เรื่องของ "ชื่อ"

:mrgreen: วันนี้เปิด AACR2 อ่าน chapter 22 เรื่อง headings for persons เนื่องจากช่วงนี้ห้องสมุดชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับ Southeast Asia เข้ามาบริการในห้องสมุด ตามเทรนด์ go to ASEAN ซึ่งหนังสือเหล่านี้ก็จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และ พม่า รวมทั้ง ชื่อบุคคลในประเทศเหล่านนี้ ทั้งที่เป็นรายการหลักและหัวเรื่อง ก็เลยต้องมาเปิด AACR2 เพื่อดูรูปแบบการลงรายการชื่อบุคคลในประเทศเหล่านี้ อย่างวันนี้ก็ตรวจรายการบรรณานุกรมของหนังสือที่เกี่ยวสงครามเวียดนาม เรื่อง A vietcong memoir เขียนโดย Truong Nhu Tang (ชาวเวียดนาม) ก็เลยต้องตรวจสอบว่า ชื่อชาวเวียดนามนั้นเค้าลงรายการอย่างไร ส่วนไหนเป็นชื่อ ส่วนไหนเป็นนามสกุล
ในกฎ AACR2  chapter 22 เรื่อง headings for persons อธิบายเรื่องการลงรายการชื่อบุคคลตามเกณฑ์ต่างๆ ไว้มากมาย (บรรณารักษ์ท่านใดสนใจก็สามารถไปหาอ่านได้ค่ะ ฉบับที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ใช้เป็นคู่มือเป็นฉบับ ANGLO-AMERICAN CATALOGUING RULES ฉบับ 2 nd edition revision 2002) พบว่า หากเป็นชื่อของบุคคลในแถบเอเชียของเราต้องดูที่กฎข้อ Special Rules for Names in Certain Languages
22.21 Introductory Rule
22.22 Names in the Arabic Alphabet
22.23 Burmese and Karen Names
22.24 Chinese Names Containing a Non-Chinese Given Name
22.25 Indic Names
22.26 Indonesian Names
22.27 Malay Names
22.28 Thai Names
แต่จะเห็นได้ว่า มีกฎการลงรายการเฉพาะชื่อของชาวพม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย  แต่ไม่มีชาวเวียดนาม ก็เลยต้องค้นจากแหล้งอื่นว่า ชื่อชาวเวัยดนามเค้ามีที่มาที่ไปอย่างไร ก็เลยไปได้ข้อมูลจาก http://www.nitipoom.com/th/article1.asp?idOpenSky=2236&ipagenum=6 ของ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ว่า ชื่อของชาวเวียดนามนั้น  “จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน นามสกุลจะอยู่หน้าสุด ส่วนชื่อจะอยู่หลังสุด เพราะนามสกุลคนเวียดนามมีไม่กี่นามสกุล”
….. มีบ้างที่มีเพียงสองส่วน ส่วนแรกเป็นชื่อแซ่ตระกูล เช่นที่เราพบเห็นกันบ่อยเช่น Nguyen,Tran,Le,Vu,Vo,Hoang,Huynh,Pham,Ngo,Truong,Phan,Doan,Thai,Trinh,Dang,Bui,Lam,Cao,Duong,Dinh,Do,Luu,Ly… ส่วนที่สองจะเป็นชื่อกลางบอกลักษณะเฉพาะ อย่างบ้านเราก็นางสาว หรือนาย เช่น Van,Dinh,Huu,Thi … ส่วนนี้ที่ทำให้รู้ว่าคนนี้เพศ อะไร เพศหญิงจะนิยมใช้คำว่า Thi (ถิ) มาจากคำว่า ชิ ในภาษาจีน เพศชายจะนิยมใช้คำว่า Van,Huu,Duc(ดึ้ก),Dinh,Xuan,Ngoc,Quang(กวาง),Cong…
ส่วนคำสุดท้ายเป็นชื่อจริงที่เราใช้เรียกกัน อย่างคนหนึ่ง ชื่อ Nguyen Van Nam(เหวียน ฟวัง นาม) ชื่อ จริง คือ นาม ,ฟวัง แสดงว่าเป็นเพศชาย,แซ่สกุล เหวียน โดยมากแซ่ตระกูล เหวียน จะมีเยอะมากมาก ชื่อส่วนมากมีที่มาจากเทพเจ้า หรือวีรบุรุษ ในตำนาน ซึ่งดูจากการเรียงคำแล้วคล้ายของฝรั่ง แต่บางทีชื่อกลางไม่มี…. (สรุปจาก : http://vietmembers.blogspot.com/2007/04/vietnamese-name.html )
ซึ่งถ้าหากเป็นไปตามนี้แล้ว หนังสือเรื่อง A vietcong memoir ที่เขียนโดย Truong Nhu Tang ก็ต้องลงรายการดังนี้
100 1 Truong, Nhu Tang    เพราะ Truong เป็นนามสกุล และ Tang เป็นชื่อตัว
ปล. จากการอ่านได้ความรู้เพิ่มเติมมาอีกว่า ผู้ชายชาวเวียดนามจะใช้คำนำหน้าว่า “องค์” หมายถึง “Mister” อย่างตัวอย่างข้างต้น  ก็ต้องเรียก “องค์ถัง” หรือ “Mister Tang”

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร