Metadata สำหรับวัสดุดิจิทัลประเภทสื่อโสตทัศน์

ช่วงนี้กำลังดำเนินการเอาข้อมูลเสียง (จากห้องสมุดเสียงเดิม) มาจัดเก็บในฐานข้อมูลเสียง ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บจะจัดเก็บในรูปของ Metadata และได้เคยไปอบรมเรื่องเกี่ยวกับ เมทาดาทาสำหรับวัสดุดิจิทัลประเภทสื่อโสตทัศน์ โดย คุณสุวันนา ทองสีสุขใส มาซักพักใหญ่ๆๆ แล้ว…วันนี้เลยจะมาเล่าเรื่องของ Metadata ให้ฟัง
Metadata (เมทาดาทา) คือข้อมูลที่บรรยายทรัพยากร หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ (Object) เมื่อเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บเกิดขึ้น ทำให้สารสนเทศในระบบเครือข่ายเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ยากต่อการจัดเก็บ สืบค้น และเรียกดู จึงได้มีการพัฒนาเมทาดาทาที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บ เมทาดาทาที่นิยมใช้กันมากคือ Dublin Core Metadata (ดับบลินคอร์เมทาดาทา) ซึ่งเหมาะกับทรัพยากรประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
Dublin Core Metadata เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ประกอบด้วย 15 หน่วยข้อมูลย่อย (Elements) สำหรับใช้พรรณนาสารสนเทศดิจิทัลเพื่อให้เจ้าของผลงานจัดทำเมทาดาทาด้วยตนเอง และสามารถสืบค้นร่วมกันกับฐานข้อมูลต่างระบบ ดับลินคอร์ได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง
เมื่อโสตทัศนวัสดุในรูปดิจิทัล เช่น วัสดุภาพ วัสดุเสียง ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งมีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากหนังสือ และวารสาร จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสื่อโสตทัศนวัสดุในรูปดิจิทัล โดยเน้นการขยายดับบลินคอร์ 15 หน่วยข้อมูลย่อย (Elements) แบบแผนเฉพาะสำหรับวัสดุดิจิทัลประเภทสื่อโสตทัศน์ (Scheme) และ RDF (Resource Description Framework)
ในการกำหนดเมทาดาทาสำหรับวัสดุดิจิทัลประเภทสื่อโสตทัศน์ ใช้ดับบลินคอร์ใน 15 หน่วยข้อมูลย่อย (Elements) และในแต่ละ element มีตัวขยายข้อมูลย่อยออกไปได้อีก ดังนี้
 1. Element : Title – ชื่อเรื่อง ชื่อภาพ ชื่ออัลบั้ม และสื่อความหมายได้
รูปแบบ  : DC.Title
ตัวขยาย : DC.Title.Alternative – ชื่ออื่นๆ ของชื่อเรื่องนั้น
2. Element : Creator – ผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาจเป็นบุคคลหรือหน่วยงาน (เช่น ผู้ถ่ายภาพ ผู้วาดภาพ)
รูปแบบ  : DC.Creator
ตัวขยาย : DC.Creator.Email – e-mail ของผู้ผลิตภาพ  /  DC.Creator.Orgname – หน่วยงานที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานสังกัด
 3. Element : Subject – คำหรือวลีที่บ่งบอกถึงเนื้อหาของภาพ ให้ใช้คำศัพท์ที่มีการควบคุม หรือใช้หัวเรื่องที่เป็นมาตรฐาน
รูปแบบ  : DC.Subject
ตัวขยาย : DC.Subject.Keyword – คำสำคัญหรือวลีที่บ่งบอกถึงเนื้อหา  /  DC.Subject.LCSH – หัวเรื่อง LC  /  DC.Subject.MESH – หัวเรื่องทางการแพทย์  /  DC.Subject.Sears – หัวเรื่อง Sears  /  DC.Subject.ThaSH – หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย  /  DC.Subject.Others – หัวเรื่องระบบอื่นๆ
4. Element : Description – ข้อความที่ให้รายละเอียดของเนื้อหา
รูปแบบ  : DC.Description
ตัวขยาย : DC.Description.Writer – ผู้บรรยายภาพ  /  DC.Description.Caption – ข้อความบรรยายภาพ
5. Element : Publisher – หน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำทรัพยากรให้เป็นดิจิทัล
รูปแบบ  : DC.Publisher
ตัวขยาย : DC.Publisher.Place – เมืองที่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำทรัพยากรให้เป็นดิจิทัลตั้งอยู่  /  DC.Publisher.Email – อีเมล์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำทรัพยากรให้เป็นดิจิทัล
6. Element : Contributor – ผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล หรือหน่วยงาน
รูปแบบ  : DC.Contributor
ตัวขยาย : DC.Contributor – ผู้ให้การสนับสนุน เช่น ผู้ให้ทุน เป็นต้น
7. Element : Date – ปีที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากร
รูปแบบ  : DC.Date
ตัวขยาย : DC.Date.Created – ปีที่ผลิตที่กำลังลงรายการ  /  DC.Date.Modified – วันเดือนปีที่แก้ไข  /  DC.Date.Issued – วันเดือนที่เผยแพร่อย่างเป็นทาการ
8. Element : Type – ประเภทของทรัพยากร
รูปแบบ  : DC.Type
ตัวขยาย : DC.Type.DCMI – ประเภทของทรัพยากรตามมาตรฐาน DCMI เช่น Image, Sound เป็นต้น
9. Element : Format – รูปแบบของแฟ้มข้อมูล
รูปแบบ  : DC.Format
ตัวขยาย : DC.Format.IMT – รูปแบบของแฟ้มข้อมูลตามมาตรฐาน IMT เช่น jpeg, gif, mpeg, flv เป็นต้น  /  DC.Format.Extent – ขนาดความจุของแฟ้มข้อมูล  /  DC.Format.Image.Height – หน่วยเป็น pixel  /  DC.Format.Image.Weight – หน่วยเป็น pixel
10. Element : Identifier – ข้อความหรือตัวเลขที่ใช้ในการระบุชี้เฉพาะที่เก็บแฟ้มข้อมูล
รูปแบบ  : DC.Identifier
ตัวขยาย : DC.Identifier.URL – ระบุชี้ที่เก็บแฟ้มข้อมูล
11. Element : Source – แหล่งที่มาของข้อมูล
รูปแบบ  : DC.Source
ตัวขยาย : DC.Source.ISBN – กรณีที่ได้ข้อมูลมาจากหนังสือ  /  DC.Source.ISSN – กรณีที่ได้ข้อมูลมาจากวารสาร  /  DC.Source.OriginalOwner – กรณีที่ได้ข้อมูลมาจากเจ้าของเดิม  /  DC.Source.Holder – กรณีที่ได้ข้อมูลมาจากเจ้าของลิขสิทธิ์
12. Element : Language – ภาษาของข้อมูล (ถ้าเป็นรูปภาพไม่มีการใช้ element นี้)
รูปแบบ  : DC.Language
13. Element : Relation – ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบ  : DC.Relation
ตัวขยาย : DC.Relation.IsPartOf – เป็นการอ้างอิงไปถึงชื่ออัลบั้มหรือชื่อกิจกรรม เพื่อให้ทราบว่าเป็นภาพหนึ่งของกิจกรรม/อัลบั้ม  /  DC.Relation.HasPart – ใช้ในระเบียนของชื่อกิจกรรม/อัลบั้มที่ระบุภาพต่างๆ ของอัลบั้มหรือภาพที่เกิดขึ้นในกิจกรรมนั้นๆ
14. Element : Coverage – ของเขตของเนื้อหาตามภูมิศาสตร์
รูปแบบ  : DC.Coverage
ตัวขยาย : DC.Coverage.Spatial – สถานที่ของภาพ เสียง หรือข้อมูล  /  DC.Coverage.Temporal – ช่วงเวลา หรือยุคสมัยของภาพ เสียง หรือข้อมูล
15. Element : Rights – ข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของทรัพยากร
รูปแบบ  : DC. Rights
ตัวอย่าง
meta
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องราวอย่างย่อๆ ของ Metadata สำหรับวัสดุดิจิทัลประเภทสื่อโสตทัศน์ ดูๆ ไปอาจจะง่ายกว่าพี่มาร์คของพวกเราก็ได้มั้ง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร