เล่าเรื่อง Zotero

Zotero คืออะไร… Zotero ใช้ทำอะไร…
ความจริงเมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน ในโครงการ IT & Librarian Update ของหอสมุดฯ ได้เคยมีการพูดกันถึงเรื่องนี้มาก่อน โดยคนที่มาเล่าให้ฟัง ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นพี่พัชรี แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่ได้มีการหยิบยกมาพูดหรือทำอะไรเป็นชิ้นอันเท่าไรนัก…
วันนี้จะมาเล่าให้เพื่อนพ้องน้องพี่ฟังอย่างคร่าวๆ พอเป็นที่เข้าใจในเบื้องต้น ก่อนที่จะเข้าสู่เบื้องลึกกันต่อๆ ไป …เพราะเรื่องมันยาววววว
Zotero เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์สที่ใช้งานร่วมกับเว็บบราวเซอร์ที่ชื่อว่า Mozilla Firefox สำหรับใช้ในการจัดทำรายการบรรณานุกรม คล้ายกับโปรแกรม EndNote (ซึ่งโปรแกรม  EndNote เป็นโปรแกรมที่ต้องจัดซื้อ และมีราคาที่ค่อนข้างสูง) โดยที่แหล่งที่มาอาจเป็นเอกสารชนิดต่างๆ ที่เป็นรายการอ้างอิง เช่น หนังสือ ไฟล์ประเภท pdf  รูปภาพ เอกสารฉบับเต็ม เว็บเพจ ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลห้องสมุด และไฟล์ชนิดอื่นที่สืบค้นได้จากแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังสามารถแทรกรายการบรรณานุกรมเข้าไปในงานวิจัย รายงาน วิทยานิพนธ์ หรือบทความ และสามารถถ่ายโอนข้อมูลบรรณานุกรมที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนตัว สร้างรูปแบบรายการบรรณานุกรมได้มาตรฐาน
Zotero สามารถสืบค้น รวบรวม ถ่ายโอน (Export) และจัดการกับรายการบรรณานุกรมอย่างเป็นระบบ สามารถจัดทำบรรณานุกรมได้หลากหลายรูปแบบ (Styles) เช่น Vancouver, APA เป็นต้น สามารถสร้างและแก้ไขรายการบรรณานุกรมตามรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว รวมถึงสามารถแทรกรายการบรรณานุกรมที่ต้องการลงไปในรายงาน งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือบทความได้ รวมถึงสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วไป เช่น โปรแกรม Microsoft Word โปรแกรมOpen Office เป็นต้น
การใช้งาน Zotero ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรนัก เพียงแค่…
1) ติดตั้งโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Mozilla Firefox (ถ้าในคอมพิวเตอร์ยังไม่มีเว็บบราวเซอร์นี้)
2) ติดตั้งโปรแกรม Zotero (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.zotero.org)
การเรียกใช้งานโปรแกรม Zotero จะต้องเปิดเว็บบราวเซอร์ Mozilla Firefox ก่อน จะเห็นปุ่ม Zotero ที่มุมขวาล่างของหน้าจอ zo1
Zotero แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) การจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ (Collection) ตามที่ต้องการจัดเก็บ แต่หากไม่ต้องการแยกเป็นหมวดหมู่ ทุกรายการที่สืบค้นได้จะไปเก็บอยู่ที่โฟลเดอร์ Library ทั้งหมด 2) รายการข้อมูลที่สืบค้นและจัดเก็บทั้งหมดในโฟลเดอร์ และ 3) รายละเอียดข้อมูลของรายการเรื่องนั้นๆ
zo2
เพียงเท่านี้เราก็จะได้โปรแกรม Zotero ไว้สำหรับทำรายการบรรณานุกรมกันแล้ว … 😉

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร