เรื่องของ ISBN

:mrgreen: ช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ทำรายงานสรุปข้อผิดพลาดที่พบจากการตรวจการลงรายการในฐานข้อมูลทรัพยากรสารนิเทศของบรรณรักษ์ในฝ่ายวิคราะห์ฯ เรื่องหนึ่งที่พบคือ การลงรายการ Tag 020 ISBN (International Standard Number) ข้อผิดพลาดที่พบคือ
1. กรณีที่หนังสือมี ISBN เป็นเลข 10 หลัก และ 13 หลัก บรรณารักษ์ลงรายการ ISBN เพียงเลขเดียวไม่ได้ลงทั้ง 2 เลข
2. กรณีที่มีคำระบุ ที่ท้ายเลข ISBN เช่น (pbk.) (cloth) (alk. paper) (hbk)  ก็จะใส่บ้างไม่ใสบ้าง
3. กรณีที่ไม่ไ่ส่เลย หรือลืมใส่
เมื่อพบก็จะส่งกลับไปให้แก้ไข แต่ก็เป็นที่รู้สึกว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยในความคิดของคนอื่นหรือไม่ เพราะบางคนอาจคิดว่า การใส่หรือไม่ใส่ ISBN ก็ไม่ได้ทำให้ข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ขาดหายไป เพราะยังมี ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และอื่นๆ อีกมากมาย ไว้สำหรับค้นหาหนังสือเล่มนั้น แต่ตนเองมีความรู้สึกว่า ISBN มีความสำคัญในตัวมันเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาความรู้มาเพื่อสนับสนุนความคิดของตนเอง ก็พบงานเขียนเรื่อง The 13-Digit ISBN: How Will it Affect Libraries? เขียนโดย Terry Willan ในการประชุม The ISBN standard is changing จัดที่  The British Library ในหัวข้อ ‘The 13-Digit ISBN: Introducing the new standard’ ที่กล่าวถึงการ การเปลี่ยนมาใช้ ISBN 13 หลัก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2007 ซึ่งตั้งแต่เริ่มมีการใช้เลข ISBN กันมานั้น ISBN ก็มีบทบาทในระบบการบริการจัดการห้องสมุด
ISBN 13 หลัก จะกำหดเลข 978  สำหรับหนังสือ ตามด้วยเลข 9 หลัก เหมือนกับ ISBN 10 หลัก และตัวสุดท้ายเป็นตัว check digit
(ส่วนที่มาที่ไป และรายละเอียดอื่นๆ ของ ISBN นั้น หาอ่านเพิ่มได้ที่ blog ของคุณสีุนีย์ค่ะ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=18676 )
มีผลกระทบต่อผู้ใช้ในการบริการของห้องสมุด นั้นก็คือผู้ใช้สามารถค้น เลข ISBN จาก OPAC ของห้องสมุดได้ ทั้งเลข 10 หลัก และเลข 13 หลัก ซึ่งห้องสมุดต้องปรับระบบการสืบค้นของห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ ISBN ทั้ง 2 แบบ
ระบบการสืบค้น OPAC ในหลายห้องสมุดสามารถเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลอื่นหรือฐานของห้องสมุดอื่น หรือเว็บร้านค้าของหนังสือได้ การสืบค้นในระบบห้องสมุดหลายระบบมีข้อแตกต่างกันไป การสืบค้นในแหล่งต่างเช่น ร้านค้า หรือฐานข้อมูลก็แตกต่างกันไป แต่  ISBN จะลดช่องว่างและข้อแตกต่างนี้
ส่วนผลกระทบของ ISBN ต่องานเทคนิคของห้องสมุด สำหรับการลงรายการ MARC 21 นั้น ใน Tag 020 ISBN ความยาวของจำนวนอักขระไม่ใช่สิ่งจำกัด ดังนั้นการใส่เลขเพิ่มจาก 10ตัว เป็น 13 ตัวจึงไม่มีความหมายอะไร แต่การใส่เลข ISBN ก็ยังจำเป็นต้องใส่และมีความจำเป็นในการลงรายการบรรณานุกรม
เช่น The British Library และ The Library of Congress ก็ใส่ ISBN ทั้ง 10 หลัก และ 13 หลัก ลงในฐานข้อมูลทรัพยากร  เพื่อการค้นหาและเชื่อมโยงหนังสือในห้องสมุด กับร้านค้าหนังสือ หรือสำนักพิมพ์ ทั่วโลก
ก็อย่างที่กล่าวข้างต้น ISBN 13 หลักเริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2007 ดังนั้นหนังสือที่ตีพิมพ์และซื้อขายตั้งแต่ปี 2007 จะต้องมี ISBN 13หลัก สำหรับการจัดหาหนังสือในระบบการซื้อขาย
Book Industry Communication (BIC) ก็ได้เสนอแนวทางเพื่อความสะดวกในการดำเนินการ  เกี่ยวกับ ISBN 13 หลัก ของ EDI ( Electronic Data Interchange ) จากวันที่ 1 มกราคม 2006 EDI ต้องใช้ทั้ง ISBN 10 หลักและ 13 หลัก เพื่อการซื้อขายเช่นกัน
โดยสุรปแล้ว ISBN ไม่ว่าจะ 10 หลักหรือ 13 หลัก ก็มีความสำคัญกับห้องสมุดทั้งคู่ เพื่อการสืบค้นของผู้ใช้ เพื่อการสั่งซื้อหนังสือของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด และเพื่อความสมบูรณ์และเป็นมาตรฐานของฐานข้อมูลของเราเองค่ะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใส่ค่ะ
สำหรับคำที่ระบุไว้ข้างท้าย เช่น (pbk.) (cloth) (alk. paper) (hbk)  เพื่อแสดงลักษณะของหนังสือ
pbk. หมายถึงหนังสือปกอ่อน
hbk. หรือ HB. หรือ cloth หมายถึงหนังสือปกแข็ง
alk. paper แสดงลักษณะของกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือ เป็นกระดาษประเภท “alkaline” หรือ acid-free paper (อ่านเพิ่มเติมได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Acid-free_paper)
ดังนั้นก็ต้องใส่เช่นกันเพราะมีความสำคัญ เช่น เมื่อสั่งซื้อหนังสือราคาของหนังสือระหว่างปกแข็งกับปกอ่อน ย่อมมีความแตกต่างกัน เมื่อผู้ใช้ทำหนังสือหายหรือชำรุด ต้องชดใช้ให้หอสมุด หรือกับระบบยืม-คืน เมื่อมีการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นต้น
ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งที่พบ คือ ISBN 10 หลัก และ ISBN 13 หลัก จะมีตัว check digit ไม่เหมือนกันค่ะ

English: The difference between ISBN-10 and IS...
Image via Wikipedia

ข้อมูลอ้างอิง : Willan, Terry. The 13-Digit ISBN: How Will it Affect Libraries?

2 thoughts on “เรื่องของ ISBN

  • ISBN เป็นเลขที่ทรงพลังมาก ไว้จะเล่าให้ฟัง

  • น้องอ้อ มี EISSN ด้วยนะ ห้ามลืม เพราะต้องตรวจสอบรายการเช็คซ้ำ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร