Tag: การเขียน

แรงบันดาลใจในการเขียน

ดิฉันเชื่อว่าการกระทำทุกอย่างต้องอาศัยแรงบันดาลใจ เวลาใครถามว่าจะไปหาที่ไหน มักตอบว่าหาจากสิ่งรอบตัว ซึ่งบางทีเป็นเรื่องปรกติ คุ้นเคย จนไม่คิดว่าคำตอบของคำถามพื้น ๆ เช่น กินอะไรดี ใส่อะไรสวย ได้มาอย่างไร ฯลฯ ล้วนมีแรงบันดาลใจซ่อนอยู่ แล้วเราก็ใช้ชีวิตอย่างผ่อนคลายกับเรื่องเหล่านี้

พอนำคำว่า แรงบันดาลใจไปสวมกับงานในหน้าที่ บางคนถึงกลับเขม็งตึงหยุดตัวเองในทันที เช่น เราสนุกกับการอ่าน FB สนุกกับการดูใน IG หรือเพลินกับการอ่านทวิตเตอร์  พร้อมไถหน้าจอไปมาได้เป็นเวลานานๆ แต่หากเป็นงานแล้วเหมือนนับตั้งแต่เลข 0 แล้วคืบช้าๆ จนกว่าจะได้ 1 2 3 หรือ 4 …

Read More

เว้นวรรค

การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของภาษาไทยเนื่องจากว่าภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการแบ่งความอย่างในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น แต่เราจะใช้การเว้นวรรคในการแบ่งความแทน ซึ่งหลักเกณฑ์การเว้นวรรคตอนนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K1-12) รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยสําหรับชาวต่างชาติ แต่จะเป็นการเรียนรู้ในทางอ้อม เช่น จากการเรียนเขียนเรียงความ เขียนรายงานหรือการอ่านบทความ เป็นต้น การสอนการเว้นวรรคในชั้นเรียนจะสอนในระดับมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาเอกและโทภาษาไทยเท่านั้น (ลิดา งามวิโรจน์กิจ และสุดาพร ลักษณียนาวิน, 2556: 22)
Read More

ก็ต้องลงมือสินะ

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอสมุดเรา นอกจากจะมีข่าวสารแล้ว ยังมีการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ การเขียนของพวกเรายังคงเขียนแบบชั้น ๆ ที่คัดลอกหรือเรียบเรียงจากหนังสือ วารสาร และอื่น ๆ แล้วอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันการเขียนแบบนี้เรียกกันว่า “ขนมชั้น”  โดยร้อยทั้งร้อยหากนำไปตรวจสอบ ก็คือ ซ้ำทั้งร้อย ซึ่งยอมรับไม่ได้ ต้องนำกลับมาพินิจพิเคราะห์แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเนียน ซึ่งดิฉันเรียกว่า เขียนแบบขนมเปียกปูน จนระบบที่เข้าตรวจสอบไม่สามารถแยกได้ อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางอย่างที่ต้องเขียน ต้องอ้างอิงข้อความออกมา ที่เห็นบ่อย ๆ  ในสาขาประวัติศาสตร์ หรือ ภาษาไทย เป็นต้น และนี่คือความยากของการเขียนผลงานวิชาการ

Read More

Peer ไม่ให้ เพลีย

Peer ที่จะเล่าให้ฟังหมายถึง Peer Review ซึ่งหมายถึง “กระบวนการของวารสารวิชาการ (Scholarly Journals) ที่ให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ สำหรับแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ อ่านบทความ และตัดสินว่า บทความดังกล่าว เป็นที่ยอมรับ (accepted) หรือปฎิเสธ (rejected) หรือให้กลับไปปรับปรุงแก้ไข (revised) ก่อนรับรองให้ลงพิมพ์ในวารสารนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของบทความ และรับประกันว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น เป็นผลงานที่ดีและมีคุณภาพ ผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้เชี่ยวชาญ (Referees) เพื่อทำให้วารสารวิชาการ มีลักษณะที่เรียกว่า Peer-reviewed Journals หรือ Refereed Journals และได้รับความเชื่อถือในสาขาวิชานั้น ๆ ” พี่คัดลอกคำอธิบายที่ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ได้เขียนให้ความรู้ไว้ที่นี่  อ่านต่อกันนะคะ https://stang.sc.mahidol.ac.th/research/peer.php

Read More