หัวหน้าเวรอาคารหอสมุด

แจ็คพ๊อตแตกค่ะหลังจากเป็นหัวหน้าเวรที่อาคารม.ล.ปิ่นฯ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พอวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน ก็เป็นหัวหน้าเวรอาคารหอสมุดต่ออีกวัน การทำหน้าที่หัวหน้าเวรอาคารหอสมุดนี้ หากใครเป็นจะรู้สึกว่า ตัวหญ่ายมั๊กมาก เพราะหน้าที่อันดับแรกเลยคือ ต้องเซ็นชื่อกำักับให้กับผู้ปฏิบัติงานล่วงเวลาทุกคน รวมถึงหัวหน้าเวรอาคารม.ล.ปิ่นฯ แถมถ้าหากมีการทำงานล่วงเวลานอกตารางก็ต้องเซ็นให้ด้วย (หากไม่เซ็น ลูกเวรส่งเบิกเงินไม้ได้ อดได้ตังค์ ระวังโดน…..) 😎

วันนี้ก็เลยต้องมาร่ายยาวหน้าที่หัวหน้าเวรอาคารหอสมุดกันอีกครั้ง เริ่มด้วยขั้นแรกเซ็นชื่อปฏิบัติงานในใบเซ็นชื่อรวม (หลังจากวางสัมภาระเรียบร้อยแล้ว) หลังจากนั้นก็เดินขึ้นไปที่ชั้นสองไปดูซิว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน้าห้องสารนิเทศ (เครื่องเจ้าหน้าที่) เปิดหรือยัง รวมถึงเครื่องสืบค้นฐานข้อมูลอีก 3 เครื่องที่อยู่ด้านข้างด้วย บางวันก็จะมีคนใจดีช่วยเปิดไว้ให้ บางวันก็ต้องเปิดเอง ซึ่งขั้นตอนการเปิดก็ต้องมีเทคนิคพิเศษไม่ใช่ special effect น่ะค่ะ โดยการเดินเข้าไปในห้องสารนิเทศเปิด UPS ด้านใน เปิดสวิตซ์รางปลั๊กไฟที่มีสารพัดปลั๊กเช่น printer, scanner และอื่นๆ จากนั้นก็เดินกลับออกมา เปิดสวิตซ์รางปลั๊กไฟ ที่อยู่ใต้เครื่อง printer แล้วหันกดปุ่ม power เครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน้าห้องสารนิเทศ (เครื่องเจ้าหน้าที่) เดินออกมาที่เครื่องสืบค้นฐานข้อมูล 3 เครื่องที่อยู่ด้านข้าง เปิดสวิตซ์รางปลั๊กไฟอีก 1 ตัว แล้วกดปุ่ม power เครื่องสืบค้นทั้ง 3 เครื่อง มิเช่นนั้นเครื่องสืบค้นฐานข้อมูลก็จะค้นไม่ได้ 😮

อ้อ! เกือบลืมไป ต้องเิดินเข้าไปในห้องศ. ดร. เจตนาฯ ที่อยู่ถัดไปด้วยเพื่อเปิดไฟในห้องทำงานสารนิเทศและห้องศ. ดร. เจตนาฯ ถ้าหากยังไม่ได้เปิด
ขั้นที่สองเดินกลับลงมาที่ห้องเซ็นชื่อเพื่อมาดูซิว่า วันนี้ลูกเวรของเรามาครบหรือไม่ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ใครเกิดเหตุด่วนมาไม่ได้ หรือใครต้องมาแทนใคร ฯลฯ พอเวลาประมาณ 8.45 ก็ลงมือแจกลายเซ็น พร้อมกับดูตารางเวรควบคู่กันไป เนื่องจากว่า ลูกเวรบางคนอาจเกิดเปลี่ยนใจไม่ชอบหน้าที่ในตารางก็จะมีการมาขอเปลี่ยนกันสดๆ ในตอนที่เซ็นชื่อมาทำงาน บางคนก็อาจมีธุระด่วนต้องพักเวลานี้ พักเวลานั้นไม่ได้ก็ต้องสลับปรับเปลี่ยนกันไป (จุ๊ๆๆเปลี่ยนกันไปเถอะ หัวหน้าเวรไม่เกี่ยว ขอแค่ให้มาทำงานกันครบก็พอ 😎 อิอิ)
ขั้นที่สามหลังจากลงชื่อกำกับเสร็จ ก็เดินไปที่เคาน์เตอร์ทางเข้าออกเพื่อเซ็นชื่อกำกับที่ซองกุญแจ ปิดประตูทางเข้าสำหรับเจ้าหน้าที่ พร้อมกับแหงนมองนาฬิกาที่เครื่อง Bangkok ว่า 9 โมงหรือยัง หาก 9 โมงก็ให้เจ้าหน้าที่ไปเปิดประตูทางเข้าหอสมุด” Open Sesame”
ขั้นที่สี่เป็นเรื่องของการเดินล้วน ก็เริ่มเดินตรวจเวรตั้งแต่ชั้น 1 ห้องอ้างอิง แวะเยี่ยมร้านน้องแจ็คเสียหน่อย พร้อมกับบ่นว่า เปิดร้านช้าจัง พี่หิวแล้ว แต่บ่นกับสายลมนะเพราะน้องแจ็คยังไม่มา จากนั้นก็เดินไปที่ชั้นสอง แนะนำว่าให้เิดินบริเวณกลางห้องจะได้มองซ้ายดูชั้นพักหนังสือภาษาไทย มองขวาดูชั้นพักภาษาอังกฤษ กลับหลังหันไปเข้าห้องวิทยานิพนธ์เพื่อชั้นพักอีก 1 ชั้น จากนั้นเป็นคิวของชั้นที่สาม ก่อนเข้าไปต้องดูห้องโลกของหนูก่อนเพราะบางทีมีเหมือนที่เจ้าหน้าที่ก็ลืมเปิดไฟ แวะห้องผลงานวิชาการอีกหนึ่งห้อง จากนั้นก็ไปดูชั้นพักหนังสือ เสร็จจากสามก็ต้องไปที่ชั้นสี่ ชั้นนี้จะพิเศษเพราะเจ้าหน้าที่จะไม่อยู่ให้เห็นหน้า เนื่องจากต้องไปทำความสะอาดห้องน้ำที่อาคารม.ล.ปิ่นฯ สุดท้ายของการเิดินคือ แวะตรวจการทำความสะอาดห้องน้ำค่ะ
สรุปว่า จากการเิดินข้างต้นอาจใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที 😉

หลังจากนั้นก็ลงมาที่เคาน์เตอร์หน้าห้องสารนิเทศนั่งปักหลักเป็นศิราณี คอยตำคำถาม ทั้งปัญหาเรื่องการใช้ห้องสมุด ปัญหาเรื่องเกี่ยวกับหนังสือ ปัญหาเรื่องการหาทางไปห้องน้ำหาทางไปตึกม.ล.ปิ่น หาทางไปชั้นสาม ปัญหาเรื่องการเรียน การเขียน ปัญหาเรื่องการสืบค้น แม้แต่ปัญหาชีวิตก็มีในบางครั้ง 🙄

ขอโทษค่ะห้องน้ำไปทางไหนค่ะ
ขอโทษค่ะหาหนังสือเล่มนี้ไม่เจอค่ะ
ขอโทษค่ะไปอาคารโน้นไปทางไหนค่ะ
ขอโทษค่ะร้านถ่ายเอกสารมีร้านเดียวหรือค่ะ
ขอโทษค่ะจะยืมหนังสือของท่าพระ/เพชรบุรี
ขอโทษค่ะจะค้นข้อมูลค้นยังไงค่ะ
ขอโทษค่ะจะ write CD
สารพัด ขอโทษค่ะๆๆๆๆๆๆ  ฯลฯ และสารพัด หลากหลายอารมณ์ของผู้ใช้ ทั้งนักศึกษา ป.ตรี ป.โท ป.เอก อาจารย์ บุคคลภายนอก แต่ที่แน่ๆ บางวันกินข้าวบ่ายสองโมง หรือกว่านี้ก็มี โดยเฉพาะช่วงนี้จะมีบุคคลภายนอกประเภทคุณครูทั้งหลายที่ต้องทำผลงานทางวิชาการมาหาข้อมูล
หลังจากทำงานมาตลอดวันก็ถึงช่วงปิดหอสมุด แม้! เกือบลืมไป ในระหว่างวันก็ต้องเดินไปดูแลความเรีนร้อยตามชั้นต่างบ้าง ก่อนถึงเวลาปิดหอสมุดที่ต้องทำคือ ปิดเครื่องสืบค้นฐานข้อมูลตอน 1 ทุ่มตรง ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เจ้าหน้าที่ เดินลงไปเซ็นชื่อกำกับที่ซองกุญแจอีกหนึ่งซอง แล้วย้อนกลับขึ้นมาเพื่อเก็บสัมภาระ และแวะเวียนไปดูความเรียบร้อยตามชั้นต่างๆ หลังจาก 18.45 ก็ลงมาเซ็นชื่อรับเงินค่าปรับนำกลับบ้านติดตัวไปด้วย (ซึ่งอันนี้เป็นความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงมาก หากทำหายก็ต้องชดใช้คืนให้หลวง เคยมีบางครั้งอยู่เวรติดต่อกันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เงินที่รับผิดชอบมากพอดู ดีนะที่ตอนนี้ขับรถยนต์ หากเป็นสมัยก่อนขี่มอเตอร์ไซต์แย่แน่ๆ เพราะฉะนั้นห้ามเปิดเผยตัวว่าเป็นหัวหน้าเวร ถ้าผู้ใช้ถาม ขอโทษค่ะเป็นเจ้าหน้าที่ใช่ไหมค่ะ ให้ตอบว่าใช่)
หลังจาก 20.00 ก็ปิดหอสมุด รอจนเจ้าหน้าที่ปิดประตู คล้องโซ่ ลงตราครั่ง เฮ่อ! ได้กลับบ้านไปหาลูกๆ เสียที :mrgreen:

6 thoughts on “หัวหน้าเวรอาคารหอสมุด

  • พี่แมว การบ้านที่เหลือของหนูน่ะ คำตอบเป็นแบบนี้เลย

  • หัวหน้าเวรทุกคน โปรดอ่าน แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน blog นี้ ป้าแมวจะคอยดูว่ามีใครทำอะไรอย่างไรบ้าง หัวหน้าฝ่ายบริการ ให้ใครสำรวจป้ายว่า ต้องทำเพิ่มอะไร ประสานงานกับธุรการ อ้อ แม้แต่ข้อความก็ต้องแนบมาด้วยนะ ่าฮ่า

  • ไม่ค่อยได้เป็นหัวหน้าเวร..จึงขอ comment ในฐานะเจ้าหน้าที่ประจำ ชั้น 2 นอกจากปัญหาในการช่วยค้นคว้าประจำวันแล้ว คำถามที่พบบ่อยตอนเปิดเทอมใหม่ ๆ นี้คือ หาทางไปห้องน้ำไม่เจอ ดังนั้น ขอป้ายห้องน้ำที่เด่นชัดกว่าในปัจจุบันก็จะดีค่ะ
    ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญและขอให้หัวหน้าเวรช่วยด้วย คือ ให้ผู้ที่มาใช้เครื่องสืบค้นฐานข้อมูล เขียนแบบฟอร์มการขอใช้ฐานข้อมูล (เก็บแบบฟอร์มไว้ในลิ้นชักด้านขวาของเคาน์เตอร์ และบนเครื่องสืบค้นฐานข้อมูล) ให้ด้วย เพราะสำนักงานเลขาฯ จะขอข้อมูลมาเป็นระยะ ระยะ ระยะ เดี๋ยวไม่มีหลักฐานแสดงผลงานเป็นชิ้นเป็นอันค่ะ
    อีกหนึ่งเรื่อง คือ เรื่องการค้นหาวิทยานิพนธ์ ตอนนี้หนูยาหยีได้ update ขั้นตอนการค้นหาวิทยานิพนธ์จาก webopac เรียบร้อยแล้ว แนะนำให้ผู้ใช้บริการใช้ตามขั้นตอนได้
    แล้วตอนนี้มีผู้ใช้บริการหาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกอ่านกันมากขึ้น เป็นไปได้ไหมว่า วิทยานิพนธ์ของปริญญาเอก จะแยกชั้นออกมาต่างหาก หรือทำอย่างไรให้หยิบได้ง่ายขึ้น…
    ขอบคุณมากค่ะ

  • น่าสนนะ ติดเป็นสติกเกอร์แทนจะได้ไหม เผื่อ ป.โทจะได้อ่านบ้าง ขอเสียงคนต่อไป

  • ตามหลักเมื่อค้นได้เลขเรียกหนังสือแล้ว ก็ไปหาที่ั้ชั้นวิทยานิพนธ์ตามลำดับเลขเรียกฯ แต่เมื่อต้องการอำนวยความสะดวกแก่ ปริญญาเอกเป็นการเฉพาะ ซึ่งเดิม หนูนกเคยมีรายชื่อวิทยานิพนธ์ไว้บริการ ผู้ใช้สาารถเปิดค้นหาตาม ชื่อผู้แต่ง ชื่อว.พ. (ถ้าจำไม่ผิด) ต่อมาเป็นความประสงค์ของบรรณารักษ์ ที่ต้องการให้ผู้ใช้ ใช้ OPAC จึงขอให้ยกเลิกบริการรายชื่อไป ไม่ใช่หัวหน้าหอสมุดเป็นผู้ไม่ต้องการให้ใช้นะ หัวหน้าหอสมุด ได้ทั้งนั้น อะไรที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ทำไปเถอะ
    สำหรับว,พ. ปริญญาเอก มศก. ปกสีเขียวเหมือนของ ป.โท ดังนั้นเพื่อให้มีความแตกต่าง ขอให้ใช้สติกเกอร์สี (เหลือง) ปิดที่สันส่วนบน แล้วแยกตัวเล่มเรียงไว้ต่างหาก ในเบื้องแรกจะมอบหายให้ พนิดา และพิชัยช่วยกันดำเนินการ ต่อไป สารนิเทศทำเองก่อนนำออกบริการ เรื่องนี้ไม่ต้องไปยุ่งกับฝ่ายวิเคราะห์ฯ เพราะไม่ต้องเปลี่ยน Location กะอีแค่ติดสติกเกอร์ ข้อความว่า ป.เอก ชิล ชิล เดี๋ยวเดียวก็เสร็จ สำหรับสติกเกอร์ และ ข้อความ จะให้พนิดา ทำไว้ให้ ลายมือจะได้เหมือนกันทุกเล่ม จะเขียนเองก็เกรงใจคน หยิบตัวเล่มไปอ่าน

  • หากแยกชั้นออกมา ก็ดูจะมีชั้นเยอะแยะ ความจริงหากติดสติกเกอร์ไว้แล้ว ก็คงไม่ต้องแยกชั้นออกมา แต่ที่ยังไม่เข้าใจหัวหน้าหอสมุด ก็คือว่าติดสติกเกอร์แล้วจะให้พนิดาเขียนข้อความอะไร ไม่เห็นจำเป็นจะต้องเขียน หากมีอะไรต้องเขียนน่าจะพิมพ์ออกมา ลายมือจะได้เหมือนกันและเท่ากันหมด เพราะหากพนิดาเป็นอะไรไป (ไม่ได้แช่งนะจ๊ะ…แค่ยกเป็นตัวอย่าง) ลายมือก็คงไม่เหมือนกันทุกเล่มอยู่ดี อย่างไรก็ควรจะเกี่ยวข้องกับฝ่ายวิเคราะห์ฯ ตรงการให้หัวเรื่อง เพราะหากมีหัวเรื่องว่า |aปริญญาเอก|xวิทยานิพนธ์ หรือของปริญญาโทก็ |aปริญญาโท|xวิทยานิพนธ์ กรณีสารนิพนธ์ ก็ให้หัวเรื่อง สารนิพนธ์ ก็ได้ แูแล้วก็เป็นการช่วยในการสืบค้นที่ผู้ใช้ไม่ได้ต้องการระบุเรื่องได้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร