Author: Narumon Boonyanit

วันภาษาไทยแห่งชาติ…เหตุด้วยกระแสพระราชดำริ รัชกาลที่ 9

การกำหนดให้วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ มีมูลเหตุจากครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จทรงเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505

ทั้งนี้ ทางชุมนุมภาษาไทยมีการจัดการประชุมเป็นปกติทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน และวันอาทิตย์ปลายเดือน เพื่อปรึกษา หารือปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย รวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ด้วยความสนพระทัยและความห่วงใยในการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะการบัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อใช้แทนภาษาต่างประเทศ ที่ยังไม่ตรงความหมายเดิม ตลอดจนการคิดคำใหม่ขึ้นใช้ พระองค์ทรงมีพระราชปรารภแก่ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ประธานชุมนุมภาษาไทยเกี่ยวกับ ปัญหาการใช้คำไทย เพื่อให้ชุมนุมภาษาไทยได้ช่วยกันเสนอแนวทางแก้ไข ทางชุมนุมจึงกราบทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินมาทรงแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ในที่ประชุม พระองค์ได้ทรงร่วมเป็นผู้อภิปรายด้วยผู้หนึ่งในการประชุมครั้งนั้น

Read More

สงกรานต์ไทย: ตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

ปี ๒๕๖๖ ประเทศไทยเสนอให้ประเพณีสงกรานต์ของไทย เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ของยูเนสโก โดยยูเนสโกจะพิจารณาขึ้นทะเบียนภายในเดือนธันวาคมนี้

ด้วยเหตุที่ประเพณีสงกรานต์มีการเฉลิมฉลองทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย ตามภูมิหลังทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่แตกต่างกัน อันบ่งชี้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีจุดร่วมกันเพียงหนึ่งเดียว สะท้อนถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ภายใต้แนวคิด สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจ สู่สากล โดยมีแนวทางในการ สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ด้วยการจัดกิจกรรมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีสงกรานต์ที่ทรงคุณค่าสาระอันดีงาม ตามแบบประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีภูมิหลังวัฒนธรรมที่แตกต่าง

ส่งเสริมการแสดงความกตัญญูต่อครอบครัว บรรพบุรุษ บิดามารดา ผู้มีพระคุณ รวมถึงศาสนา ตลอดจนสร้างค่านิยมในการเคารพมาตรการรักษาความปลอดภัยช่วงประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการเคารพในสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และมีแนวทางในการ ร่วมสานใจ สู่สากล โดยการเผยแพร่คุณค่าสาระที่ดีงามของประเพณีสงกรานต์ในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ตามแบบประเพณีวัฒนธรรมที่เหมาะสมอันเป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นทุกภูมิภาคของไทยสู่สายตาชาวต่างชาติ

Read More

ผ้าขาวม้า…มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ

ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 ให้เสนอผ้าขาวม้าขึ้นทะเบียนต่อ UNESCO เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยจะนำเสนอยังยูเนสโกภายในเดือนมีนาคม 2566

ผ้าขาวม้า เป็นผ้าที่ชาวไทยต่างรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี ด้วยเป็นผ้าเอนกประสงค์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจกล่าวอย่างสากลได้ว่า ผ้าขาวม้าเป็น Multifunctional cloths in Thai life คำว่า ผ้าขาวม้า นี้ไม่ใช่ภาษาไทย บ้างว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย คือ กามาร์บันด์ (Kamar Band) ซึ่งหมายถึง เอว หรือ ท่อนล่างของร่างกาย “บันด์” หมายถึง การพัน รัด หรือ คาด

Read More

ส่วย-รัชชูปการ ถึง ส่วยสติกเกอร์

ส่วย มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๑๑๔๓ หมายถึง ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวง ตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ และยังหมายถึง เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ไม่ได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล ที่เรียกว่า รัชชูปการ

Read More

เฉลวความลับของหมอยาไทย

เฉลว ออกเสียงว่า ฉะ-เหลว พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  หน้า ๓๓๙ อธิบายว่าเป็นคำนาม หมายถึง “เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า”

Read More

เมื่อใบเซอร์ฯ หมดอายุ

คอมฯ ที่ทำงานปกติต้องเข้าระบบเครือข่ายเพื่อทำงานทุกเช้า เช้านี้เข้ายังง๊ายย ยังงาย กี่รอบ ๆ นางก็บอกว่า Invalid user name or password หรือเราจะลืมสลับภาษา อ้าว…สลับ ๆๆ ตั้งอก ตั้งใจพิมพ์ user name และ password ใหม่ เผื่อตอนแรกนิ้วติดจิ้มผิดจิ้มถูก

Read More

พระตำหนักสวนนันทอุทยาน ที่นครปฐม

รัชกาลที่ 6 ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงรับมอบหมายจากพระราชบิดา รัชกาลที่ 5
สืบเนื่องต่อมาจากพระอัยกา คือ รัชกาลที่ 6
ในการบูรณะพระปฐมเจดีย์ จึงเป็นเหตุ
ให้พระองค์ทรงผูกพันกับ
พระมหาเจดีย์นี้และเมืองนครปฐม
อย่างยิ่ง ดังเป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น และทรงโปรดที่จะแปรพระราชฐานมาประทับอยู่เนือง ๆ ตลอดรัชสมัย

วังแห่งนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะวังแห่งเมืองหลวงสำรองที่สอง และกองบัญชาการสำคัญ
ในการฝึกและซ้อมรบเสือป่าในทุก ๆ ปี นอกจากพระราชฐานที่ประทับยังทรงมีรับสั่งให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคารที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ อันอาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงผูกพันธ์ในเมืองนครปฐมที่ทรง…ไฝ่ใจในองค์พระนั้นมาก…แม้สิ้นพระชนม์ก็ยังมีพระประสงค์สุดท้ายที่เมืองแห่งนี้

Read More

ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ

รถไฟเป็นพาหนะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในหลากมิติ
ภาพจำของคนไทยกับรถไฟในแต่ละยุคสมัย และช่วงวัยอาจมีความต่าง คนรุ่นปู่ย่าที่การไปมาระหว่างถิ่นยังไม่สะดวก ชีวิตที่ยังไม่รีบร้อนเร่งเร้า
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อาจนึกถึงรถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล
หากแต่คนยุคปัจจุบันในวิถีที่จำรีบเร่งแข่งกับเวลา
รถไฟความเร็วสูงที่อาจเป็นรองเพียงเครื่องบินจึงถูกแทนที่

ภาพจำรถไฟอาจเปลี่ยนตามสังคม ยุคสมัย และถูกถ่ายทอดในต่างรูปแบบของเรื่องเล่า
เรื่องราวของ “รถไฟสายภาพยนตร์” บทแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี บอกเล่าสังเขปความสัมพันธ์ของรถไฟบนแผ่นฟิล์ม ขณะที่หนังคลาสสิกต่างประเทศบางเรื่องราวสะท้อนประวัติศาสตร์การรถไฟในบริบทของภาพยนตร์ ในมิติของการเคลื่อนพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ทับซ้อนด้วยเรื่องราวของชนชั้น เพศ และอื่นๆ

Read More