Category: การประชาสัมพันธ์

I | LIBRARY | YOU

วนมาอีกครั้งกับเทศกาลเปิดเทอม ที่ทุก ๆ ปี เหล่า “พี่พร้อม” จะต้องเตรียมงานเปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ ปีหนึ่งในปีการศึกษาใหม่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทุกคนก็จะเป็นส่วนหนึ่งในงานนี้กันทั้งหอสมุดฯ รวมถึงจาเองก็ด้วย และในปีนี้กิจกรรมนี้ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม แล้วพี่เอ๋หัวหน้าหอสมุดฯ ของเรา ก็บอกกับจาประมาณว่า “เปิดบ้านปีนี้จะทำอะไรบ้างดี ลองคิด ๆ ไว้นะ” จาก็กลับไปคิดกับน้อง ๆ จากนั้นก็เอากิจกรรมที่จะมีในงานมาเสนอขาย (555555) แล้วพี่เอ๋ก็บอกว่า “คิดไม่ผิดที่ให้เป็นหัวหน้าโครงการ” จาถึงกับ “ห้ะ หนูหรอ หนูน่ะนะ” ตกใจเป็นไก่ตาแตก เพราะนั่นหมายถึงจาต้องมีหน้าที่รับผิดชอบมากกว่าเดิม ก็แอบมีความกลัวนิด ๆ กลัวจะดูแลเรื่องในจุดต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน แต่ก็อุ่นใจ เพราะทีมงาน “พี่พร้อม” ของหอสมุดฯ เรามืออาชีพกันทุกคนอยู่แล้ว

Read More

Storytelling with Data ออกแบบเรื่องเล่าด้วยข้อมูล

ในแต่ละปีของการทำงานทุกคนต้องมีแผนพัฒนารายบุคคล และจาเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องมีแผนพัฒนารายบุคคลเหมือนกัน ในรอบประเมินนี้จาไปเจอวิชาน่าสนใจมา คือ Storytelling with Data พลังการออกแบบเรื่องเล่าด้วยข้อมูล โดยเรียนผ่าน klasssi.com ใช้เวลาไม่นานมาก และแน่นอนว่ามี Certificate ให้หลังเรียนจบด้วย

โดยปกติแล้วที่ผ่าน ๆ มาจามักจะเรียนรู้ด้วยตนเองเน้นไปทางด้านออกแบบและตัดต่อเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยความที่อาชีพอย่างเรา ก็ต้องทำงานอยู่กับข้อมูล จึงอยากลองไปเรียนอะไรเกี่ยวกับข้อมูลดูบ้าง แล้วด้วยหน้าที่รับผิดชอบของจาเองก็เป็นบรรณารักษ์ที่ต้องทำภาพประชาสัมพันธ์ เพื่อนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ อยู่แล้ว พอเห็นหัวข้อนี้เลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ และสามารถต่อยอดในการทำงานได้

Read More

ชวนมาแยกขยะก่อนทิ้ง

ช่วงนี้อยู่ในช่วงที่รณรงค์และร่วมด้วยช่วยกันเพื่อสร้าง Green Library ดังนั้น จึงเกิดคอนเทนต์ “พี่พร้อม” ชวนน้องมาแยกขยะ โดยจะพาทุกคนไปรู้จักประเภท และการแยกขยะที่ถูกวิธีกันค่ะ ถังขยะที่เราเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะแบ่งได้ออกเป็น 4 สี 4 ประเภท ได้แก่
🟦 สีน้ำเงิน ขยะทั่วไป (GENERAL WASTE)
🟩 สีเขียว ขยะเปียก หรือขยะอินทรีย์ (WET WASTE)
🟨 สีเหลือง ขยะรีไซเคิล (RECYCLE WASTE)
🟥 สีแดง ขยะอันตราย (HAZARDOUS WASTE)
แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าขยะประเภทไหน ควรทิ้งลงถังขยะสีอะไร?
🟦 ถังสีน้ำเงิน (ถังขยะทั่วไป): สำหรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้เองตามธรรมชาติ และไม่คุ้มค่ากับการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติกและภาชนะปนเปื้อนอาหาร ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พลาสติกห่อลูกอม
🟩 ถังสีเขียว (ถังขยะย่อยสลาย ขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์): สำหรับขยะที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติในระยะเวลาอันสั้น เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ ขยะเปียกที่เน่าเสียได้ง่าย เศษใบไม้แห้ง
🟨 ถังสีเหลือง (ถังขยะรีไซเคิล): สำหรับขยะที่นำกลับมาผลิตเพื่อใช้ใหม่ได้อีกครั้ง แม้จะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติกที่ไม่ปนเปื้อน ขวดแก้ว กระป๋อง กล่องกระดาษ
🟥 ถังสีแดง (ถังขยะอันตราย): สำหรับขยะอันตรายที่มีการปนเปื้อนสารเคมี มีอันตรายต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อม ควรได้รับการจัดการที่ถูกวิธี เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย หลอดไป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระป๋องสเปรย์
แล้วเราจะได้อะไรจากการคัดแยกขยะ?
1. ลดปริมาณขยะ เพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และรีไซเคิล (Recycle)
2. เพิ่มมูลค่าให้กับขยะที่สามารถนำไปต่อยอดได้
3. รักษาสิ่งแวดล้อม เมื่อมีการแยกขยะ ก็จะนำขยะแต่ละประเภทไปกำจัดได้ถูกวิธี ลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ อยากให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันในการแยกขยะก่อนทิ้ง ทิ้งลงถังขยะให้ถูกประเภท ลดการใช้กระดาษและขวดพลาสติก ช่วยกันประหยัดน้ำ/ไฟ เพื่อห้องสมุดของเราจะได้เป็น Green Library ที่สมบูรณ์แบบกันนะคะ
Read More

สร้างงานจาก Feedback

ทุกคนเคยมีความรู้สึกหมดไอเดียในการสร้างงานกันบ้างไหมคะ จาเองก็มีเคยมีความรู้สึกแบบนั้นค่ะ แล้วก็ได้มีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 3 เดือน (เม.ย.-ก.ค.) ที่ได้มีโอกาสรับหน้าที่สร้างงานเป็นคลิปสั้น เพื่อลงใน Tiktok และ Platform ต่าง ๆ ช่วงแรกก็มีความกังวลอยู่เหมือนกัน ว่าจะวางแผนประชาสัมพันธ์ หรือนำเสนอเรื่องอะไรออกมาดีที่น่าจะเป็นที่สนใจกับลูกค้า หรือผู้ใช้บริการประเภทต่าง ๆ ในช่วงที่มีการประชุมก็มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าอยู่เหมือนกัน ว่าอาทิตย์ไหนจะทำเรื่องอะไร แต่พอถึงช่วงเวลาจริง ๆ ความไหลลื่นของ Content ก็หลั่งไหลมาเอง จากหลายปัจจัย ทั้งจังหวะของงาน บรรยากาศ mood&tone ในแต่ละอาทิตย์ รวมถึงมีการสร้างงานจาก Feedback ที่ได้จากหลาย ๆ ทางด้วย ทั้ง Feedback จากเพื่อนร่วมงาน, Feedback จาก Comment ใน Facebook Fanpage รวมทั้ง ปัญหาที่พบในการทำงาน และ Content เก่าที่จะมีการประชาสัมพันธ์ในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นประจำ แล้วนำมาปัดฝุ่นเปลี่ยนแปลงจากตัวอักษร เป็นคลิปเพื่ออรรถรสในการรับชมอีกทางหนึ่ง

Read More

ปัญหาก่อเกิด content

ตั้งแต่รับผิดชอบการดำเนินการทางเทคนิคกรณีหนังสือแจ้งหาย/ชำรุด ทำให้เห็นว่าหนังสือที่เปียกปอน เปียกฉ่ำ ฉีกขาดมีจำนวนมากขนาดไหน บางเล่มถึงกับเป็นการแจ้งหายเสียดายสุด ระหว่างดำเนินการนั้นรู้สึกนอยด์กับตัวเล่มที่เปียก เปียกมาก เปียกที่สุด จึงพูดคุยกับจาชวนน้องทำ content น้องบอกได้พี่อยากได้แบบไหน เราก็อธิบายไปอยากได้แบบ ❌❌ ไม่ควรทำ และตัดสินใจอัดคลิปเลย

ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะมีนักแสดง 2 คน เรียกให้ไปแคสงานทั้งแสนนาน และอัญญ่า ปรากฏผ่านทั้งคู่ 😄 สิ่งที่อยากได้เกินที่คิดน้อง ๆ เก่งมาก นักแสดงอินเนอร์มาเต็ม คนถ่ายฝีมือก็ดีแล้วดีต่อไป เราเพียงบอกแนวกับความสมจริง ทุกอย่างลงตัวใช้เวลาในการถ่ายทำประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นจาก็เตรียมตัดคลิปบ่ายนั้นเลย จึงเป็นคลิปประชาสัมพันธ์เรื่อง “5 วิธีการใช้หนังสือ do vs don’t” ซึ่งงานที่ออกมาส่วนตัวชอบมากกดไลค์รัวๆ ให้น้องทุกคนเลยค่ะ 👍🏻🫶🏻แถมเรตติงก็ดีงาม

Read More

การประชาสัมพันธ์ในงานทับแก้วบุ๊คแฟร์

งานทับแก้วบุ๊คแฟร์ เป็นหนึ่งในโครงการของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ บุคลากรของหอสมุดฯ แต่ละคนจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองทั้งในช่วงการเตรียมงาน ระหว่างงาน และหลังจัดงานเสร็จสิ้น ดิฉันเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ซึ่งหน้าที่หลักของงานประชาสัมพันธ์คือ แจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ผู้เข้าร่วมงานทราบ รวมถึงประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน

ข้อมูลที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่

  1. ร้านค้า/สนพ. ทำการประชาสัมพันธ์โดยการแจ้งชื่อร้านค้า/สนพ. ที่มาจำหน่ายสินค้าในงาน สถานที่ตั้งของร้าน
  2. กิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมเป็นระยะเพื่อดึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน
  3. การแจ้งข้อมูลข่าวสาร ต่าง ๆ เช่น การจอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
Read More

อ่าน Spot ครั้งแรกในชีวิต!

เมื่อช่วงก่อนและระหว่างงาน “ทับแก้ว Bookfair” ที่ผ่านมา หากใครแวะเวียนแถวในตัวเมืองนครปฐม หรือเข้ามาภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจจะเคยได้ยินเสียงรถแห่ แว่ว ๆ มาบ้าง (แนบคลิปประกอบ 555555555)

และใช่ค่ะที่มาของรถแห่ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น คือ เสียงจาเองที่มาพร้อมกับเสียงบรรณารักษ์หนุ่มหล่อคู่ขวัญ (หล่อที่สุดเพราะพี่เขาเป็นบรรณารักษ์ชายเพียงคนเดียว 5555555) และวันนี้จาอยากจะมาเล่า (อีกแล้ว) เรื่องราวของเสียงที่ทุกคนได้ยิน ได้ฟังผ่านหูในช่วงที่ผ่านมากันค่ะ

Read More

จากเฟรมเล็ก สู่ Backdrop เจ้าชายน้อยบิ๊กเบิ้ม!

จบไปไม่นานกับงาน “80 ปี การเดินทางของวรรณกรรมเจ้าชายน้อย” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา หากใครได้มาเดินชมงาน และนิทรรศการรวมหนังสือเจ้าชายน้อยหลากหลายภาษาทั่วโลก ก็คงจะเห็น Backdrop ที่มีลักษณะเหมือนกรอบรูป เฟรมภาพ อะไรทำนองนั้น ตั้งเด่นอยู่ท่ามกลางหอสมุดฯ

Read More