มารู้จัก Ghost writer และ Compiler กันเถอะ

:mrgreen: เนื่องจากได้รับโจทย์คำถามจากหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ฯ อีกแล้ว เรื่องการลงรายการหนังสือที่มีชื่อผู้เรียบเรียง ว่า หลักการลงรายการนั้นเค้าลงกันเช่นไร ถึงจะถูกต้อง
ส่วนตัวเรานั้น มีอยู่วันหนึ่งได้ตรวจการลงรายการหนังสือภาษาไทยเล่มหนึ่งพอดิบพอดี ซึ่งมีชื่อผู้แต่ง และมีชื่อผู้เรียบเรียง อยู่ในเล่มทำให้ต้องพิจารณาว่า ควรลงชื่อใดเป็นรายการหลักดี 🙄
และทำให้นึกถึงหนังสือประเภทหนึ่งที่ เป็นหนังสือชีวประวัติของผู้มีชื่อเสียง หรือเรื่องราวความสำเร็จของบุคคลนั้น ซึ่งการเขียนเป็นหนังสือหนึ่งเล่มนั้น บุคคลประเภทนี้จะใช้นักเขียนที่เรียกว่า “Ghost Writer” เป็นผู้เขียนแทน 😎
ก็เลยเป็นโจทย์ที่หัวหน้าฝ่ายให้ไปหาคำตอบอีกแล้ว ถึงการลงรายการระหว่าง ghost writer กับ compiler ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และความหมายของ ghost writer กับ compiler นั้นคืออะไร 😆
จากการค้นได้คำตอบที่พอจะสรุปความได้ดังนี้ (อาจแปลสรุปได้ไม่ค่อยดีเนื่องมาจากว่าแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเสียส่วนใหญ่) 😕
จาก The AACR2 Glossary ได้ให้ความหมายหรือนิยามของคำว่า “compiler” ดังนี้ (http://smu.edu/cul/cip/docs/GEN/glossary.htm#c)
“1. ผู้ที่ผลิตหรือรวบรวม โดยการเลือกสรรผลงานต่างๆ ของบุคคลหรือหน่วยงาน จากหลายคน หลายองค์กรเข้าไว้ด้วย
2. ผู้ที่คัดเลือกหรือรวบรวมผลงานต่างๆ จากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เข้าไว้ด้วยกัน”
และ ODLIS (Online Dictionary for Library and Information Science) ค้นได้จาก http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_c.aspx ได้ให้ความหมายของคำว่า “compiler” ดังนี้
ผู้รวบรวม หรือ ผู้เรียบเรียง คือ ผู้ที่คัดเลือก และ รวบรวมเนื้อหาจากงานเขียนของบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ หรืองานต่างๆ ของคนเพียงคนเดียวหรือหน่วยงานเดียว โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือการบรรณาธิการ ของข้อความเดิมของเอกสาร ซึ่งเป็นการจัดเก็บ หรือ รวบรวม หรือที่เรียกว่า สะสม และชื่อของผู้เรียบเรียงจะแสดงไว้ในแหล่งที่มาหลักของข้อมูลหรือที่หน้าปกใน และในเขตข้อมูลที่แสดงความรับผิดชอบของการบันทึกรายการบรรณานุกรมของห้องสมุด เปรียบเทียบได้กับบรรณาธิการ
อย่างไรก็ตาม AACR2 ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนในกฎ 21.30D1 ว่า
“การทำรายการเพิ่มของรายการผู้รับผิดชอบที่เป็นบรรณาธิการหรือผู้เรียบเรียงสำหรับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องและทรัพยากรสารสนเทศ ต้องทำรายการเพิ่มให้ หากเมื่อพิจารณาแล้วว่ารายการนั้นสำคัญ” 😉
ในส่วนของ “ghost writer” ODLIS (Online Dictionary for Library and Information Science) ค้นได้จาก http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_g.aspx ได้อธิบายไว้ดังนี้
นักเขียนผี หรือ ghost writer คือ คนที่เขียนหรือเตรียมงานในนามของคนที่อาจจะมีชื่อเสียง แต่จะไม่เขียนเป็นอาชีพ ดังตัวอย่างเช่นอัตชีวประวัติ และบันทึกความทรงจำ ที่มักจะเขียนในลักษณะนี้ แม้ว่านักเขียนผีตามปกติจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าจ้างสำหรับการทำงานนั้นๆ แม้บางครั้งจะแบ่งจากค่าลิขสิทธิ์ แต่ชื่อของนักเขียนอาจจะปรากฎ หรืออาจไม่ได้ปรากฎอยู่ในฐานะผู้เขียนร่วมในหน้าปกก็ได้ 😡
นอกจากนี้ยังพบการถาม-ตอบข้อสงสัยในการลงรายการทางบรรณานุกรมเรื่อง การลงรายการเกี่ยวกับนักเขียนผี หรือ ghost writer ที่ อ้างอิงจาก http://comments.gmane.org/gmane.education.libraries.autocat/31012 ดังนี้
เป็นการคำถามจาก cataloger เกี่ยวกับการยอมรับการประพันธ์ของนักเขียนผี ซึ่งตามกฎของ AACR2 ข้อ 1.1F2 อธิบายไว้ว่า “ถ้าความรับผิดชอบไม่ปรากฏเด่นชัดในรายการหรือเนื้อหาของรายการ ให้ใส่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหมายเหตุ”
ดังนั้นมีตัวอย่าง เช่น หนังสือใด ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นโดย “X” แต่มันเป็นที่รู้จักอย่างดีว่า “Y” เป็นผู้เขียน? แม้ว่า ชื่อของ Y” ชื่อจะไม่ปรากฏที่ใดๆ ในรายการหรือบางทีอาจจะปรากฏในกิตติกรรมประกาศ แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้เขียนร่วมเขียน ฯลฯ
และถ้านักเขียนที่แท้จริงไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในงานเขียนชิ้นนั้น แต่ Cataloger รู้และเข้าใจได้ว่า เป็นนักเขียนผี หรือ ghost writer
ตามกฎการลงรายการ ให้ลงรายการโดย การใช้ข้อความหรือโน๊ตแทนคำรับผิดชอบ (ใน Tag 245| c) โดยให้ข้อมูลในรายละเอียดไว้ในหมายเหตุด้วยคำอธิบายว่า “Ghost written by…. หรือ Ghost writer ….
และต้องเพิ่ม Tag 700 สำหรับชื่อนักเขียนผีด้วย ถ้าหากมีการลง Tag 500 หมายเหตุไว้
ดังนั้นบรรณารักษ์ สามารถลงรายการสำหรับ Compiler และ Ghost writer ได้โดย

Compiler หรือ ผู้รวบรวม มีสถานะเหมือนกับบรรณาธิการ การลงรายการสามารถลงตามหลังชื่อเรื่องได้คือ ที่ Tag 245 |c โดยรายการนั้นๆ ต้องลงแบบ Hanging คือ ไม่มีรายการหลัก แต่ต้องไปเพิ่มรายการเพิ่มชื่อ Compiler ให้ที่ Tag 700 จ้า
ส่วน Ghost writer ก็ลงรายการตามข้างต้นได้เลย 😛

 

//

2 thoughts on “มารู้จัก Ghost writer และ Compiler กันเถอะ

  • หนังสือต่างประเทศหลายเล่มบอกไปได้เลยว่าใครคือ Ghost written แต่งานเขียนภาษาไทย ยังไม่เคยเห็นที่บอกว่าตัวเองเป็น Ghost written อาจเป็นเพราะยังไม่มีศัพท์บัญญัติขึ้นมา แต่จะประดิษฐ์คำขึ้นมาใช้ซึ่งอ่านแล้วพอจะสื่อได้ หรือมาทราบกันหลังจากที่หนังสือนั้นดังติดตลาดในตอนหลังว่าคนเขียนที่แท้จริงคือใคร พี่นึกขำขำ ว่าภาษาไทยจะใช้คำว่าอย่างไรนะ แล้วเวลาลงรายการจะพิลึกแค่ไหน
    เรื่องนี้น่าสนใจนะ วันก่อนพี่ไปฟังเรื่องลิขสิทธิ์มีคนคุยตั้งวงคุยเรื่องพวกนี้ ในวงมีการพูดกันเรื่องอาชีพ Ghost written ที่ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดชีวิตของคนดัง กับ มือปืนรับจ้าง ที่มีนัยยะแย่ๆ ว่าหมายถึงพวกที่รับจ้างทำหรือทำผลงานทางวิชาการ/วิทยานิพนธ์/ รายงาน ว่ามันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร มีหนังสือเล่มนึงน่าสนใจไว้จะเอาให้อ่าน
    ขอบคุณอ้อ ที่เป็นคนหมั่นเพียรตอบโจทย์ ทุกอย่างที่ค้นคว้าจะสะสมอยู่ในตัวเอง คงเหมือนปูเนื้อแน่นๆ กินอร่อยเป็นแน่แท้

  • เมื่อสองวันก่อน อ่านเจอมีคนใช้คำว่า นักเขียนเงา ล่ะ ฟังๆก็โอเคนะ ดีกว่านักเขียนผี

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร