การทำรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero

หลังจากที่เรารู้จัก Zotero ในเบื้องต้นกันไปแล้ว … ทีนี้เราก็จะมาดูกันว่าเราสามารถจะทำรายการบรรณานุกรมได้ยังไง
การทำรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero สามารถทำได้หลายวิธี (พอสรุปได้อย่างง่าย ๆ ได้ 4 วิธี) ดังนี้
1) การทำรายการบรรณานุกรมโดยตรง ทำได้โดย
เลือกประเภทวัสดุสารสนเทศที่ต้องการทำรายการบรรณานุกรม เช่น หนังสือ บทความวารสาร เป็นต้น จากนั้นป้อนข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่คอลัมน์ด้านขวา (ส่วนรายละเอียดข้อมูลของรายการ) ของโปรแกรม Zotero เช่น Author, Title, Edition, Place, Publisher, Date เป็นต้น ก็จะได้รายการบรรณานุกรมปรากฎที่คอลัมน์ตรงกลาง
zo3
2) การทำรายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดต่างๆ (Web OPAC) ทำได้โดย
เปิดเว็บไซต์ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด (Web OPAC) และทำการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ เช่น หนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ เป็นต้น จากนั้นคลิกเลือกรายการที่ต้องการเพื่อดูรายละเอียด แล้ว save รายการบรรณานุกรมนั้นมาไว้ที่หน้าจอของ Zotero จะได้รายการบรรณานุกรมปรากฎที่คอลัมน์ตรงกลาง
zo4
3) การทำรายการบรรณานุกรมจากฐานข้อมูลออนไลน์ หรือเว็บไซต์ ทำได้โดย
เปิดเว็บไซต์ฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น Science Direct, Emerald, Wikipedia หรือ video จากเว็บไซต์ Youtube เป็นต้น จากนั้นทำการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ เช่น หนังสือ บทความ วิดีโอ เป็นต้น จากนั้นคลิกเลือกรายการที่ต้องการเพื่อดูรายละเอียด แล้ว save รายการบรรณานุกรมนั้นมาไว้ที่หน้าจอของ Zotero จะได้รายการบรรณานุกรมปรากฎที่คอลัมน์ตรงกลาง
zo5
4) การทำรายการบรรณานุกรมจากหมายเลข ISBN, DOI หรือ PubMed ID
เป็นการนำหมายเลข ISBN หรือ DOI หรือ PubMed ID ที่ทราบ มาทำการค้นหา เพื่อให้ได้รายการบรรณานุกรมบนหน้าจอ Zotero ทำได้โดยใส่หมายเลข ISBN หรือ DOI หรือ PubMed ID ในแถบค้นหา แล้วกด Enter ระบบจะทำการค้นหา และ save รายการบรรณานุกรมนั้นที่หน้าจอ Zotero จะได้รายการบรรณานุกรมปรากฎที่คอลัมน์ตรงกลาง
zo6
ไม่ว่าจะทำรายการบรรณานุกรมด้วยวิธีไหนก็ตาม เมื่อได้รายการบรรณานุกรมตามต้องการแล้ว ทำการ save รายการบรรณานุกรม โดยเลือกรูปแบบบรรณานุกรมที่ต้องการ เช่น American Psychological Association 6th Edition (APA), Vancouver เป็นต้น จากนั้นเลือก Output Format หากเลือกเป็น Copy to Clipboard จะสามารถนำไป Paste เป็นรายการบรรณานุกรมใน Microsoft Word ได้ทันที หากยังไม่ต้องการเอาไปใช้งานทันทีก็สามารถ Save as RTF เป็นไฟล์เก็บไว้ก่อนได้
zo7
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีการทำรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero … ในครั้งต่อไปจะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ การใช้งาน Zotero ในโปรแกรม Word Processing เพื่อทำรายการบรรณานุกรมในงานวิจัย รายงาน วิทยานิพนธ์ หรือบทความ  😆

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร