เรื่องของ Editions

:mrgreen: ปัญหาที่พบเห็นสำหรับบรรณาัรักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่ คือ การตรวจสอบข้อมูลของหนังสือเล่มที่จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่และการตัดสินใจเกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น เช่น
– การตรวจสอบข้อมูลของหนังสือเล่มที่เคยอยู่เดิมในฐานข้อมูล บรรณารักษ์ผู้วิเคราะห์หมวดหมู่พิจารณาว่าเป็นคนละเล่มกัน (ฉบับพิมพ์ครั้งใหม่) แล้วทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ใหม่ โดยพิจารณาความแตกต่างของหนังสือเล่มที่จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่กับเล่มที่มีอยู่เดิมว่า เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ใหม่
ซึ่งอาจเป็นการพิจารณาที่ผิดพลาดก็ได้ เพราะหนังสือเล่มที่จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่นั้นอาจเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ซ้ำก็ได้ ดังนั้นเรามาดูเกณฑ์ของการพิจารณาหนังสือ ว่าหนังสือเล่มนั้นๆ เป็นการพิมพ์ครั้งใหม่ หรือ การพิมพ์ซ้ำ สมควรจะวิเคราะห์หมวดหมู่ใหม่ หรือ สมควรเป็นหนังสือเพิ่มทะเบียน
จากเว็บไซต์ Cataloger’s Reference Shelf หัวข้อ Subject Cataloging Manual:  Shelflisting ในหมวด General (http://www.itsmarc.com/crs/mergedProjects/scmshelf/scmshelf/g_145_editions_shelf.htm
ได้ให้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับ Edition ไว้อย่างนี้ค่ะ
1.กรณีที่ฉบับพิมพ์ที่มีผู้แต่งคนเดิมและชื่อเรื่องเดิม
ถ้าฉบับพิมพ์ถัดมาหรือฉบับครั้งใหม่ หนังสือเล่มนั้นยังเป็นผู้แต่งคนเดิมและใช้ชื่อเรื่องเดิมอยู่ การวิเคราะห์หมวดหมู่ให้ใช้เลขเดิมและเลขคัตเตอร์เดิม แต่ให้เพิ่มปีที่ใต้เลขหมู่เพื่อให้รู้ว่าเป็น Eition ใหม่  ตัวอย่าง
050  4     QD31.2 Z84 1993
100  1      Zumdahl, Steven S
245  10   Chemistry
250           3rd ed
260          ……|cc1993
……………………………………….

050  4     QD31.2 Z84 1997
100  1      Zumdahl, Steven S
245 10    Chemistry
250           4th ed
260           ……|cc1997
………………………………………


050  4       QD31.2 Z84 2000
100  1       Zumdahl, Steven S
254  10     Chemistry
250            5th ed
260            ……..|cc2000
2.การณีที่ฉบับพิมพ์ที่มีผู้แต่งคนเดิมและชื่อเรื่องใหม่
ถ้าฉบับพิมพ์ถัดมาหรือฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ หนังสือเล่มนั้นยังเป็นผู้แต่งคนเดิมและแต่ใช้ชื่อเรื่องใหม่ การวิเคราะห์หมวดหมู่ให้ใช้เลขเดิมและเลขคัตเตอร์เดิม แต่ให้เพิ่มปีที่ใต้เลขหมู่เพื่อให้รู้ว่าเป็น Eition ใหม่ แต่บรรณารักษ์ต้อง Note ลงในรายการบรรณานุกรมเกี่ยวกับชื่อเรื่องที่แตกต่างนั้น ตัวอย่าง
050   4      TX907 C65
100    1      Collin, Richard H
254  14      The New Orleans underground gourmet
260             ………..|cc1970.
…………………………………………………………………..

050   4        TX907 C65 1973
100    1         Collin, Richard H
254   14        The revised New Orleans underground gourmet
260              …………….|cc1973.
500              Published in 1970 under title:  The New Orleans underground gourmet
3.กรณีที่เปลี่ยนทั้งผู้แต่งหรือผู้รับผิดชอบและชื่อเรื่องเดิม ไปจากฉบับพิมพ์ครั้งก่อนหน้า ตามหลัก AACR2 การวิเคราะห์หมวดหมู่ให้ใช้เลขเดิมและเลขคัตเตอร์เดิม แต่ให้เพิ่มปีที่ใต้เลขหมู่เพื่อให้รู้ว่าเป็น Eition ใหม่ แต่บรรณารักษ์ต้อง Note ลงในรายการบรรณานุกรมเกี่ยวกับชื่อเรื่องที่แตกต่างนั้น ตัวอย่าง
ตัวอย่าง:
050  4           TL448 .B18 B585
100   1           Bishop, Mike.
254  10         BMW, 500-1000cc twins, 1970-1978 … / by Mike Bishop
250                1st ed
260               ……………..|cc1978.
……………………………………………………………………………………………

050   4               TL448 .B18 B585 1979
100    1               Bishop, Mike.
245  10             BMW 500-1000cc twins, 1970-1979 … / by Mike Bishop
250                   2nd ed
260                 ……………..|cc1979.
………………………………………………………………………………………………..

050   4                TL448 .B18 B585 1983
254  00              BMW 500-1000cc twins, 1970-1982 … / Eric Jorgensen, editor
250                    4th ed
260                   ……………….|cc1983.
500                  Rev. ed. of:  BMW 500-1000cc twins, 1970-1980 / Mike Bishop. 3rd ed. c1982.


4.กรณีที่เป็นรายการไม่มีผู้รับผิดชอบ (มีแต่บรรณาธิการหรือ Editor) ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการหลัก ฉบับพิมพ์ครั้งใหม่ชื่อเรื่องเปลี่ยน ให้วิเคราะห์หมวดหมู่เลขเดิม แต่ให้คัตเตอร์ใหม่ที่ชื่อเรื่อง แต่ให้เพิ่มปีที่ใต้เลขหมู่เพื่อให้รู้ว่าเป็น Eition ใหม่ แต่บรรณารักษ์ต้อง Note ลงในรายการบรรณานุกรมเกี่ยวกับชื่อเรื่องที่แตกต่างนั้น ตัวอย่าง
ตัวอย่าง
050   4           RD98 .M36 1975
254   00         Management of surgical complications
250                 3rd ed
260                 …………..|cc1975
500                First and 2nd editions published under title:  Complications in surgery and their management, are entered under Artz, Curtis Price.
………………………………………………………………………………………………….
050   4          RD98 .C65 1981
245  00         Complications in surgery and their management
250                4th ed
260                 ……………….|cc1981
500                Fourth ed. of:  Management of surgical complications.


***ในบางครั้งแต่ละห้องสมุดอาจมีข้อตกลงหรือการพิจาณาที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
อย่างเช่น หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มีข้อตกลงว่า หากหนังสือเล่มที่จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่ มีข้อมูลที่แตกต่างออกไปจากเล่มเดิมที่มีอยู่แล้ว อาทิเช่น
1. การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ แต่ผู้แต่งเดิมและชื่อเรื่องเดิม ในการวิเคราะห์หมวดหมู่จะให้เลขหมวดหมู่เดิมแต่เลขคัตเตอร์ผู้แต่งจะเลื่อนตัวเลขไป 1 ตำแหน่ง
2. การพิจารณาส่วนอื่นๆ ของหนังสือ นอกเหนือจากการดูครั้งที่พิมพ์ อย่างเลข ISBN หรือจำนวนหน้า เพื่อประกอบการพิจารณาว่าหนังสือเล่มนั้น เป็นการตีพิมพ์ใหม่หรือไม่
*** ส่วนมากหนังสือภาษาต่างประเทศจะไม่ค่อยพบปัญหาในการพิจารณา แต่กับหนังสือภาษาไทยค่อนข้างมีปัญหา เช่น หนังสือที่จะดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่นั้น เมื่อตรวจสอบพบว่าเคยมีเล่มเดิมอยู่ พิจารณาแล้ว เป็นผู้แต่งคนเดิม ชื่อเรื่องเดิม จำนวนหน้าเท่าเดิม แต่เลข ISBN เปลี่ยน เราจะถือว่าหนังสือเล่มนั้นเป็นการพิมพ์ครั้งใหม่หรือไม่ หรือบางครั้งใช้เลข ISBN เดิม แต่จำนวนหน้าไม่เท่าเดิม (จะด้วยลักษณะของการจัดเรียงพิมพ์ หรือขนาดของตัวหนังสือก็แล้วแต่) เราจะถือว่าหนังสือเล่มนั้นเป็นการพิมพ์ครั้งใหม่หรือไม่ เป็นต้น
*** ซึ่งหากมีข้อสงสัยในการลงรายการบรรณารักษ์ก็สามารถศึกษาได้จากคู่มือกฎการลงรายการ AARC2 ได้


เรื่องของ Edition ในการลงรายการตามกฎ AACR2 จะอยู่ในส่วนครั้งที่พิมพ์ หรือ Edition Area ข้อมูลที่ลงในส่วนครั้งที่พิมพ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ  การแจ้งครั้งที่พิมพ์ และการแจ้งความรับผิดชอบเกี่ยวกับครั้งที่พิมพ์ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนของการแจ้งครั้งที่พิมพ์กัน
คำว่า Edition หมายถึง ครั้งที่พิมพ์ หรือฉบับที่พิมพ์ การจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่ม
หากเป็นการจัดพิมพ์ครั้งแรกหรือครั้งที่ 1 เราถือว่า เป็น ” พิมพ์ครั้งที่ 1″ หรือ  1st Edition แต่ถ้ามีการพิมพ์หนังสือเรื่องเดิมในครั้งต่อไปใช้ชื่อเรื่องเดิม แต่มีการแก้ไขปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเนื้อเรื่องให้ถูกต้องทันสมัย หรือสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จำนวนหน้าอาจมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ นับเป็นครั้งที่พิมพ์ครั้งใหม่ หรือฉบับพิมพ์ครั้งใหม่  ครั้งที่พิมพ์ก็จะเป็นไปตามที่ปรากฎในหน้าปกในของหนังสือ โดยแสดงเป็นตัวเลขระบุครั้งที่พิมพ์ เช่น  พิมพ์ครั้งที่ 2 หรือ 2nd Edition หรืออื่นๆ แต่ถ้าหากเป็นการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงเนื้อหา ก็จะมีข้อความแสดงถึงลักษณะนั้นๆ เช่น พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขและปรับปรุง หรือ 3rd rev. Edition หรือ ฉบับปรับปรุงใหม่ หรือ  New rev. ed. หรือ แก้ไขเพิ่มเติม หรือ  Rev. and expanded เป็นต้น  แต่ถ้าเป็นการพิมพ์หนังสือเรื่องเดิม เนื้อหาเดิม เราถือว่าเป็นการพิมพ์ซ้ำ  หรือ Reprint หรือ Printing ค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร