Zotero กับ Word Processing เพื่อทำรายการบรรณานุกรม/รายการอ้างอิงในงานวิจัยฯ

เมื่อเราได้รู้จักการใช้งานโปรแกรม Zotero กันไปแล้ว ทีนี้เราลองมาทำความรู้จักกับการใช้งาน Zotero ในโปรแกรม Word Processing เพื่อทำรายการบรรณานุกรม/รายการอ้างอิงในงานวิจัย รายงาน วิทยานิพนธ์ หรือบทความ เป็นต้น (ที่เราๆ ท่านๆ ต้องทำกันเป็นปกติเมื่อทำงานวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ หรือเขียนบทความ…นั้นเอง)
การใช้งาน Zotero ในโปรแกรม Word Processing (ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ Microsoft Word)
1) ติดตั้ง Word Processor Plugins for Zotero (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.zotero.org)
zo11
2) เปิดใช้งานโปรแกรม Microsoft Word จะปรากฏไอคอนการใช้งานของ Zotero โดย
– Microsoft Word 2003 จะปรากฏเมนูไอคอน Zotero ที่ Toolbar
– Microsoft Word 2007 จะปรากฏเมนูไอคอน Zotero ที่เมนู Add-Ins
zo12
การทำรายการบรรณานุกรม/รายการอ้างอิงใน Microsoft Word มี 2 วิธี คือ
1) การใส่รายการอ้างอิงในเนื้อหา
1.1 เปิดข้อมูลผลงานทางวิชาการของตนเอง (วิทยานิพนธ์ / บทความ / งานวิจัย เป็นต้น) จากนั้นคลิกเมาส์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการอ้างอิง คลิกปุ่ม Insert Citation จะปรากฏหน้าต่างเลือกรูปแบบบรรณานุกรมที่ต้องการ เช่น American Psychological Association 6th Edition (APA) เป็นต้น (จะปรากฎครั้งแรกเพียงครั้งเดียว) เมื่อเลือกแล้ว คลิกปุ่ม OK
1.2 จะปรากฎหน้าจอแสดงรายการบรรณานุกรมที่มีอยู่ใน Zotero ทั้งหมด ให้คลิกเลือกรายการบรรณานุกรม/รายการอ้างอิงที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK จะได้รายการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาตามต้องการ
zo8
2) การสร้างรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม/ท้ายเรื่อง
2.1 ไปที่หน้าสุดท้ายของผลงานทางวิชาการที่ต้องการทำรายการบรรณานุกรม แล้วพิมพ์คำว่า บรรณานุกรม กด Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่
2.2 จากนั้นคลิกปุ่ม Insert Bibliography ระบบจะนำรายการอ้างอิงที่อ้างไว้ในเนื้อหามาทำเป็นรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม/ท้ายเรื่องให้
zo9
2.3 หากต้องการทำรายการบรรณานุกรมท้ายเล่มทั้งหมด (ที่ไม่ได้มีเฉพาะที่เป็นรายการอ้างอิงในเนื้อหา) สามารถทำได้โดย
– ไปที่หน้าจอโปรแกรม Zotero เลือกรายการบรรณานุกรมที่ต้องการ แล้วคลิกขวาเลือกที่ Create Bibliography from Selected Items… โดยเลือกรูปแบบบรรณานุกรมที่ต้องการ จากนั้นเลือก Output Format เป็น Copy to Clipboard แล้วนำมา Paste ที่บรรณานุกรมท้ายเล่ม หรือ
– ไปที่หน้าที่ต้องการทำรายการบรรณานุกรมท้ายเล่ม จากนั้นไปที่เมนู Insert ของ Microsoft Word คลิกที่ Toolbar Object เลือก Text from File จะปรากฎหน้าจอให้เปิดไฟล์ โดยเลือกไฟล์รายการบรรณานุกรมที่ save เก็บไว้ (xxxx.rtf) รายการบรรณานุกรมทั้งหมดที่ save ไว้ ก็จะมาปรากฎที่ส่วนบรรณานุกรมท้ายเล่มตามต้องการ
zo10
ข้อสังเกต : ตรงข้อมูลบรรณานุกรมภาษาไทย อาจตั้งปรับข้อความเล็กน้อย เช่น คำว่า และ จะได้เครื่องหมาย & (ให้แก้เป็นคำว่า และ) หรือ (n.d.) ก็แก้เป็น ม.ป.ป. เป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือเรื่องเกี่ยวกับ Zotero ที่อยากเล่าให้ฟัง ความจริงแล้วยังมีเรื่องต่างๆ อีกมากมายที่ Zotero ทำได้ ซึ่งจะมาค่อยๆ เล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป
หวังว่า Zotero คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการทำรายการบรรณานุกรม / รายการอ้างอิง ซึ่งอาจจะนำมาใช้แทนโปรแกรม EndNote ได้ หากไม่มีสตางค์มากพอที่จะซื้อหามาใช้งาน  😎

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร