RDA เรื่องที่กำลังมาแรงในวงการ Catalog

ช่วงเวลานี้ ในวงการ Catalog คงไม่แคล้วที่จะต้องพูดกันถึงแต่เรื่อง RDA จนทำให้บรรณารักษ์อย่างเรา เริ่มอึนและมึน เหมือนกลับไปเริ่มเรียนกันใหม่…
หลังจากตัวเองไปฟังผู้เชี่ยวชาญพูดบ้่าง อ่านเอาเองบ้าง ก็พอสรุปได้เป็นเรื่องเป็นราว … ที่อาจทำให้ท่านเข้าใจบ้าง งงบ้าง อึนและมืนบ้าง ดังนี้
RDA (Resource Description and Access) เป็นมาตรฐานการลงรายการแบบใหม่ (New content standard) ได้รับการออกแบบสำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัล เพื่อมาแทนที่ AACR2 ซึ่ง RDA มีขอบเขตที่กว้างกว่า AACR2 และ RDA data ยังสามารถเข้ารหัสโดยใช้ encoding schema ที่มีอยู่เดิม / ที่ใช้กับ AACR2 คือ MARC21
RDA อยู่บนพื้นฐานของความเป็นกรอบการทำงาน (Framework) ใน 2 โมเดลคือ FRBR (Functional Requirements for Bibliographic Records) และ FRAD (Functional Requirements of Authority Data) เป็นมุมมองร่วมกันทั้งในส่วนของ Bibliographic record และ Authority data ซึ่งมุ่งเน้นการบันทึกข้อมูลเพื่อช่วยผู้ใช้ในการค้นหาทรัพยากร (user tasks)
AACR2 กับ RDA  มีความแตกต่างกันในหลายประการ เช่น

– RDA มี element สำหรับทรัพยากรประเภท / ลักษณะต่างๆ มากกว่า AACR2
– RDA ให้คัดลอกข้อมูลตามที่พบ แม้ข้อมูลจะไม่ถูกต้อง และให้ใส่ข้อมูลที่ถูกต้องเป็น tag แยกต่างหาก เช่น ชื่อเรื่องที่ปรากฎผิด 245 10 |aTueday’s task ให้ไปใส่ที่ถูกไว้ที่ Tag 246   –>   246 |iCorrected titles :|aTuesday’s task   เป็นต้น
– AACR2 เน้นผู้แต่งไม่เกิน 3 คน แต่ใน RDA ลงเท่าไรก็ได้ที่เห็นว่ามีความสำคัญ และไม่ใช้ [et. al.]
– AACR2 ให้ใส่ [S.l.] กรณีไม่ปรากฎเมืองพิมพ์ แต่ RDA ให้ใส่ว่า [Place of publication not identified]
– AACR2 ให้ใส่ [s.n.] กรณีไม่ปรากฎสำนักพิมพ์ แต่ RDA ให้ใส่ว่า [Publisher not identified]
– AACR2 กรณีหาปีพิมพ์ไม่ได้ จะใส่ปีประมาณไว้ใน [ ] แต่ RDA ให้ใส่ว่า [Date of publication not identified]
– GMD จะไม่ใช้ใน RDA จะใช้สิ่งที่เรียกว่า CMC (content type, media type, carrier type) แทน

                                                             เป็นต้น

MARC 21 กับ RDA
การเปลี่ยนแปลงของ MARC เพื่อรองรับ RDA เช่น
1) การเปลี่ยนแปลงในการระบุประเภทของเนื้อหา สื่อ และประเภท และลักษณะเฉพาะของทรัพยากรสารสนเทศ (Content, media and carrier type and characteristic)

RDA content types  –  MARC ระบุ content type ไว้ใน LDR/06  และ RDA กำหนด list ของ content type ไว้ที่ Field 336 (เป็น field ใหม่ใน MARC 21) โดยอยู่ทั้งใน MARC Bibliographic และ MARC Authority

RDA media types  –  MARC ระบุ media type ไว้ใน 007/00  ส่วน RDA กำหนด list ของ media type ไว้ที่ Field 337 ทั้งใน MARC Bibliographic และ MARC Holdings

RDA carrier types  –  MARC ระบุ carrier type ไว้ใน 007/01  ส่วน RDA จะกำหนด list ของ media type ไว้ที่ Field 338 ทั้งใน MARC Bibliographic และ MARC Holdings

RDA carrier characteristics  –  MARC ระบุ carrier characteristics ไว้ในรูปข้อความใน Field 300, 340, 5XX  และ carrier characteristics ใน Field 007 ในรูป Coded form ทั้งใน MARC Bibliographic และ MARC Holdings
ส่วน RDA กำหนด list ของ terms ที่ใช้อธิบาย carrier characteristics ไว้ที่ Field 300, 340, 344, 345, 346, 347, 5XX  และบันทึกลักษณะในรูปข้อความใน Field 500, 5XX อื่น รวมถึงบันทึกลักษณะในรูปของ terms ใน Field 300, Field 340 new subfields และ New field – 344 (Sound characteristics), 345 (Projection characteristics of moving image), 346 (Video characteristics), 347 (Digital file characteristics)

2) Attributes of names and resources เป็นข้อมูลที่เป็นแบบแผนที่ใช้บันทึกส่วนของ Name headings เช่น date of birth, Uniform title headings เช่น key for music, Note fields ใน Name/title authority record  โดยที่ RDA กำหนดให้บันทึก attributes ได้ทั้งแยก และเป็นส่วนหนึ่งของ heading
3) Relationships แสดงความสัมพันธ์ใน 2 ส่วนคือ

Name to resource – RDA แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Resource and persons, families และ corporate bodies ส่วน MARC ระบุความสัมพันธ์ โดยใช้ relater terms ใน Field 1XX, 6XX, 7XX, 8XX ในส่วนของ Bib และใน 1XX, 4XX, 5XX ใน MARC Authority

Name to name – RDA แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง persons, families และ corporate bodies ส่วน MARC authority ใช้ subfield i เพิ่มเข้าไปใน 4XX, 5XX เพื่อระบุความสัมพันธ์

 4) Miscellaneous other

– เพิ่ม code i ใน Leader ตำแหน่งที่ 18 (ISBD punctuation includes)

– เพิ่ม code rda ใน MARC code list for descriptive conventions (บันทึกใน Field 040 |e)

– เพิ่ม code ใน character position ของ 007 และ 008

– กำหนดให้ลงซ้ำได้สำหรับ subfield x (ISSN) ใน Field 490 และ subfield e (Description conventions) ใน Field 040

– เพิ่ม subfields ใน field ต่างๆ (033, 502, 518)

– เพิ่ม field ใหม่ใน Bib format คือ 264 Production, Publication, Distribution, Manufacture and Copyright Notice (R) โดยมี Indicator ตัวที่ 2 คือ 0 – Production 1 – Publication 2 – Distribution 3 – Manufacture 4 – Copyright

*** Identifying RDA Records  คือส่วน Leader ตำแหน่งที่ 18 = i   Field 040 |e ใส่ code rda  ถึงแม้จะมี Tag 336, 337, 338 แต่ไม่มี Leader ตำแหน่งที่ 18 เป็น i และ Field 040 |e ไม่ใส่ code rda ก็ไม่ถือว่าเป็น RDA ***
ความจริงยังมีอีกเยอะเกี่ยวกับ RDA แต่เบื้องต้นตัวเองมีเข้าใจแค่นี้…เลยเล่าให้ฟังแค่นี้ก่อน ไว้โอกาสหน้าทำความเข้าใจได้มากกว่านี้…ค่อยมาเล่าให้ฟังใหม่… 😆

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร