Tag: การทำงาน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการทำงาน

ในการทำงานทุกคนล้วนสะสมประสบการณ์ ได้เรียนรู้จากตำรา/นอกตำราก็เยอะ เรียนรู้จากทำงาน/เพื่อนร่วมงานก็แยะ ไม่ว่าจะเรียนรู้จากทางไหนล้วนเป็นสิ่งดีทั้งนั้น เรื่องที่จะเล่านี้เป็นเพียงบางเรื่องที่ได้เรียนรู้และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำมากมาย อย่างเมื่อวันที่คุมสอบที่ผ่านมา ได้เป็นหนึ่งกรรมการคุมสอบ วันนั้นคุยกันในทีมกรรมการขั้นตอนการคุมทำอย่างไร แบบคร่าว ๆ เมื่อถึงเวลาใกล้เข้าห้องสอบ แจ้งผู้เข้าสอบให้ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดฝากไว้ โดยเขียนชื่อ-สกุล เบอร์โทรศัพท์ ด้วยความก้มหน้าก้มตาทำจนไม่ได้มองว่าเต็มกล่อง แถมเก็บเสร็จเรียบร้อยเข้าห้องสอบแล้วทุกคน ระหว่างที่เรากำลังครุ่นคิดอยากจัดการอุปกรณ์ที่เต็มกล่องเกินไป หัวหน้าหอสมุดฯ ได้พูดขึ้นว่า เต็มกล่องแบบนี้เธอจะทำยังไงกัน เราและพี่เขียดก็คงดูเงะงะ ตอบไปว่า หนูว่าจะแบ่งไปอีกกล่องหนึ่ง แต่ก็กลัวผู้เข้าสอบงงเหมือนกัน หัวหน้าหอฯ “เอาความเป็นบรรณารักษ์มาใช้” ระหว่างคิดในใจหัวหน้าหอฯ เกริ่น เรียงตามตัวอักษร ☝🏻อ่า… เรา 2 คนก็เริ่มเลย ก-ฮ ท่องกันไปไม่ยาก ท่องทุกวันแหะๆ 🤭 แต่เมื่อเรียงลงกล่องต้องการเรียงอักษร ฮ-ก เพื่อความสะดวกในการส่งคืน ท่องกันจนมึนเป็นความสนุก และขำขัน เรียงเสร็จก็เข้าปฏิบัติหน้าที่คุมสอบ ส่วนพี่เป็นผู้คุมดูแลกล่องบรรจุอุปกรณ์สื่อสาร ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตน

Read More

BookFair’15


งานทับแก้วบุ๊คแฟร์ครั้งที่ 15 นี้ ดิฉันทำหน้าที่เป็นประธานโครงการ อยากจะขอเกริ่นเรื่องประธานสักหน่อยนะคะ ในความที่เราใหม่ทั้งเรื่องงานบริหาร (หัวหน้างาน) ยังมาเจอเรื่องการบริหารโครงการ ทำให้บ่ายเบี่ยงตลอด ได้มีการพูดคุยกับพี่สุนทรให้พี่เขาเป็นประธานเพราะตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาพี่สุนทรเป็นประธานโครงการและทำหน้าที่ได้ดีมาก ส่วนตัวกลัวจะทำได้ไม่ดี เมื่อเริ่มเขียนโครงการ (นำปี 63) มาปรับ ได้ให้หัวหน้าหอสมุด หัวหน้างานบริการ ที่ปรึกษาคุณเอกอนงค์ และหัวหน้างานการเงินช่วยดูเกณฑ์เป้าหมายต่าง ๆ ทุกครั้งที่มีการปรับแก้โครงการ ดิฉันมักจะแก้ประธานอยู่บ่อยครั้ง 555 เป็นสุนทร นภัสรพี สลับไปมา (นิยามของเราคือ แย้งกันเหลือเกิน แย่งกันไม่เป็นประธาน🤣🤣) ฉบับท้ายสุดหัวหน้างานการเงินถาม “ทำไมเธอไม่เป็นประธาน เธอเป็นหัวหน้างาน เธอควรจะเป็น” เราก็ได้แต่ยิ้มและมานั่งคิดย้อนกลับก็ถูกของพี่เขาเพราะถ้าเราไม่เป็นเหมือนเราโยนภาระนี้ไปให้ผู้อื่น จึงมุ่งมั่นและเปลี่ยนแปลงความคิดตัวเอง จากนั้นเริ่มดำเนินการจัดการงานตามลำดับขั้นตอนบางขั้นตอนมีหลงมีลืมบ้างด้วยความที่ห่างหายการจัดงานเป็นระยะ 2-3 ปี ซึ่งทุกขั้นตอนมีทีมงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จมากมาย💗

Read More

ทั้งชำรุดและหาย

หนังสือหาย ชำรุด เปียกปอน คราบเปื้อน ฉีกขาด จากการยืม จะมีการคิดค่าเสียหายตัวเล่มของหนังสือแตกต่างกันไป พิจารณาโดยงานบริการยืม-คืน หรือหัวหน้างาน และกรอกลงแบบฟอร์ม ซึ่งมีการรวบรวมส่งให้เดือนละครั้ง

งานจัดหาฯ ทำหน้าที่ในการดำเนินการตัวเล่ม record เมื่องานบริการพิจารณาตัดสินตัวเล่มตามขั้นตอนที่ได้ระบุแต่ละเคสลงแบบฟอร์ม ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาข้อสงสัย แต่หากเกิดข้อสงสัยได้มีการแลกเปลี่ยนสอบถามเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานโดยตรง

กรณีหนังสือหาย/ชำรุด มี 2 แบบ คือ การชดใช้เป็นตัวเล่มและชดใช้เป็นเงิน กรณีที่ชดใช้เป็นตัวเล่ม เมื่องานจัดหาได้รับเล่มแล้วจะต้องตรวจสอบชื่อเรื่อง เลขหมู่ บาร์โคดให้ตรงกับตัวเล่มที่แจ้ง จากนั้น note ข้อมูลว่าเล่มนี้เกิดปัญหาอะไร แจ้งและงานจัดหาดำเนินการเมื่อวันที่เท่าไหร่ หรือกรณที่เล่มปีพิมพ์ต่างกับตัวเล่มที่ชำรุด/หาย ตัวเล่มที่ซื้อชดใช้จะต้องปีเดียวกันหรือใหม่กว่าเท่านั้น โดยต้องดำเนินการขึ้นระเบียนใหม่โดยแจงเหตุผลที่ขึ้น หากหนังสือเล่มนั้นหาไม่ได้จริง ๆ หรือมีการชำรุดบางจุด จะมีเคสที่ต้องถ่ายเอกสารชดใช้

Read More

เครื่องมือที่ใช้กับวันละเล่ม

เมื่อวันละเล่มเข้าสู่ปีที่ 2 หัวหน้าหอฯ ให้แจงกระบวนการทำวันะเล่ม และเห็นถึงกระบวนการทำบางช่วงใช้เวลาค่อนข้างเยอะ ซึ่งเดิมวันละเล่มมีผู้รับผิดชอบสองคน คนทำ content กับ คนทำภาพ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งหน้าที่ คน quote ข้อความ เพื่อนำความข้อความที่น่าสนใจมาประชาสัมพันธ์ คนลงรายละเอียดตัวเล่ม และบรรณานุกรม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการที่สนใจมาหยิบยืมตัวเล่มไปอ่าน หรือหอบกลับยิ่งชื่นใจ รวมถึงแหล่งข้อมูลอ้างถึงที่ถูกต้อง คนทำภาพ เพื่อผู้ใช้บริการเข้าถึง หรือสนใจเนื้อหาจากภาพปกหนังสือ และคนตรวจสอบการลงข้อมูล การพิมพ์ และคอนเฟิร์มคนทำภาพอีกครั้ง

Read More

ทำดรรชนีวารสาร

การลงรายการดรรชนีวารสาร เป็นหนึ่งภารกิจการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ cataloger การปฏิบัติลงรายการนั้นไม่ยาก (ง่ายกว่าหนังสือเยอะ) ^_^ ขั้นตอนการทำ หลักการแบบเดียวกับหนังสือ เพียงดรรชนีวารสารไม่ต้องให้หมวดหมู่ ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการคิดวิเคราะห์มากขึ้น ในส่วนที่มีความแตกต่างกับการลงรายการหนังสือ คือ ดรรชนีวารสาร ใช้ tag773 ลงรายการข้อมูลตัวเล่มวารสาร ได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน ปี เลขหน้า ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ

Read More

วันละเล่มByพี่พร้อม

วันละเล่มByพี่พร้อม เป็นการแนะนำหนังสือใหม่ของหอสมุดฯ โดยการนำข้อความที่น่าสนใจของหนังสือ มาแนะนำ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทางโซเชียล ซึ่งวันละเล่มByพี่พร้อม เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เดิมทีหนังสือที่นำมาแนะนำจะเป็นหนังสือภาษาไทย แต่ปัจจุบันได้เพิ่มการแนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ ได้เริ่มประชาสัมพันธ์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้แนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ น้องป๊อป บรรณารักษ์ใหม่ของหอสมุดฯ ส่วนเรามีหน้าที่แนะนำหนังสือภาษาไทยและรวบรวมเนื้อหา จัดวันเพื่อประชาสัมพันธ์ระหว่างหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อีกทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ การเขียนบรรณานุกรม รวมถึงได้คำแนะนำจากหัวหน้าหอสมุดฯ อยากให้เพิ่มเติมบรรณานุกรม และคำอธิบายเนื้อหาเพื่อช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้บริการ

Read More

กว่าจะมาเป็นซีรีส์ “ทับแก้วมีอะไร”

ก่อนที่จะมีซีรีส์ “ทับแก้วมีอะไร” หัวหน้าได้เรียกประชุมเพื่อพูดคุยเรื่องการปฐมนิเทศนักศึกษา โดยอยากทำคอนเทนต์แนะนำคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ว่ามีอะไรน่าสนใจ เช่น สถานที่ จุดรวมพลของแต่ละคณะ คอนเทนต์ไม่ต้องมาก เน้นชิวไม่เป็นทางการ ภายในทีมจะมีทั้งหมด 5 คน ช่างภาพ 2 คน น้องจริณญา และพี่อนิรุจ เขียนคอนเทนต์ 3 คน พี่สมปอง (หัวหน้าหอสมุดฯ) ผู้เกลาภาษาให้สละสลวยขึ้น พี่กาญจนา และผู้เขียน หลังจากประชุมเสร็จ

Read More

ก็ต้องลงมือสินะ

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอสมุดเรา นอกจากจะมีข่าวสารแล้ว ยังมีการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ การเขียนของพวกเรายังคงเขียนแบบชั้น ๆ ที่คัดลอกหรือเรียบเรียงจากหนังสือ วารสาร และอื่น ๆ แล้วอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันการเขียนแบบนี้เรียกกันว่า “ขนมชั้น”  โดยร้อยทั้งร้อยหากนำไปตรวจสอบ ก็คือ ซ้ำทั้งร้อย ซึ่งยอมรับไม่ได้ ต้องนำกลับมาพินิจพิเคราะห์แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเนียน ซึ่งดิฉันเรียกว่า เขียนแบบขนมเปียกปูน จนระบบที่เข้าตรวจสอบไม่สามารถแยกได้ อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางอย่างที่ต้องเขียน ต้องอ้างอิงข้อความออกมา ที่เห็นบ่อย ๆ  ในสาขาประวัติศาสตร์ หรือ ภาษาไทย เป็นต้น และนี่คือความยากของการเขียนผลงานวิชาการ

Read More