Letters: A

วันนี้ตรวจการลงรายการบรรณานุกรมให้กับบรรณารักษ์ในฝ่ายวิเคราะห์เหมือนเช่นทุกวัน แต่มาสะดุดกับหนังสือเล่มหนึ่งชื่อเรื่อง A doctor in the house : the memoirs of Tun Dr. Mahathir Mohamad เขียน โดย Mahathir Mohamad ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนแบบอัตชีวประวัติ ซึ่งการเขียน อัตชีวประวัติ หรือ Autobiography นั้นเป็นการเขียนเรื่องราวของบุคคล ที่เขียนขึ้นโดยบุคคลคนนั้นเอง โดยเนื้อหา อาจเล่าถึงชีวิตส่วนตัวที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน หรือ ไม่เคยถูกเผยแพร่ที่ไหนมาก่อน ชีวประวัติที่เขียนโดยเจ้าของชีวิต หรือในความหมายปัจจุบันหมายถึงประวัติที่เขียนโดยเจ้าของชีวิตร่วมกับนักประพันธ์อาชีพก็ได้ ในลักษณะนี้ก็เรียกว่า  “อัตชีวประวัติ” เช่นกัน (http://th.wikipedia.org/wiki/อัตชีวประวัติ)

ทีนี้เรามาเข้าเรื่อง หนังสือเล่มที่ว่ากันดีกว่า (หลังจากอธิบายเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องไปมากแล้ว) ว่ามีอะไรเกี่ยวข้องกับชื่อเรื่อง Letters: A เหตุที่เกี่ยวข้องเพราะ ตามหลักการวิเคราะห์หมวดหมู่หนังสือในระบบ L.C. หนังสือเล่มนี้ เราจะให้เลขหมู่ของหนังสือไว้ที่ DS597.215.M34A3 หมายความว่า
DS = เป็นเรื่อง History of Asia
591-599 = เลขหมู่ช่วงนี้เป็นเรื่อง Malaysia. Malay Peninsula. Straits Settlements
597.125 = History. By period 1963- .
M34 = biography individual, A-Z (ในที่นี้ให้ M34 เพราะ เป็นชีวประวัติของDr. Mahathir Mohamad)
A3 = Autobiography
ซึ่งโดยปกติของการให้เลขหมู่นั้นเมื่อถึงตรงส่วนนี้แล้ว คือ DS597.215.M34 ตัวต่อไปที่เราต้องให้เลขคือเลขคัตเตอร์ผู้แต่ง ในที่นี้ผู้แต่งคือ ตัวท่าน Dr. Mahathir Mohamad เอง ซึ่งถ้ามองแบบปกติแล้วก็ต้องให้เป็นเลขคัตเตอร์ผู้แต่งเป็น M34 ก็จะได้เป็น DS597.215.M34M34 แต่เรื่องใม่ได้เป็นแบบนี้ เพราะเนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือหรืองานเขียนแบบอัตชีวประวัติอย่างที่กล่าวข้างต้น ดังนั้นเลขคัตเตอร์ตัวสุดท้ายแทนที่จะเป็น M34 ต้องเป็น A3 แทน หนังสือเล่มนี้จึงได้เลขหมู่ดังนี้ DS597.215.M34A3
เรามาทำความเข้าใจกับการ  Letters: A ในการวิเคราะห์หมวดหมู่ระบบ L.C. กันดีกว่า
Letters: A ใช้ในกรณ๊ใดได้บ้าง
1. “Dump numbers” ใช้เป็นเลขคัตเตอร์ที่ไม่ต้องให้คัตเตอร์ของรายการหลัก ตัวอย่างเช่น ตารางชีวประวัติ ซึ่งA3 จะแสดงอัตชีวประวัติ ในเลขคัตเตอร์ของชีวประวัติบุคคล
หากเป็นงานเขียนอัตชีวประวัติบุคคลคนเดียวกัน ( 2เรื่องหรือ 2 เล่ม ) ที่ถูกตีพิมพ์ในปีเดียวกัน L.C .ใช้  a เพื่อแยกออกจากกันอีกด้วย  ( DS597.215.M34A3DS597.215.M34A3a)
2. ในหมวดหมู่ N  ของระบบ L.C.   การวิเคราะห์หมวดหมู่ที่อธิบายถึงนิทรรศการคอลเลกชันของศิลปินนั้น การจัดหมู่ระบบ L.C .ให้กระจาย เป็น  .xA4 หมายความดังนี้
.x การจายตามชื่อศิลปิน A-Z (special artists on the first cutter)
A4 = Reproductions (Collection). By date **including exhibition catalog
ดังนั้นเมื่อมีนิทรรศการของศิลปินคนเดียวกัน ที่เกิดขึ้นในปีเดียวกัน ก็ต้องให้เลขคัตเตอร์ดังนี้ (V36.A4 1996V36.A4 1996a)
จะเห็นได้ว่า ในการใช้ตัวอักษรในการจัดหมู่ระบบ L.C. นั้นมีความหมายใช้อธิบายสิ่งต่างๆได้ หากสนใจติดตามหาความรู้เพิ่มเติมสามารถ ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ (http://libstaff.mit.edu/colserv/cat/monocat/worklet.htm) และ ความรู้ในเรื่องอื่นๆ ที่ (http://libstaff.mit.edu/colserv/cat/)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร