อะไรๆ
อะไร ๆ ในชีวิต สักแต่ว่า เป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว เป็นชื่อหนังสือธรรมะเล่มน้อยของท่านพุทธทาสเล่มที่ ๙ เนื้อหาของหนังสือเป็นหลักธรรมตามแนวของท่านท่านเน้นประโยคที่ว่า ทุกอย่างทุกสิ่ง ทั้งหมดของเรื่องชีวิตหรือเกี่ยวกับชีวิต ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า จิต เพียงสิ่งเดียว ท่านบอกว่า
ตอนแรก มีแต่จิตล้วน ๆ เป็นธาตุตามธรรมชาติชนิดหนึ่งเท่านั้นไม่มีความผิดความถูกไม่มีความดีความชั่วไม่มีกิเลสอะไรอยู่ในจิตนั้นเป็นจิตล้วน ๆ เรียกว่าจิตล้วนๆ คือจิตประภัสสรตามธรรมชาติล้วน ๆตอนที่ ๒ ต่อมาจิตนั้นกลายเป็นจิตโง่เขลาเต็มไปด้วยกิเลสและอวิชชา เวียนว่ายไปในวัฏสงสารอันยาวนานแสนนาน ด้วยความเจ็บปวดอย่างยิ่งนี้ตอนหนึ่ง ตอนที่ ๓ จิตนี้กลับตัว ลืมหูลืมตาขึ้นมา รู้จักทุกข์รู้จักโทษในการเวียนว่ายในวัฏฏะมันก็อบรมตัว เจริญธรรมะให้มีขึ้นในจิต จนจิตนั้นหลุดออกไปจากกิเลสหลุดไปจากวัฏสงสาร ถึงสภาพที่เป็นนิพพาน ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไปมีสามขั้นตอน
คือ ตั้งต้นด้วยจิตล้วน ๆ แล้วจิตมีกิเลสแล้วจิตหมดกิเลสเรื่องมันจบ หรือ กล่าวอีกแบบหนึ่งก็ว่า
ขั้นที่ ๑ ตั้งต้นจากจิตไม่มีตัวตน จิตล้วน ๆ ไม่มีความคิดนึกว่าตัวตน ขั้นที่ ๒ จิตมันโง่ มีความรู้สึกว่ามีตัวตน มีตัวกู–ของกู แล้วพอมาขั้นที่๓ จิตหมดความรู้สึกว่ามีตัวตน ไม่มีตัวตนในความรู้สึกของจิต ก็สามตอน นี้จบ
ท่านพุทธทาสให้ความสำคัญของจิตใจมาก ทำให้เกิดคำถามว่าเริ่มต้น เรารู้จักจิตของเราหรือยัง? วันนี้เราเก็บอะไรไว้ในจิตเราบ้าง เคยเคลียร์ออกบ้างหรือเปล่า?หรือเก็บไว้ทุกอย่าง สำหรับให้ทุกข์ใจเล่นๆ? จิตเช่นนี้ จะนำพาชีวิตไปได้อย่างไรเพราะ อะไร ๆ ในชีวิต สักแต่ว่า เป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว