ดูวิวพระอาทิตย์ตกฟิน ๆ กินเครปกล้วย

บางคนอาจจะเคยได้ยินสถานที่ท่องเที่ยวดัง ๆ ของจังหวัดสมุทรปราการ ก็คือ “สถานตากอากาศบางปู” วันนี้เราไม่ได้จะไปเที่ยวที่นั่น แต่จะพามาเช็คอินคาเฟ่เปิดใหม่ ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นตอนนี้ “สายลมบางปู” มีทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ บรรยากาศดีติดริมทะเล มีมุมถ่ายรูปสวย ๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม workshop อื่น ๆ เช่น ร้อยลูกปัด เพ้นต์ภาพ/ระบายสี ด้วยนะคะ

Read more

Certificate ออนไลน์แบบอัตโนมัติ ทำได้ ง่ายนิดเดียว

เนื่องจากทำงานอยู่ในสถานศึกษา ก็ต้องมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทั้งนักศึกษา และนักเรียน เมื่อจบกิจกรรมก็ต้องมีการแจก Certificate (เกียรติบัตร หรือใบประกาศนียบัตร) แต่ในปัจจุบันหลายที่จะแจกเป็น E-Certificate เป็นส่วนมาก ทางห้องสมุดเองก็เคยพบเจอปัญหาคือ ในงานทับแก้ววิชาการปีก่อน จะมีการแจก E-Certificate ตามหลังให้กับน้อง ๆ ที่มาร่วมกิจกรรม โดยมีแบบฟอร์มให้น้องเขียน ชื่อ-สกุล และ e-mail เพื่อที่จะส่งกลับ แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นคือ มีจำนวนคนที่มาร่วมกิจกรรมเยอะมาก ทำให้ต้องทำงานย้อนหลังโดยใช้เวลาค่อนข้างเยอะมาก และคนทำงานจะต้องอ่านลายมือที่หลากหลาย บางคนก็อ่านไม่ออก หรือ e-mail มีการเขียนที่ไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดความผิดพลาดทั้งในเรื่องของ ชื่อ-สกุล ในเกียรติบัตร และส่ง e-mail ไปไม่ถึงน้อง ๆ เนื่องจากที่อยู่ e-mail ไม่ถูกต้อง

Read more

ชวนมาแยกขยะก่อนทิ้ง

ช่วงนี้อยู่ในช่วงที่รณรงค์และร่วมด้วยช่วยกันเพื่อสร้าง Green Library ดังนั้น จึงเกิดคอนเทนต์ “พี่พร้อม” ชวนน้องมาแยกขยะ โดยจะพาทุกคนไปรู้จักประเภท และการแยกขยะที่ถูกวิธีกันค่ะ ถังขยะที่เราเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะแบ่งได้ออกเป็น 4 สี 4 ประเภท ได้แก่
🟦 สีน้ำเงิน ขยะทั่วไป (GENERAL WASTE)
🟩 สีเขียว ขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์ (WET WASTE)
🟨 สีเหลือง ขยะรีไซเคิล (RECYCLE WASTE)
🟥 สีแดง ขยะอันตราย (HAZARDOUS WASTE)
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าขยะประเภทไหน ควรทิ้งลงถังขยะสีอะไร?
🟦 ถังสีน้ำเงิน (ถังขยะทั่วไป): สำหรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้เองตามธรรมชาติ และไม่คุ้มค่ากับการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติกและภาชนะปนเปื้อนอาหาร ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พลาสติกห่อลูกอม
🟩 ถังสีเขียว (ถังขยะย่อยสลาย ขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์): สำหรับขยะที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติในระยะเวลาอันสั้น เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ ขยะเปียกที่เน่าเสียได้ง่าย เศษใบไม้แห้ง
🟨 ถังสีเหลือง (ถังขยะรีไซเคิล): สำหรับขยะที่นำกลับมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ได้อีกครั้ง แม้จะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติกที่ไม่ปนเปื้อน ขวดแก้ว กระป๋อง กล่องกระดาษ
🟥 ถังสีแดง (ถังขยะอันตราย): สำหรับขยะอันตรายที่มีการปนเปื้อนสารเคมี มีอันตรายต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ควรได้รับการจัดการที่ถูกวิธี เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย หลอดไป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระป๋องสเปรย์
แล้วเราจะได้อะไรจากการคัดแยกขยะ?
1. ลดปริมาณขยะ เพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และรีไซเคิล (Recycle)
2. เพิ่มมูลค่าให้กับขยะที่สามารถนำไปต่อยอดได้
3. รักษาสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการแยกขยะ ก็จะนำขยะแต่ละประเภทไปกำจัดได้ถูกวิธี ลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ อยากให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันในการแยกขยะก่อนทิ้ง ทิ้งลงถังขยะให้ถูกประเภท ลดการใช้กระดาษและขวดพลาสติก ช่วยกันประหยัดน้ำ/ไฟ เพื่อห้องสมุดของเราจะได้เป็น Green Library ที่สมบูรณ์แบบกันนะคะ
Read more

SMART Ageing

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 หอสมุดฯ จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ (SMART Ageing) เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมถึงรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะจากผู้ไม่หวังดีหรือมิจฉาชีพ

Read more

หนังสือออกบริการติด RFID แล้ว มีการแก้ไขเลขหมู่หนังสือต้องทำอย่างไร

          เทคโนโลยี RFID เป็นระบบที่ใช้สัญญาณคลื่นวิทยุในการตรวจสอบและระบุตำแหน่ง โดยระบบจะอ่านข้อมูลจากแผ่นข้อมูล RFID Tag ที่ติดอยู่กับหนังสือ และเชื่อมโยงกับโปรแกรมระบบบริหารงานห้องสมุด ในการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเอง การควบคุมการเข้า-ออกห้องสมุด อื่น ๆ เป็นต้น ฉะนั้นเมื่อเรา Tagging  FRID Tag หนังสือเล่มนั้นแล้ว คือการระบุตำแหน่ง (บาร์โค้ช  เลขหมู่หนังสือ) ของ RFID Tag ของหนังสือเล่มนั้น ๆ การที่จะนำหนังสือกลับมาแก้ไขทุกครั้งจะต้องนำหนังสือมา Tagging ใหม่เพื่อระบุตำแหน่งของหนังสือเล่มที่กลับมาแก้ไขใหม่ ดังนี้

Read more