เมื่อวารสารแปลงร่างเป็นหนังสือ

:mrgreen: เห็นชื่อเรืองอย่าเพิ่งตกใจ เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ได้รับโจทย์คำถามมาว่า หากเราอยากจะวิเคราะห์หมวดหมู่วารสารที่เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องเช่น วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร  ลงในฐานข้อมูลทรัพยากรของหอสมุดฯ จะมีวิธีการทำเช่นไรให้เป็นมาตรฐาน โดยลงรายการและให้เลขหมู่ หัวเรื่องเหมือนหนังสือ สามารถยืม-คืนได้แบบหนังสือ  เนื่องจากในฐานของเรามีการลงรายการวารสารที่นำมาวิเคราะห์หมวดหมู่เป็นหนังสือที่หลากหลายและมากมายหลายอย่าง เมื่อได้รับโจทย์มาก็ต้องไปหาคำตอบ
จากการตรวจสอบข้อมูลในฐานฯพบว่า ในฐานข้อมูลของเรานั้นมีวารสารหลากหลายชื่อที่นำมาวิเคราะห์หมวดหมู่เป็นหนังสือ ดังนั้นจึงเริ่มจากวาสารชื่อที่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร เนื่องจากวารสารมหาวิทยลัยศิลปากรเป็นวารสารมีชื่อเรื่องและมีเนื้อหาในแต่ละฉบับแตกต่างกันไป ในฐานข้อมูลมีทั้งหมด 29 รายการ (แต่หลายเล่ม) เริ่มจากการให้เลขหมู่ (Tag 050) ก็จะให้ไปตามเนื้อหาของแต่ละเล่ม

ส่วนรายการหลัก (Tag 110) บางรายการลงที่ผู้รับผิดชอบคือ มหาวิทยาลัยศิลปกร บางรายการทำเป็นรายการที่ไม่มีผู้รับผิดชอบ หรือรายการ Hanging ซึ่งมีทั้งของที่เป็นวิทยาเขตสนามจันทร์และวิทยาเขตอื่นๆ
ส่วนการลงรายการชื่อเรื่อง (Tag 245) นั้นก็หลากหลายเช่นกันทั้งที่ใช้ชื่อวารสารและชื่อแต่ละฉบับเป็นชื่อเรื่อง
ส่วนรายละเอียดของวารสาร เช่น ปีที่ ฉบับที่ นั้นจะใส่ไว้ที่ Note (Tag 500) ใน Bibliographic Record บ้าง ใส่ไว้ที่ Note ที่ Item Record บ้าง
ดังนั้นจึงลองเข้าไปศึกษารายละเอียดของ MARC 21 ที่ http://www.loc.gov/marc/ เพื่อหามาตรฐานการลงรายการที่เหมาะสม ในส่วน
20X-24X – Title and Title-Related Fields – General Information มีรายละเอียดที่คาดว่า น่าจะนำมาใช้ได้ดังนี้
Tag 246 น่าจะเป็น Tag ที่น่าจะใช้กับกรณีนี้ได้ โดย
*** ในรายละเอียดที่อธิบายใน Tag 246  Indicator ตัวที่ 2 เลข 2 – Distinctive title ได้อธิบายไว้ดังนี้
Distinctive title คือ ชื่อเรื่องพิเศษที่ปรากฏนอกเหนือจากชื่อเรื่องปกติ ในแต่ฉบับ เพื่อให้เป็นที่รู้จักหรือดูโดดเด่น โดยมีหมายเหตุบอกถึงลักษณะพิเศษนั้น โดยมากมักพบในรายงานประจำปี หนังสือรายปี หรือรายงานการประชุม เพื่อชี้เฉพาะหัวเรื่อง หรือ Theme ของเล่มนั้นๆ ชื่อนั้นจะต้องไม่ซ้ำกับชื่อชุด หรื่อเรื่องเพิ่มอื่นๆ เมื่อใช้ชื่อเรื่องนี้แล้ว จะต้องตามด้วย |f เสมอ เพื่อบอกรายละเอียดปีของแต่ละฉบับ (http://www.loc.gov/marc/bibliographic/bd246.html)
และถ้าส่วนมาก หรือทุกฉบับมีชื่อเรื่องพิเศษ หรือชื่อเฉพาะ ก็ต้องเพิ่มใน Tag 500 ด้วยว่า “Some issues have also distinctive title”  หรือ “แต่ละฉบับมีชื่อเฉพาะ”
*** แม้ว่าจะไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับวารสาร ***

ดังนั้นจึงขอนำเสนอแนวทางการลงรายการสำหรับวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรดังนี้
1. ลงรายการหลักหรือผู้รับผิดชอบ Tag 110 ที่ชื่อมหาวิทยาลัยศิลปากร คือ
110 2  |aมหาวิทยาลัยศิลปากร.
2. ให้ลงรายการชื่อวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ Tag 245 |a และชื่อเรื่องของแต่ละฉบับที่ |b เช่น
245 10 |aวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร :|bฉบับการเมืองเรื่องพื้นที่ /|cมหาวิทยาลัยศิลปากร
3. ลงรายการเพิ่มชื่อเรื่อง Tag 246 ให้ใช้ชื่อเรื่องรอง ( |b ที่ Tag 245 ) ใส่ที่|a แล้วนำปีที่ ฉบับที่ ที่อยู่ใน Note ต่างๆมาใส่ |f เช่น

246 12 |aการเมืองเรื่องพื้นที่|fปีที่ 24 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2547.
4. ลงรายการที่ Note Tag 500 ว่า
500  แต่ละฉบับมีชื่อเฉพาะ
นอกจากนี้การลงรายการแบบนี้จะใช้ได้กับการลงรายการหนังสือที่เป็นรายงานการประชุมทางวิชาการต่างๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปีและหัวข้อการประชุมหรือชื่อเรื่องการประชุม หรือ Theme ของงานเปลี่ยนไปทุกปี เช่น
การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
การประชุม PULINET วิชาการ
การประชุมใหญ่สามัญและประชุมวิชาการประจำปี…สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ฯลฯ
ซึ่งมีหนังสือของการประชุมเหล่านี้ออกมามากมาย ชื่อเรื่องที่ปรากฎในแต่ละครั้งแต่ละปีก็จะแตกต่างกันไปเช่น
 
– การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา….
– รายงานการสัมมนา ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา….
– เอกสารการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา….
– เอกสารประกอบการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา….
ฯลฯ ทำให้ยุ่งยากต่อการสืบค้น

บรรณารักษ์อาจต้องหารือร่วมกันเพื่อหาชื่อเรื่องที่เป็นชื่อเรื่องหลักให้ได้ สำหรับหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ของเราอาจลงรายการเป็นลักษณะรายการที่เป็น Hanging เนื่องจากหน่วยงานที่จัดการประชุมเปลี่ยนไปทุกปี และหอสมุดฯไม่ได้ใช้ Tag 111 ดังนั้นสามารถลงรายการได้ดังนี้
245 00 การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาครั้งที่ 22 เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและความท้าทายของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 /|cจัดทำโดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล.
246 12 เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและความท้าทายของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21|f2547
500 แต่ละฉบับมีชื่อเฉพาะ
และ เพิ่ม Tag 246 ชื่อเรื่องที่แตกต่างอื่นๆ อีกด้วยก็ได้
🙄 ปล. เนื้อหาข้างต้นเป็นการนำเสนอแนวคิดของผู้เขียนเพียงคนเดียว บรรณารักษ์ท่านใด มีความรู้เรื่อง MARC หรือเคยศึกษามาบ้าง ก็สามารถนำเสนอแนวคิดได้่ค่ะ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันค่ะ

//

3 thoughts on “เมื่อวารสารแปลงร่างเป็นหนังสือ

  • cat.วารสาร ก้อ cat วารสาร … เอาวารสารมา cat. แปลงเป็นหนังสือมากๆ แบบที่เราทำมากๆเข้า เริ่มปวดหัวเพราะชื่อวารสารในฐานมันจะซ้ำกันยุ่งขิงไปหมด ขืนเป็นแบบนี้คนที่อ่านโอแพคออกก็จะเหลือแต่บรรณารักษ์
    อาจารย์พี่เคยสอน จำได้แค่ว่า cat.วารสารทุกเล่ม .. ในเมืองนอกฝ่ายวารสารจะ cat.กันเป็นล่ำเป็นสัน
    ลองอ่านที่นี่ค่ะ พี่ว่าเค้ายกตัวอย่างง่ายดี http://library.ust.hk/info/catman/serials/analytical.html เห็นวิธีการทำคู่มือของเค้าแล้วทึ่งมากกกกก

  • ขอบคุณค่ะพี่ปอง ดูแล้วคิดว่ามีประโยชน์อาจเปลี่ยนการ Cat ดูค่ะ เดี๋ยวเช็คก่อนว่า เราใช้ tag บางตัวหรือเปล่าเพราะคราวที่แล้วเช็คดูเราไมได้เปิดใช้บาง tag ค่ะ

  • หมั่นศึกษาไว้ดีแล้ว บางทีการบอกต่อจะมาไม่ครบด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร