม่อำนวย ดิฉันมักใช้วิธีนี้พูดระหว่างขับรถ ขณะพูดกับตัวเองก็คิดตาม ไม่ใช้พูดแบบนกแก้วนกขุนทอง การพูดกับตัวเองจะเป็นการฝังเข้าไปในสมองให้เราจำ ….โปรดย้อนไปถึงคลาสที่พวกเราเคยอบรมเรื่องเทคนิคการจำเมื่อปีก่อน … ก็ไม่ยากอะไรแค่ทำตามคำไทยที่บอกว่า จดจำ
ที่เขียนเรื่องนี้เนื่องจากคุณพี่แมว หัวหน้าหอสมุดฯ ท่านได้ให้โจทย์แล้วให้ตอบคำถาม ง้ายยยง่ายยย แบบขำๆ เป็นเรื่องของความใจใส่ในเรื่องราวของบ้านหลังที่สอง  แต่ท่านวิพากษ์ให้ฟังว่า เหตุไฉนไยเขียนตอบมาแล้วท่านอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง จึงทำให้นึกถึงเรื่องนี้อีกครั้ง และคิดว่าน่าจะขยายมุมมองตามประสบการณ์ของตัวเรา
ส่วนคะแนนที่ได้เป็นเช่นนี้แล….
maw
ปล. เมื่อดิฉันเขียนไปเขียนมาดิฉันอยากไปคอร์แนล 😛
 
 
 

One thought on “การจดบันทึก

  • ปอง เรื่องที่นำเสนอข้างต้น ป้าแมวเสนอให้นำมาถ่ายทอดแก่น้องๆ เอาแบบของคอร์แนล ดูแบบแล้ว ตอนเป็นนักเรียนตั้งแต่ชั้นม.ศ.1 จนมหาวิทยาลัย(โท) ป้าแมว แบ่งหน้าสมุดเป็น 2 ซีก ซ้าย 1ส่วน ขวา 2 ส่วน ซ้ายเอาไว้เม้นท์เอง หรือที่สำคัญ ขวาจดดะตามที่ครูพูด ส่วนล่างไม่เคยทำ
    Mapping ก็เคยทำ แต่ใส่ใน สี่เหลี่ยม แต่ที่เรียนรู้ผ่านไปบอกว่าไม่ให้ใส่กรอบ มันตันง่ะ
    การจดบันทึก ป้าว่าหลายคนมีปัญหา

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร