Category: Sharing

ผู้รับยิ้มได้ ผู้ให้ก็ยินดี

วันนี้จาจะมาเล่าประสบการณ์การทำ Mystery Book ให้อ่านกัน ซึ่งอยู่ในโปรเจกต์ Sharing หนังสือเพื่อแบ่งปัน ภายใต้งานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรนั่นเอง และจาจะเล่าถึงความปลื้มปริ่มใจที่ได้รับจากงานทับแก้ววิชาการในช่วงวันที่ 21-23 สิงหาคม ที่ผ่านมา

Read More

หนังสือสามมิติ (Pop-up book) หรือหนังสือป๊อปอัพ

หนังสือสามมิติ (Pop-up books) เป็นหนังสือกึ่งของเล่นที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่เด็ก หนังสือประเภทนี้มักให้ความสําคัญกับเทคนิคและความหวือหวา รูปเล่มนอกจากจะมีภาพ มีตัวหนังสือแล้ว ยังมีสิ่งอื่นที่แปลกแยกไปจากหนังสือธรรมดา คือภาพในเล่มนี้ จะโผล่ออกมาจากพื้นของกระดาษได้ เมื่อหนังสือถูกเปิดขึ้นและภาพจะถูกพับเก็บลงไป เมื่อปิดหนังสือลง ลักษณะเด่นของหนังสือประเภทนี้อยู่ที่ความน่าตื่นเต้น การมีกลไกที่ซับซ้อนสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ มักจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กเล็กๆ ที่ผู้จัดทำมีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องความสนใจให้เด็กอยากมาเปิดหนังสืออ่าน และมักจะเป็นหนังสือที่มีราคาแพงกว่าหนังสือภาพของเด็กทั่วไป (https://www.gotoknow.org/posts/268252, http://th.wikihow.com/ทำหนังสือป๊อปอัพ)

ในการสร้างสรรค์หนังสือสามมิติ หรือ หนังสือป๊อบอัพ มีการใช้เทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วงล้อ (wheels), แผ่นพับแบบเปิดปิด (flaps), กลับด้าน(turn-ups), แถบดึง (pull-tabs) และ ป๊อบอัพ (pop-ups) เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกับหนังสือ เทคนิคป๊อบอัพหรือการขยับได้ของหนังสือมีจุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้อ่านได้มีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่ถูกเขียนไว้ในหนังสือ และทำให้ผู้อ่านสามารถจดจำเนื้อหาผ่านภาพและเทคนิคประกอบได้เป็นอย่างดี (https://popzecret.wordpress.com/2011/10/13/pop-up-and-movable-books-histor/)

Read More

Digital Content…มาเป็นนักเขียนกันเถอะ

ดิฉันตั้งท่าเงื้อง่า มาหลายเพลา ว่าจะๆ เขียน blog ขาดแต่ฤกษ์ยาม จึงยัง ยัง และยัง

วันนี้ ขอใช้โอกาสสักนิด
เรื่องของเรื่องคือ มีโอกาสเข้าร่วมอบรมโครงการ Digital Content
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่สำคัญ คือ เปิดกว้างให้เข้าร่วมตามความสมัครใจ
สว ยั่งอิฉันเห็นหัวข้อน่าสนใจก็ไม่รีรอด้วยเห็นว่าเป็นการเพิ่มองค์รู้
ที่มีอยู่น้อยนิดแค่เพียงพอแก่การทำมาหารับทานได้ประมาณหนึ่ง

Read More

ตามจากนิยาย “แพทย์นิติเวช”

ช่วงนี้ติดตามอ่านนิยาย และดูซีรี่ย์สืบสวนสอบสวนอยู่ พบอาชีพที่น่าสนใจนั่นคือ แพทย์นิติเวช

แพทย์นิติเวช หรือ หมอนิติเวชคืออะไร เค้าเรียนอะไร

แพทย์นิติเวช หมอนิติเวช คือแพทย์เฉพาะทางพิเศษผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบหาหลักฐานและสาเหตุเการเสียชีวิต ด้วยหลักการทางการแพทย์และนิติเวช โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่หน่วยพิสูจน์หลักฐานของหน่วยงานรัฐฯ มีหน้าที่หลักคือการตรวจสอบ พิสูจน์ และส่งข้อมูลให้กับทางฝ่ายกฎหมายพิจารณา จึงเปรียบเสมือนคนที่ส่งสารจากผู้ตายผ่านร่องรอยที่หลงเหลืออยู่

นอกจากนั้นแพทย์นิติเวชยังตรวจผู้ป่วยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับคดีอาชญากรรมต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลที่จำเป็นส่งให้แก่ทางตำรวจ เช่น คดีข่มขืน คดีทำร้ายร่างกาย ฯลฯ อีกด้วย รวมไปถึงการตรวจ DNA เพื่อหาหลักฐานความเชื่อมโยงในสายตระกูล (อ้างอิงจาก : http://www.trueplookpanya.com/explorer/occupation-step3/52)

Read More

เรื่องเล่าดีๆ จากพี่สู่น้อง

บล๊อคนี้มีเรื่องเล่าและเรื่องราวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม ผู้เขียนซึ่งทำงานเป็นบรรณารักษ์ ของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ได้รับการติดต่อจากท่านอาจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) ว่า มีศิษย์เก่าท่านหนึ่งคือ คุณพรรณพิมล คชะสุต หรือพี่ต้อยติ่ง ของน้องๆ ชาวอักษรฯ ศิลปากร ประสงค์จะบริจาคหนังสือนวนิยายของคุณ กฤษณา อโศกสินให้กับหอสมุดฯ (ในที่นี่ขอเรียกคุณพรรณพิมล คชะสุต ว่า “พี่ต้อยติ่ง”นะคะ เนื่องจากตัวผู้เขียนเองก็เป็นศิษย์เก่าอักษรฯ ศิลปากร รุ่นที่ 20 และถือได้ว่าเป็นศิษย์รุ่นน้องด้วยก็ได้) ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่มีคุณค่าที่พี่ต้อยติ่ง ได้เก็บสะสมมานานนับหลายสิบปีและเก็บรักษาเป็นอย่างดี โดยคุณกฤษณา อโศกสิน ที่ได้มอบให้ด้วยความรักและผูกพันกันมานานกับพี่ต้อยติ่งพร้อมกับลายเซ็นต์ เป็นจำนวน 88 เล่ม เนื่องจากพี่ต้อยติ่งเห็นว่า ตัวพี่ต้อยติ่งเป็นศิษย์เก่าและเป็นศิษย์รุ่นแรกของคณะอักษรฯ ศิลปากร จึงได้เลือกที่จะบริจาคให้กับหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์  ซึ่งเป็นหอสมุดฯ ที่ตั้งอยู่ในวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ที่เดียวกับคณะอักษรศาสตร์ จุดประสงค์ของพี่ต้อยติ่ง ก็เพื่อให้ศิษย์รุ่นน้องได้อ่านกัน

Read More