สงสัย! จึงถาม ทำไม? ISBN หนังสือชื่อเรื่องเดียวกันจึงไม่เหมือนกัน

“ทำไม? ISBN หนังสือชื่อเรื่องเดียวกันจึงไม่เหมือนกัน” คำถามนี้เกิดขึ้นเพราะ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่ได้ช่วยตรวจตรวจสอบซ้ำรายการหนังสือภาษาไทย และพบว่า หนังสือมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ปีพิมพ์ จำนวนหน้า เหมือนกันทุกอย่าง และเป็นหนังสือซึ่งออกให้บริการไปแล้ว แต่ทำไมเลข ISBN ของหนังสือเล่มที่กำลังตรวจสอบซ้ำอยู่ มีเลข ISBN ที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดความสงสัยขึ้นมา จึงได้สอบถามหัวหน้างานและนำตัวเล่มที่กำลังตรวจสอบอยู่ไปให้ดู ระหว่างที่ยังไม่ได้คำตอบ จึงได้ไปหยิบหนังสือที่ออกบริการไปแล้วบนชั้นมาดูว่า พิมพ์เลข ISBN ผิดหรือไม่ แต่ปรากฏว่าข้อมูลไม่ผิด แล้วก็สังเกตุเห็นว่าหนังสือที่เรากำลังตรวจสอบซ้ำอยู่เป็นหนังสือภาษาไทยปกอ่อน ส่วนเล่มที่ออกให้บริการไปแล้วที่อยู่บนชั้นเป็นหนังสือภาษาไทยปกแข็ง

ISBN ของหนังสือแต่ละเล่มจะแตกต่างกันไป แม้ว่าหนังสือเล่มนั้นๆ จะมีเนื้อหาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นการพิมพ์ครั้งใหม่ หรือ หนังสือชื่อเรื่องเดียวกับ แต่ลักษณะรูปเล่มเป็นปกแข็งและปกอ่อน ISBN ของหนังสือก็จะแตกต่างกันไป

ISBN หรือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ จะเรียกว่าเป็นรหัสที่กำหนดไว้ให้เฉพาะหนังสือแต่ละเล่มก็ว่าได้เป็นตัวระบุเฉพาะสำหรับหนังสือ ก่อนปี 2549 เลข ISBN ที่ใช้กันเป็นตัวเลข 10 หลัก ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาได้เปลี่ยนเป็นเลข 13 หลัก

ISBN จะช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการจัดหาหนังสืออย่างมาก เนื่องจากเราสามารถใช้ ISBN ทั้งในร้านค้าและในห้องสมุดเพื่อค้นหาหนังสือ

ในกรณีที่พบข้างตน หัวหน้างานจึงให้ทำวิธีเดียวกับหนังสือที่เป็นภาษาต่างประเทศ คือให้วงเล็บไว้ที่ข้างหลังเลข ISBN ว่า ปกแข็ง และ ปกอ่อน ตัวอย่างดังนี้ 1234567890001 (ปกแข็ง) 1000002345678 (ปกอ่อน) ซึ่งหนังสือภาษาไทยจะไม่ค่อยพบบ่อยนัก ที่พบส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาต่างประเทศ การที่บรรณารักษ์พิมพ์วงเล็บ ปกแข็ง หรือ ปกอ่อน ไว้ที่ข้างหลัง เลข ISBN นั้น เพราะราคาหนังสือที่แตกต่างการของฉบับพิมพ์ปกอ่อนและฉบับพิมพ์ปกแข็ง และสะดวกต่อการตรวจสอบซ้ำ