ภาพเก่า

เค้าว่ากันว่า คนแก่มักชอบเล่าเรื่องเก่าๆ เล่าเรื่องในอดีตของตน นั้นก็เพราะคนเหล่านั้นหวนหาอดีตที่คุ้นเคย และรู้สึกมีความสุขกับสิ่งที่ผ่านมาจึงระลึกถึงอยู่เสมอ วันนี้ได้อ่านหนังสือเรื่อง “สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน” และด้วยความบังเอิญก็จำได้ว่า เคยอ่านวารสารเพชรนิวส์เล่มหนึ่งซึ่งในเล่มมีเรื่อง ประวัติศาสตร์บอกเล่า ภาพเก่าเล่าความหลังเมืองเพชร  ก็เลยทำให้นึกถึงหนังสือ เรื่อง ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองนครปฐม ที่ตีพิมพ์เมื่อปี2549 ซึ่งหนังสือและวารสารทั้งสามเล่มเป็นการนำเสนอเรื่องราวในอดีตต่างๆ ผ่าน ภาพถ่าย
ภาพถ่าย เป็นสิ่งบันทึกประวัติศาสตร์ บอกเล่าความเป็นมาของเหตุการณ์ สามารถเป็นหลักฐาน เก็บความทรงจำต่างๆ บ่งบอกถึงความเปลี่ยนไปของยุคสมัย
ชื่อเรื่อง : สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน / บรรณาธิการ กมลชนก ชวนะเกรียงไกร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. เลขหมู่ : DS589.ส73 ส74 (ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก)
หนังสือ ” สุพรรณบุรีเมื่อวันวาน”เป็นหนังสือที่กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดโครงการรวบรวมและอนุรักษ์ภาพถ่ายเก่าจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งเป็น 3 กิจกรรมคิอ การประกวดภาพถ่ายเก่าจังหวัดสุพรรณบุรี การสัมมนาเกี่ยวกับคุณค่าของภาพถ่ายเก่าต่อประวัติศาสตร์ไทย และการจัดนิทรรศการภาพถ่ายที่ชนะเลิศการประกวด ซึ่งจากกิรรมต่างๆ เหล่านี้ทางหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรีเห็นว่า ภาพเก่าเหล่านี้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา จึได้คัดเลือกภาพที่สะท้องสังคมในอดีต บอกเล่าอดีตควา่มเป็นมา หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรีได้จัดทำสมุดภาพพร้อมบัญชี มีรหัสภาพและอธิบายรายละเอียดของภาพ หากผู้ใดสนใจสามารถขอรับบริการสำเนาได้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติสุพรรณบุรี
เนื้อหาในเล่มแสดงให้เห็นถึงวิถีความเป็นอยู่ของคนภาคกลาง การประกอบอาชีพ สังคมของชาวสุพรรณบุรีการศึกษา การศาสนา สาธารณูปโภค การสาธารณสุข สิ่งอำนวยความสะดวก การคมนาคม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ลำดับการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์และพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเศวรมหาราช เหตุการณ์สำคัญ การพัฒนาเมืองสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง : ภาพเก่าเล่าเรื่อง เมืองนครปฐม / บรรณาธิการ, อุษา ง้วนเพียรภาค. นครปฐม : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2549. เลขหมู่ :  DS589.น2 ภ63 (ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก และชั้นทั่วไป)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้จัดโครงการกิจกรรมในหัวข้อ ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองนครปฐม เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางด้านโบราณคดี ทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และประวัติศาสตร์เมืองนครปฐมฌบราณจากภาพถ่ายเก่าของจังหวัดนครปฐม  สำหรับเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีตของนครปฐม และยังเป็นการส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปได้เห็นคุุณค่าของภาพถ่ายเก่าในอดีต ในกิจกรรมครั้งนี้มีผู้ส่งภาพถ่ายเก่าเข้าประกวดและร่วมนิทรรศการมากมาย ซึ่งแต่ละภาพเป็นภาพที่มีคุณค่าต่อการศึกษาเรื่องราวในอดีตของนครปฐม ดังนั้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเผยแพร่เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เล็งเห็นประโยชน์และใช้เป็นข้อม^ลเบื้องต้นในการสืบค้นและอ้างอิงเหตุการณ์ในอดีต
ประวัติศาสตร์บอกเล่า “ภาพเก่าเล่าความหลังเมืองเพชร” ที่ตีในวารสารเพชรนิวส์ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2554 เป็นการบอกกล่าวถึงเมืองเพชรในอดีต เมื่อครั้งเป็นเมืองสามวังในอดีต ได้แก่ พระนครคีรี (เขาวัง) พระรามราชนิเวศน์ และ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เล่าเรื่องภาพการก่อสร้าง สภาพพระราชวังในอดีต ประวัติความเป็นมา เช่น ก่อนที่มาจะมาเป็นพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน แต่เดิมชื่อค่ายหลวงบางทะลุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 ) ทรงโปรดเกล้าให้สร้างที่ประทับที่ตำบลบางทะลุเมื่อปี 2460 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ ในปี 2461 ต่อมาปี 2467 ทรงโปรดเกล้าให้ย้ายที่ประทับจากหาดเจ้าสำราญไปที่ต.บางควาย และสร้าง พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และเปลี่ยนชื่อต.บางควายเป็นต.ห้วยทรายเหนือ
นอกจากนี้ยังมีภาพเล่าเรื่องราวของเมืองเพชรกับการเรียกร้องดินแดนไทยในอดีต ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภาพตลาดเก่าเมืองเพชรในครั้งอดีต ตลาดวัดมหาธาตุที่ปัจจุบันไม่มีอีกแล้ว โรงหนังเมืองเพชร “วิกเพ็ชร์พัฒนา”  และภาพไฟไหม้ตลาดเพชรบุรีในปี 2458
ภาพจากหนังสือทั้งสามเล่มเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ล้วนเป็นภาพเก่าแก่ที่มีมานานนับร้อยปี และยังหลงเหลืออยู่ให้เราลูกๆหลานๆ ได้พบเห็นและรับรู้ความเป็นมาของบรรพชนของเรา ซึ่งบางสถานที่ อาจเลือนหายไปตามกาลเวลา แต่ภาพเหล่ายังอยู่ซึ่งเราควรเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของบ้านเมืองเราสืบไป หากเก็บไว้แต่ความทรงจำอาจสูญหายไปกับตัวเราเมื่อเราไม่อยู่ในโลกนี้แล้วก็ได้

4 thoughts on “ภาพเก่า

  • ยังหาคนรับโปรเจกถ่ายรูปห้องสมุด 365 วันไม่ได้เลย หน.ฝ่ายโสตฯ กับน้องวิรุฬห์สนใจมั๊ย

  • อืม…ก็น่าสนใจดี ไว้จะลองคุยกับหนุ่มน้อย หนุ่มมาก ในฝ่ายก่อน..

  • เป็นเรื่องน่าสนใจมากๆ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพถ่าย ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตดั้งเดิม ซึ่งแน่ล่ะ ถ้าเทียบกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่มีแต่ความเร่งรีบ แข่งกับเวลา คนเราจึงมักนึกถึงภาพอดีตที่สดใสดีงามมากกว่าสภาวะปรากฎการณ์ของโลก ณ เวลานี้

  • มาเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องศาลหลักเมืองจร้า
    พอดีโครงการตั้งวงขี่จักรยานท่องเมืองคอนถม
    ได้พูดคุยประเด็นนี้ขึ้นมา เป็นที่คาใจของเราๆ ลูกยอดแหลม
    ประเด็นเรื่องศาลหลักเมืองนครปฐม
    ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเป็นข้อยุติ
    ความเห็นส่วนตัวในฐานะคนคอนถมค่อนข้างมั่นใจว่าที่สนามจันทร์
    ที่มีลักษณะเป็นศาลพระภูมินั้น ไม่น่าจะใช่หลักเมือง
    มีข้อมูลจากนักวิชาการบางท่านให้ข้อมูลว่า
    “ศาลหลักเมืองนครปฐม เดิมไม่ปรากฎ
    แต่ถือเอาเทวาลัยคเณศวรเป็นหลักเมือง
    เสาหลักเมืองที่สนามจันทร์คุณบรรหารมาสร้างไว้”
    คำว่าสร้างในที่นี้ น่าจะหมายถึงมาบูรณะปรับเปลี่ยนให้สง่างามขึ้น
    จากเดิมที่เป็นเพียงศาลพระภูมิที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
    ศาลพระภูมิที่ว่านี้ ราว พ.ศ.2517
    เมื่ออิฉันเข้าศึกษาที่โรงเรียนสาธิต มศก.
    ศาลนั้นมีอยู่ก่อนแล้วและตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับปัจจุบัน
    ซึ่งในบริเวณนั้นมีเพิงขายอาหารของร้านค้าตั้งอยู่
    ครั้งที่ศาลากลางจังหวัดยังไม่ย้ายออก
    ส่วนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนครปฐม
    ที่ตำบลท่าตำหนัก นครชัยศรีซึ่งมีผู้ทำคลิปเผยแพร่
    ตามนี้ https://youtu.be/vOOm5z7evv8
    ก็ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันสนับสนุน
    แต่ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเรื่องตัวเมืองเก่านครปฐม
    ที่ตำบลท่านา หรือ นครชัยศรีปัจจุบัน
    ก่อนที่จะย้ายมาตั้งในเขตอำเภอเมืองนครปฐมปัจจุบัน
    ภายหลังจากการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4-6 ก็น่าสนใจ
    แต่ก็ต้องหาข้อมูลสนับสนุนเพิ่มอีกว่าตัวเมืองอยู่ท่านา
    แต่ทำไมศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่ว่าจึงอยู่บริเวณท่าตำหนัก
    หา หา หา กันต่อไป นะจ๊ะๆ ^^

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร