Tag: หนังสือ

คู่กันแล้ว

แต่เราก็หากันจนเจอ มันนานแค่ไหนที่คอยเธอมา 🎵

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาช่วงกลางวันได้ทราบเรื่องจากหัวหน้าหอสมุดฯ ว่า งานบริการได้เคยนำหนังสือเล่มนี้ส่งงานซ่อมและออกให้บริการขึ้นชั้นแล้ว และมีนักศึกษามายืมหนังสือได้กลับมาแจ้งว่าหนังสือมีจำนวนหน้าไม่ครบ และยังมีความจำเป็นต้องการใช้ตัวเล่มงานสารนิเทศได้ปรึกษากันหลายส่วนลงความเห็นว่า จะยืมระหว่างมหาวิทยาลัยมาเตรียมดำเนินการต่อไป…

เมื่อทราบและขึ้นมาที่งานจัดการฯ เพื่อทานอาหารกลางวัน และได้พูดคุยกับพี่น้องในงานฯ ตามที่ หน.หอ แจ้ง ระหว่างที่พูดคุยถามต้นสายปลายเหตุพี่ปูรุ่งทิวา แค่มองๆ หยิบๆ มาเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นหนังสือที่หนาและเปลือยอยู่ ลองนำมาเทียบเนื้อหาโดยดูจากสารบัญว่าใช่เล่มเดียวกันไหม คำตอบคือ ~~ ใช่เลย ~~ 👍🏻 ทุกคนดีใจและรู้สึกโล่งอก
จากนั้นโทรแจ้งพี่ธนวรรณ ว่าหนังสือเคสนี้ไม่ยืมแล้วค่ะ เพราะเจอตัวเล่มแล้ว ไชโย

Read more

หนังสือสามมิติ (Pop-up book) หรือหนังสือป๊อปอัพ

หนังสือสามมิติ (Pop-up books) เป็นหนังสือกึ่งของเล่นที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่เด็ก หนังสือประเภทนี้มักให้ความสําคัญกับเทคนิคและความหวือหวา รูปเล่มนอกจากจะมีภาพ มีตัวหนังสือแล้ว ยังมีสิ่งอื่นที่แปลกแยกไปจากหนังสือธรรมดา คือภาพในเล่มนี้ จะโผล่ออกมาจากพื้นของกระดาษได้ เมื่อหนังสือถูกเปิดขึ้นและภาพจะถูกพับเก็บลงไป เมื่อปิดหนังสือลง ลักษณะเด่นของหนังสือประเภทนี้อยู่ที่ความน่าตื่นเต้น การมีกลไกที่ซับซ้อนสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ มักจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กเล็กๆ ที่ผู้จัดทำมีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องความสนใจให้เด็กอยากมาเปิดหนังสืออ่าน และมักจะเป็นหนังสือที่มีราคาแพงกว่าหนังสือภาพของเด็กทั่วไป (https://www.gotoknow.org/posts/268252, http://th.wikihow.com/ทำหนังสือป๊อปอัพ)

ในการสร้างสรรค์หนังสือสามมิติ หรือ หนังสือป๊อบอัพ มีการใช้เทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วงล้อ (wheels), แผ่นพับแบบเปิดปิด (flaps), กลับด้าน(turn-ups), แถบดึง (pull-tabs) และ ป๊อบอัพ (pop-ups) เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกับหนังสือ เทคนิคป๊อบอัพหรือการขยับได้ของหนังสือมีจุดประสงค์ก็เพื่อให้ผู้อ่านได้มีส่วนร่วมกับเนื้อหาที่ถูกเขียนไว้ในหนังสือ และทำให้ผู้อ่านสามารถจดจำเนื้อหาผ่านภาพและเทคนิคประกอบได้เป็นอย่างดี (https://popzecret.wordpress.com/2011/10/13/pop-up-and-movable-books-histor/)

Read more

การเตรียมกิจกรรมในงาน “ทับแก้ววิชาการ ประจำปี 2565”

งานทับแก้ววิชาการ ประจำปี 2565 ในครั้งนี้ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเสมอมา โดยในปีนี้เพื่อให้เข้ากับธีมของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีการร่วมกันคิดว่าจะจัดกิจกรรมอะไรบ้าง และได้ข้อสรุปว่าจะจัดงานในชื่อ “เรียน” และ “รู้”

หลังจากที่คิดหัวข้อกันเรียบร้อยแล้ว เริ่มเตรียมหาทรัพยากรที่จะนำไปแสดง ในส่วนของงานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ  เริ่มตั้งแต่การหาแบบเรียนที่ใช้ในยุคก่อนเพื่อนำมาจัดนิทรรศการ ซึ่งหอสมุดฯ จัดเก็บไว้เป็นจำนวนมาก มีหลายชื่อ หลายเล่ม จัดพิมพ์และเผยแพร่ในปีที่ดิฉันยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำไป แต่ละเล่มน่าอ่านน่าสนใจ เช่น ดรุณศึกษา ตำราเรียนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา แต่งโดย บาทหลวงคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ชื่อ ฟ. ฮีแลร์ นิทานร้อยบรรทัด โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น หลังจากที่คัดเลือกมาพอสมควรแล้ว เตรียมนำไปจัดนิทรรศการ ณ โถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ

Read more

สงสัย! จึงถาม ทำไม? ISBN หนังสือชื่อเรื่องเดียวกันจึงไม่เหมือนกัน

“ทำไม? ISBN หนังสือชื่อเรื่องเดียวกันจึงไม่เหมือนกัน” คำถามนี้เกิดขึ้นเพราะ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่ได้ช่วยตรวจตรวจสอบซ้ำรายการหนังสือภาษาไทย และพบว่า หนังสือมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ จำนวนหน้า เหมือนกันทุกอย่าง และเป็นหนังสือซึ่งออกให้บริการไปแล้ว แต่ทำไมเลข ISBN ของหนังสือเล่มที่กำลังตรวจสอบซ้ำอยู่ มีเลข ISBN ที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดความสงสัยขึ้นมา จึงได้สอบถามหัวหน้างานและนำตัวเล่มที่กำลังตรวจสอบอยู่ไปให้ดู ระหว่างที่ยังไม่ได้คำตอบ จึงได้ไปหยิบหนังสือที่ออกบริการไปแล้วบนชั้นมาดูว่า พิมพ์เลข ISBN ผิดหรือไม่ แต่ปรากฏว่าข้อมูลไม่ผิด แล้วก็สังเกตุเห็นว่าหนังสือที่เรากำลังตรวจสอบซ้ำอยู่เป็นหนังสือภาษาไทยปกอ่อน ส่วนเล่มที่ออกให้บริการไปแล้วที่อยู่บนชั้นเป็นหนังสือภาษาไทยปกแข็ง

Read more

อ่าน #วันละเล่มByพี่พร้อม แล้วได้อะไร

#วันละเล่มByพี่พร้อม เป็นหนึ่งใน content ที่น่าสนใจและแนะนำให้ติดตามอ่าน จากเพจ Facebook หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ โดยนำเสนอเนื้อหา ประโยคบางตอน หรือข้อความสั้น ๆ ที่มีทั้งกินใจ และโดนใจชวนให้ติดตาม มีภาพปกหนังสือที่สวยงามประกอบเป็นตัวเพิ่มแรงจูงใจในการอ่าน  มีหนังสือหลายประเภทกันไปในแต่ละวัน สามารถติดตามอ่านได้จากเพจหอสมุด ในช่วงเวลา 9.00 น. ของทุกวัน

Read more