Author: Ekanong Duangjak

ชื่อเรื่องเพิ่มที่ Tag 246 Varying form of title

ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มหนึ่งๆ เราเคยสังเกตกันไหมว่า บางครั้งนักอ่าน คนทำงานอย่างบรรรณารักษ์ มักจะเห็น หรือจดจำ แตกต่างกัน วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันค่ะว่า หนังสือเล่มหนึ่งๆ นั้น สามารถมีชื่อเรื่องปรากฎที่ส่วนใดได้บ้าง ที่ทำให้บางครั้งคนอ่าน หรือคนทำงานต่างก็จดจำชื่อเรื่องหนังสือเล่มเดียวกันแต่เป็นคนชื่อเรื่องกัน 

ในการทำงานของบรรณารักษ์วิเคราะห์หมวดหมู่ของจากชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Statement) ที่ลงรายการใน Tag 245 ยังมี Tag 246 Varying form of title ชื่อเรื่องที่แตกต่างจากชื่อเรื่องที่เหมาะสม (Title Statement)  หรือชื่อเรื่องหลักที่ปรากฎที่หน้าปกใน ซึ่งชื่อเรื่องแตกต่าง ในเขตข้อมูลนี้เป็นการลงรายการชื่อเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อใช้ในการสืบค้นหรือต้องการทำรายการเพิ่มชื่อเรื่อง โดยใช้ตัวบ่งชี้ (Indicator) แสดงแหล่งที่มา ดังนี้

Read More

ทบทวนเรื่อง “หัวเรื่อง”

 คู่มือการให้หัวเรื่องโดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในห้องสมุด เช่น  Library of Congress Subject Headings จัดทำโดย หอสมุดรัฐสภา อเมริกัน หนังสือ Sear’s List of Subject Headings จัดทำโดย Westby สำหรับการให้หัวเรื่องภาษาไทยมีหนังสือคู่มือที่สำคัญ คือ หนังสือหัวเรื่องสำหรับภาษาไทย จัดทำโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา   จากหนังสือคู่มือที่เป็นเล่มๆ ก็เริ่มพัฒนาเป็นฐานข้อมูล เช่น หนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย จัดทำโดยคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

Read More

รถไฟฟ้า-BTS-MRT

ช่วงนี้ปีนี้ผู้เขียนเดินทางเข้าไปทำธุระส่วนตัวในกรุงเทพฯ ค่อนข้างบ่อย สิ่งที่รู้สึกตื่นตาตื่นใจมากก็คือ การใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งBTS และMRT ไม่ใช่ว่าผู้เขียนไม่เคยใช้บริการมาก่อน สมัยก่อนเข้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก็เคยใช้บริการมาก่อน ตอนนั้นรถไฟฟ้ายังมีไม่มากมายหลายสายนัก หลังจากผ่านไป 17 ปี ปัจจุบันรถไฟฟ้าขยายการบริการ เชื่อมต่อออกไปมากมาย อย่างล่าสุดผู้เขียนเดินทางไปแถวรังสิต ด้วยความที่ไม่คุ้นกับการขับรถยนตร์ไป และกลัวหลงทาง หรือต้องนั่งรถตู้อันแสนจะแน่น อึกอัดและใช้เวลานาน เลยลองศึกษาเส้นทางดูว่า มีการเดินทางแบบอื่นหรือไม่ พบว่า การนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และสายสีแดง เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนสถานีเริ่มต้นที่ชานเมืองแถวตลิ่งชัน ดังนั้นแค่ขับรถยนตร์ไปจอดที่สถานนี(รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน)ตลิ่งชัน แล้วไปต่อสายสีแดงที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์(บางซื่อ) ใช้เวลาไไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็ถึงรังสิต ราคาค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

Read More

ซูเปอร์มูน ในรอบ 14 ปี (Supermoon in August 2023)

ชูเปอร์มูนคืออะไร?

ซูเปอร์มูน คือ ดวงจันทร์ที่เห็นโตกว่าปกติ ถ้าเป็นจันทร์เพ็ญจะเห็นความแตกต่างระหว่างจันทร์เพ็ญที่เป็นซูเปอร์มูนและจันทร์เพ็ญที่เป็นจันทร์เพ็ญปกติชัดเจนมาก ทั้งนี้เพราะพื้นที่ของซูเปอร์มูนจะมากกว่าพื้นที่ของจันทร์เพ็ญปกติถึง 30% หรือถ้าเปรียบเทียบเส้นผ่านศูนย์กลางซูเปอร์มูนจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าจันทร์เพ็ญปกติ 15% สาเหตุที่ดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนแปลงเพราะวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรี จึงมีจุดที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (perigee) และจุดที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุด (apogee) ถ้าจันทร์เพ็ญอยู่ที่จุดใกล้โลกที่สุดจะเป็นจันทร์เพ็ญซูเปอร์มูน ในขณะที่จันทร์เพ็ญซึ่งเกิดขณะอยู่ไกลโลกที่สุดจะเป็นจันทร์เพ็ญเล็กที่สุดซึ่งเล็กกว่าจันทร์เพ็ญปกติ

ที่มาของคำว่าซูเปอร์มูน

Read More

ชื่อนี้ในอดีต

ช่วงนี้กระแสละครอิงประวัติศาสตร์มาแรง ใครที่ได้ดูหรือติดตามละคร ก็คงได้ยินชื่อเมืองต่างๆ ที่เรียกกันในสมัยอดีต เช่น เมืองสองแคว เมืองพริบพรี เป็นต้น จึงชวนให้สงสัยว่าแล้วชื่อนี้คือเมือง หรือจังหวัดใดในปัจจุบัน Blog นี้จะพาไปทำความรู้จัก ชื่อจังหวัดของประเทศไทยในอดีต ว่ามีชื่ออะไรกันบ้างก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นชื่อในปัจจุบัน ที่นี้เรามาดูกันว่า ชื่อจังหวัดของไทย ในอดีตมีชื่อใดกันบ้าง โดยแบ่งออกเป็นภาคต่างๆ ดังนี้

ภาคเหนือมี 9 จังหวัด

1.       จังหวัดเชียงราย ชื่อเก่าคือ เวียงชัยนารายณ์

Read More

อควาเรียมบางแสน หรือ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

1692345426309-0.jpg

เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดระยองและชลบุรี ได้แวะชมและเที่ยวหลายสถานที่  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นอีกที่หนึ่งที่แวะเที่ยว หลังจากได้ไปเมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน อควาเรียมบางแสน  หรือ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  มหาวิทยาลัยบูรพา  พิพิธภัณฑ์ทางทะเลที่จัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำทะเลไทย รวมถึงระบบนิเวศทางทะเล ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ในอาคารด้านหน้าทางเข้ามหาวิทยาลัย อาคารแรก คือ อาคารเดิมสีส้ม และอีกอาคารเป็นโซนใหม่ ตั้งอยู่ด้านหลัง เรียกว่า  Bangsaen Aquarium   ซึ่ง สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลจะเปิดให้เข้าเข้าชมทุกวัน 9:00-16:00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 40 บาท มีกิจกกรมการแสดงให้อาหารปลา ช่วงเวลา 14.00 น. วันหยุดจะเพิ่มเวลา 10.00 น. อีกรอบ แต่น่าเสียดายที่ผู้เขียนไปไม่ทันรอบแสดง

Read More

ขยะกำพร้า

 

Blogนี้จะพามาทำความรู้จัก “ขยะกำพร้า”  แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก “ขยะกำพร้า”

เราเคยรู้ไหมว่า ขยะมีกี่ประเภท โดยทั่วไปขยะในบ้านแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ โดยเราควรจะคัดแยกและทิ้งชนิดของขยะแต่ละประเภทลงในถังขยะที่ถูกต้อง

  1. ขยะเปียก คือขยะย่อยสลายง่าย มีความชื้น มีกลิ่น และเน่าเสียได้ง่าย ส่วนใหญ่จึงมักเป็นขยะที่พบได้ในห้องครัว เช่น เศษเหลืออาหาร เปลือกผลไม้ คุณควรทิ้งขยะเปียกใส่ถังเฉพาะ และนำไปทิ้งนอกบ้านทุกวัน หรือจะลองเอาหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติก็ได้
Read More

ปลูกผักสวนครัวด้วยขวดน้ำอัดลม

ผักสวนครัวประเภทหอม กระเทียม บางครั้งหากซื้อมาเก็บไว้มากๆ นานๆ อาจจะนำมาปรุงอาหารไม่หมด ทานไม่ทัน เราสามารถนำบางส่วนมาเพาะหรือปลูกเป็นต้น นำไปปรุงอาหารประเภทผัดหรือแกงได้ แต่หอม กระเทียมนั้นต้องคอยหมั่นรดน้ำ หากลืมก็จะเหี่ยว หรือต้นเล็ก ไม่โต วันนี้จะพามาดูการปลูกหอมและกระเทียมด้วยขวดน้ำอัดลม ซึ่งเราไม่ต้องรดน้ำบ่อย วิธีการคือ

1. นำขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่ ขนาด 1 ลิตรขึ้น ตัดแบ่งครึ่ง

2. ส่วนด้านบนของขวด ใช้ปากกาไฟฟ้า เจาะรูส่วนบนบริเวณรอบๆ ใกล้คอขวดสัก 5-6 ช่อง และเจาะรูที่ฝาปิดขวด

Read More