เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ จ. กำแพงเพชร

หลังจากที่พี่ตาไปเที่ยวน้ำตกคลองลานแล้ว ได้ไปเที่ยววัดเก่าแก่ ซึ่งเป็นโบราณสถาน ที่เหลือแต่ซากหินศิลาแลง ซึ่งในสมัยสุโขทัยได้ถูกพม่าตี และยังเหลือซากวัดหลงเหลืออยู่ เป็นโบราณสถาน และเป็นนับว่าเป็นอุทยานประวัติของเมืองกำแพงเพชร  ซึ่งที่อุทยานประวัติศาสตร์นี้ มีวัดอยู่ติดกันเรียงรายอยู่ถึง 4 วัด ได้แก่ วัดป่ามือนอก  วัดพระสี่อิริยาบถ  วัดสิงห์  และวัดช้างรอบ  เรียงตามลำดับ  ซึ่งพี่ตาได้เข้าไปชมและได้ถ่ายรูปมาฝากกันดู
วัดป่ามืดนอก
                                
                                 
                                
ในบริเวณอรัญญิกกำแพงเพชร แต่เดิม ก่อนประกาศเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ วัดป่ามืดนอก เป็นส่วนหนึ่ง ของบริเวณอรัญญิก แต่เมื่อประกาศเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว วัดป่ามืดนอก อยู่นอกรั้วของอุทยานประวัติศาสตร์ จึงมีคนเข้าชมน้อย เพราะคิดว่าไม่มีอะไรสำคัญ….ความจริงวัดป่ามืดนอก…มีความสำคัญและเป็นที่รู้จักของคนกำแพงเพชรก่อนวัดใดๆ ในเขตอรัญญิกด้วยมีพระเครื่อง พระบูชาที่งดงามและสมบูรณ์จำนวนมาก ….วัดป่ามืด อยู่ในบริเวณที่ต่ำสุดในเขตอรัญญิก ทำให้ ภูมิทัศน์ของวัดป่ามืด รกครึ้มและมืด มากกว่าวัดใดๆในบริเวณนั้น คนกำแพงเพชร จึงเรียกกันโดยทั่วไปว่าวัดป่ามืด ….สิ่งที่น่าประหลาดกว่าวัดอื่นๆก็คือ บริเวณที่ตั้งวัด มี ระดับของพื้นที่ต่ำมาก น่าจะสร้างก่อนวัดทุกวัดในเขตอรัญญิก วัดป่ามืดนอก เป็นวัดขนาดเล็ก มีโบสถ์ และเจดีย์ ทรงลังกา ขนาดย่อม…. ด้านสังฆาวาส ราษฎรเข้ามาปลูกที่อยู่อาศัยกันอยู่เต็ม จึงมิมีหลักฐานเหลืออยู่ …มีเจดีย์ราย เป็นหลักฐานที่ไม่ชัดเจน มีบ่อน้ำโบราณ ซึ่งบริเวณอรัญญิกกำแพงเพชร…แล้งน้ำ..จึงมีการขุดบ่อในทุกวัด ….
วัดป่ามืดนอกผู้สร้าง น่าจะเป็นคหบดี มิใช่เจ้าเมือง แต่พระเครื่องพระบูชาที่ค้นพบกับงดงามมาก จึงมิอาจสรุปได้….
…….สิ่งที่แปลกที่สุด ของวัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน..จะหาชมแห่งใดมิได้นอกจากวัดป่ามืดนอกแห่งนี้…จึงนับเป็นสิ่งประหลาดที่สุดของวัดป่ามืดนอก
วัดพระสี่อิริยาบถ
วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 เป็นวัดขนาดใหญ่และมีโบราณสถานที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มณฑปพระสี่อิริยาบถ ซึ่งเป็นรูปแบบเหมือนดังที่พบที่ วัดเชตุพน และวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จาก จารึกลานเงิน ที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑป ได้กล่าวไว้ว่า พระมหามุนีรัตนโมลี เป็นผู้สร้าง และ เสด็จพ่อพระยาสอย เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น
 โบราณสถานสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย  พระมหาวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าสุด
พระวิหารตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฐานไพทีชั้นล่าง ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ รอบลานประทักษิณ ประดับด้วยราวลูกกรงศิลาแลงโดยรอบ ฐานวิหารชั้นบน มีมุขเด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านบนมีแท่นอาสนะสงฆ์ และฐานชุกชี สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
มณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นมณฑปแบบจัตุรมุขขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ใช้แทนเจดีย์ประธาน ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร ล้มรอบด้วยกำแพงแก้ว รอบมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วย อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ
 
                                      
                            
พระพุทธรูป ปรางยืนทั้งสี่ด้านที่ยังเหลืออยู่ บางด้านจะถูกเผาจนมองไม่เห็นเป็นพระพุทธรูปแล้ว
วัดสิงห์
ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก มีวัดขนาดใหญ่มากมาย ประมาณ 40 วัดวัดหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบ คือ วัดสิงห์ทั้ง สี่ วัด เรียงต่อเนื่องกัน แทบจะกำแพงวัดติดต่อกันนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งของเมืองกำแพงเพชร จากวัดพระนอนที่มีเสาศิลาแลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก มาเป็นวัดพระสี่อิริยาบถ มีมหามณฑปยิ่งใหญ่พระนอน พระยืน พระนั่ง และพระนอน อยู่ในอิริยาบถที่งดงามห่างจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 10 เมตร มีวัดขนาดใหญ่ ที่คนทั่วไปมักจะผ่านไปไม่เข้าไปชม วัดนั้นคือ วัดสิงห์ วัดสิงห์นี้ มีกำแพงศิลาแลง โดยรอบทั้ง4 ด้าน ประตูทางเข้าอยู่ทางด้านตะวันออก 1 ทาง และทางตะวันตก 1 ทางภายในบริเวณวัดแบ่งเป็น เขตพุทธาวาส และสังฆาวาส ชัดเจนเช่นเดียวกับวัดอื่นๆในเขตอรัญญิก สิ่งก่อสร้างในเขตพุทธาวาสจะวางไม่ตรงตามแกนทิศตะวันออก ตะวันตก โดยจะเฉียงลงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อยจากการขุดแต่งวัดสิงห์ โดยกรมศิลปากร ในปี 2525พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของอาคารดังกล่าวคืออาคารใหญ่ที่อยู่หน้าสุดตั้งอยู่บนฐานทักษิณ สภาพในปัจจุบันคือพระอุโบสถด้วยมีฐานใบเสมาตั้งอยู่บนฐานทักษิณโดยรอบแต่ภายในโถงอาคารมีแนวอาสนสงฆ์ตรงผนังด้านทิศใต้ จึงทำให้ทราบว่าอาคารหลังนี้ดั้งเดิมคือวิหารที่สร้างให้เป็นแกนหลักของวัด ตามความนิยมสมัยสุโขทัยต่อมาในสมัยหลังหรือสมัยอยุธยาซึ่งนิยมสร้างโบสถ์ให้มีขนาดใหญ่ได้เปลี่ยนหน้าที่ของอาคารจากวิหาร เป็นอุโบสถโดยการปักเสมาโดยรอบ ใบเสมาที่ค้นพบสลักจากหินชนวน บางใบประดับลวดลายพรรณพฤกษาในกรอบลายรูป สามเหลี่ยมและที่ขอบของใบเสมาสลักเป็นแถวลาย กระหนกปลายแหลมซึ่งเป็นลวดลายศิลปะแบบอยุธยาลวดลายบนใบเสมา จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าการประดับใบเสมาเพื่อเปลี่ยนแปลงหน้าที่ใช้สอยอาคารจากวิหารเป็นพระอุโบสถอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาพระอุโบสถหรือวิหารตั้งอยู่บนฐานทักษิณขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับวิหารวัดพระสี่อิริยาบถบันไดทางขึ้นฐานทักษิณด้านหน้าสร้างแปลกกว่าที่อื่นคือบันไดทำเจาะลงไปในฐานก่อไม่ได้ก่อยื่นออกมาจากฐานชานชาลาด้านหน้าบนฐานทักษิณก่อเป็นแท่นยกสูง ขึ้นจากระดับพื้นประดับสิงห์ปูนปั้นทวารบาลและนาคที่มีแกนเป็นศิลาแลง พระอุโบสถหรือวิหารเดิมที่อยู่บนลานประทักษิณลักษณะอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานอาคารเป็นแบบฐานบัวลูกแก้วอกไก่เสารองรับเครื่องบนเป็นเสาแปดเหลี่ยม ในอาคารปรากฎแนวอาสน์สงฆ์และฐานชุกชีหรือแท่นประดิษฐานพระประธาน
เจดีย์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐสภาพในปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานหน้า กระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสามชั้นถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวส่วนยอดหักพังลง มีซุ้มยื่นออกมาจากฐานล่าง ทั้ง 4 ด้านภายในซุ้มมีร่องรอยการประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนศิลาแลง จากการขุดแต่งพบว่าน่าจะเป็นองค์ระฆังฐานสี่เหลี่ยม คล้ายกับเจดีย์วัดกำแพงงามคือเป็นแบบเจดีย์ทรงระฆังฐาน โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ได้เศียรพระพุทธรูปสำริดเศษภาชนะดินเผาทั้งเคลือบและไม่เคลือบ พบถ้วยจานเครื่องลายคราม สมัยราชวงศ์หมิงพบตะปูตอกเครื่องไม้ ใบเสมาหินชนวน โบราณวัตถุมีทั้งแบบสุโขทัย และอยุธยา ปะปนกันวัดสิงห์ จึงเป็นวัดที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งในเขตอรัญญิกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                 
                           
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ลึกมาก ที่มองเห็นแต่ปากบ่อลงไป
วัดช้างรอบ
หรือชื่อเดิม วัดช้างล้อม เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนเนินดินภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ใช้ศิลาแลง มีลายละเอียดของสถาปัตยกรรมที่สวยงาม สร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 20-21 ในยุคสุโขทัยตอนปลาย
                           
                          
 
                     
บ่อหินศิลาแลงที่มีสภาพเป็นหลุมลึก  หลังจากได้ขุดหินศิลาแลงมาก่อสร้างวัด   และยังมีหินศิลาแลงที่ยังคงอยู่ใต้ดิน บริเวณพื้นที่ในบริเวณวัดนี้อีกมาก
ถ้าขุดลงไปจะพบเป็นจำนวนมาก

เสมาสมัยสุโขทัย จะเป็นแท่งหิน วางโดยรอบโบสถ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร