โอวาทปาติโมกข์
“โอวาทปาติโมกข์” เป็นคำสอนที่เป็นหลักการ เป็นพื้นฐานคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำสอนที่เน้นไปในเรื่อง การฝึกฝน และพัฒนาตนเอง เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงภายใน คือ การฝึกฝนตัวเอง ให้เกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ไม่เน้นไปที่มีการเปลี่ยนแปลงภายนอก คำสอนนี้ พระพุทธองค์ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายเป็นประจำ เราอาจจะได้ยินบ่อยๆ ว่าพระองค์ตรัสในวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน 3 ตรัสกับพระอรหันต์ 1,250 รูป ซึ่งเป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าบวชให้ทั้งหมด มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย อะไรอย่างนี้ นี่ก็เป็นเหตุการณ์สำคัญคราวหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราพูดกันบ่อยๆ แต่โดยความจริงแล้ว สวดสิกขาบทต่างๆ เวลาที่มีภิกษุมาประชุมกันในวันอุโบสถ พระพุทธองค์ก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ต่อมาภายหลัง มีเรื่องราวเกิดขึ้น พระองค์ไม่ทรงเข้าร่วม และไม่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ บัญญัติให้ภิกษุทั้งหลายนั้นมาสวดทบทวนสิกขาบทแทน ตอนแรกๆ นั้น พระพุทธองค์ทรงลงปาติโมกข์เป็นประจำทุกกึ่งเดือน ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ประจำเลยทีเดียว
โอวาท แปลว่า คำสั่งสอน คำบอก คำว่ากล่าว ตักเตือน คำแนะนำที่เป็นหลักไว้ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง
ปาติโมกข์ แปลว่า ข้อปฏิบัติอันเป็นหลักการเป็นเบื้องต้น เป็นพื้นฐาน เป็นประธานที่จะนำให้ถึงความหมดจดจากกิเลส เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ เพื่อให้ถึงการพ้นทุกข์ ทำให้ถึงการปล่อยวางได้จริง
คำว่า หลักการ หรือพื้นฐาน นี้ หมายความว่า ครอบคลุม ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุดนั่นแหละ คำสอนของพระพุทธเจ้าประกาศบนฐานความจริง การปฏิบัติก็เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริง ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้่งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด เบื้องต้นก็เพื่อปล่อยวาง สูงสุดก็เพื่อปล่อยวาง “พื้นฐานของการปฏิบัติก็เป็นเรื่องเดียวกัน คือ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ที่ยังมีความเห็นผิดๆ และยึดถือผิดๆ อยู่ ถ้าท่านไหนได้เริ่มต้นการศึกษาว่า ทำอย่างไรจึงจะปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้ เริ่มอย่างนี้ก็เรียกว่าได้พื้นฐานของพระพุทธศาสนา ฝึกฝนไปเรื่อยๆ ปล่อยวางทีละเล็กทีละน้อย และปล่อยวางได้หมดในที่สุด เริ่มต้นก็ปล่อยวางจบลงก็ที่ปล่อยวางเหมือนกัน อย่างคำสอนเรื่องของการให้ทาน การรักษาศีล หรือ การช่วยเหลือกันและกัน อะไรต่างๆ เหล่านี้ ก็เพื่อให้ปล่อยวางความยึดถือสิ่งต่างๆ ว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราวางสิ่งที่มันยังหยาบๆ อยู่ก่อน ให้มันลดลงไปบ้าง จนกระทั่งละเอียดที่สุด “ปล่อยวางสิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นมากที่สุด” คือ ตัวเราเอง จิตใจของเรานี้เอง
แหล่งข้อมูล หนังสือเล่มนี้ได้มาจาก โอวาทปาติโมกข์
หมวด BQ 4570 L5ส745
ผู้แต่งโดย นายสุภีร์ ทุมทอง
2 thoughts on “โอวาทปาติโมกข์”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
สาธุค่ะ วันพระเวลาไปวัดจะส่วดบโอวาทปาฏิโมกขถาถา ว่าไว้ดังนี้
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง
กูสะลัสสูปะสัมปะทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เอตัง พุทธานะสาสะนัง ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาติ ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร การสำรวมในปาฏิโมกข์
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส์มิง ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด
อะธิจิตเต จะ อาโยโค ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง
เอตัง พุทธานะสานะนัง ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
สรุป อกุศลสักนิด อย่าได้คิดกระทำเลย
วันเสาร์-อาทิตย์ ชวนรรคพวกไปวัดมากๆนะ อย่ามัวแต่ไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆอีกล่ะ
ธรรมะ ดีแล้ว