RDA (Resource Description and Access)

หลังจากรอให้น้องหนึ่ง (สุนทร) มาเล่าเรื่อง RDA ให้ฟังอยู่หลายเพลา แต่รอแล้วรอเล่าน้องเจ้าก็ไม่เห็นมาซักที…
แล้วในช่วงโครงการ Librarian Update ของหอสมุดฯ (26 พ.ค. 2554) ได้เชิญพี่รุ้งฟ้า และพี่ชนิดา (ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มาเป็นวิทยากร พี่เค้าก็ได้เกริ่นเรื่องนี้ให้ฟังเล็กน้อย แล้วพี่ชนิดาก็สัญญิงสัญญากับข้าพเจ้าว่า พร้อมเมื่อไหร่จะมาให้ความรู้แบบละเอียดกับพวกเราอย่างแน่นอน….
RDA (Resource Description and Access) เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ที่จะมาแทนที่มาตรฐานการลงรายการ AACR2 ซึ่งมีโมเดลที่เกี่ยวข้องกับการลงรายการบรรณานุกรม คือ
– การลงรายการบรรณานุกรมข้อมูลที่เรียกว่า Functional Requirements for Bibliographic Records (FRBR) ซึ่งรองรับการลงรายการข้อมูลได้ทุกรูปแบบ ทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลดิจิทัล
– การลงรายการบรรณานุกรมข้อมูล Functional Requirements of Authority Data (FRAD) ประกอบด้วย Bibliographic entities, Name and/or Identifier และ Controlled access points
นอกจากนี้การลงรายการบรรณานุกรมของมาตรฐาน RDA ยังสามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน MARC ได้ โดยการเพิ่ม Tag การลงรายการให้สอดคล้องกับการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
มาตรฐาน RDA มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดกรอบแนวคิดของการอธิบายรายละเอียดของทรัพยากร และวิธีการจัดการสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการค้นหาข้อมูลได้ตรงตามความต้องการ โดยมีหน้าที่หลักคือ การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (Find)  การระบุหรือชี้บอกถึงข้อมูลที่ต้องการ (Identify)  การคัดเลือกข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (Select)  และการได้รับข้อมูลที่ต้องการ (Obtain)
ในส่วนของรายละเอียดของมาตรฐาน RDA ไว้อ่านฉบับภาษาอังกฤษเสร็จเืมื่อไหร่ จะมาเล่าให้ฟังนะจะบอกให้…. 🙄

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร